วันเสาร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

6.เรียนรู้คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน(ต่อ)

6.การชั่ง ตวง วัด

ในชีวิตประจำวันเราหนีไม่พ้นกับการชั่ง ตวง วัด ทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นทั้งอุณหภูมิ น้ำหนัก พื้นที่ ปริมาณ ค่าของเงิน ความเร็ว และเวลา บางครั้ง เราต้องการวัดเพียงหยาบๆ เพื่อจัดลำดับหรือเพื่อเปรียบเทียบเท่านั้น ขณะที่บางครั้งเราก็จำเป็นต้องชั่ง ตวง วัด อย่างละเอียดถี่ถ้วน ให้ถูกต้องมากที่สุด หรือบางครั้งเราก็ชั่ง ตวง วัด เฉพาะสิ่งที่น่าสนใจ และนำไปใช้ประโยชน์อย่างจริงๆ

ในบทนี้จะมุ่งเฉพาะในเรื่องของขนาด และน้ำหนัก กิจกรรมหลายอย่างในบทที่ 2 และบทที่ 4 มีประโยชน์ในการช่วยเด็กให้เรียนรู้เรื่องเหล่านี้เช่นกัน

คำศัพท์ที่เราใช้

การชั่ง ตวง วัด เป็นส่วนหนึ่งของการดำรงชีวิตประจำวัน เพราะเราใช้คำศัพท์ต่างๆ เหล่านี้เพื่อการเปรียบเทียบ คำบางคำมีความหมายเฉพาะเป็นต้นว่า เราพบบุ้งในสวน ซึ่งเราต่างเห็นพ้องรวมกันว่า มันช่างใหญ่โตอะไรเช่นนั้น ในขณะเดียวกัน หากเปรียบเทียบกับร่างกายของเราแล้ว มันเป็นสัตว์เล็กมากๆ เราจำเป็นต้องเปรียบเทียบกับบุ้งตัวอื่นๆ ที่เราเคยพบเห็นมาในอดีต

ตัวอย่างคำที่มีประโยชน์มาก

1. ใหญ่ เล็ก กว้าง แคบ

2. ใหญ่กว่า เล็กกว่า กว้างกว่า แคบกว่า

3. ใหญ่ที่สุด เล็กที่สุด กว้างที่สุด แคบที่สุด

และตัวอย่างคำประเภทเดียวกับอื่นๆ เช่น

1. เตี้ย ผอม เต็ม สูง

2. สูง หนา ว่าง ต่ำ

3. ใหญ่ หนัก ใกล้

4. เล็ก เบา ไกล

รางลูกแก้ว

* เด็กๆ ทำทางเดินของลูกแก้วให้ยาวที่สุดได้เท่าใด จากข้างบนถึงข้างล่าง

* เด็กๆ จะทำให้มันสั้นลงหรือยาวขึ้นได่อย่างไร

* จะทำให้รางลูกแก้ว กว้างหรือสูงขึ้นได้หรือไม่

เสื้อผ้าและรองเท้า

* ใครมีเท้าใหญ่ที่สุดในบ้านของเรา

* ใครสวมรองเท้าคู่ใหญ่ที่สุด

* เท้าของแม่ใหญ่กว่าของลูกหรือไม่

* เปรียบเทียบ ถุงเท้า เสื้อเชิ้ต ชุดนอน เสื้อคลุม และถุงมือ ที่มีขนาดต่างๆ กัน

กระดาษห่อพัสดุ

ห่อสิ่งของต่างๆ ในกล่องพัสดุ เล่นสมมุติเป็นของขวัญให้แก่กัน

* กระดาษมีพอไหม

* เราต้องการเทปติดกระดาษเพิ่มหรือไม่

* เชือกจะพันได้รอบกล่องหรือไม่

เปรียบเทียบขนาด

คุรคุยสิ่งที่คุณเห็นและแสดงด้วยว่าสิ่งที่เห็นนั้นใหญ่หรือเล็กเพียงใด

* แม่เห็นปลาทองในสวนสาธารณะ และมันยาวเท่านี้แน่ะ

* มีเต่าตัวเล็กๆ อยู่ที่ขั้นบันได ตัวใหญ่เกือบเท่าแขนพ่อนี่เลย

* แม่เห็นตุ๊กตาหมีในร้านค้า ตัวโตกว่าตัวแม่อีก

* เปรียบเทียบสิ่งต่างๆ ที่คุณพบเห็นให้ลูกฟัง

อาจช่วยส่งเสริมกระตุ้นให้ลูกๆ รู้จักการกะขนาดอย่างมีเหตุผล

* หนูกระโดดได้ไกลที่สุดเท่าใด

* หนูขว้างถุงถั่วได้ไกลแค่ไหน

* วัดระยะทางโดยการใช้ฝ่าเท้าวัดจากจุดเริ่มต้นถึงจุดสุดท้าย

* ลองกระโดด 2 ขามากกว่า 1 ครั้ง แล้วขาเดียวและขว้าง...อะไรดีที่สุด

โบว์ลิ่ง
 เล่นเกมโบว์ลิ่งแบบง่ายๆ วางแก้วพลาสติกหรือกระป๋องเล็ก หรือลูกบอลเล็กเป็นเป้า เตรียมลูกบอล 2-3 ลูก โยนลูกบอลไปยังเป้าที่วางได้ พยายามปาให้ล้มให้หมด ใช้เชือกหรือด้ายวัดระยะว่าลูกบอลลูกใดใกล้เป้าที่สุด

สิ่งที่ห่างออกไป
ชี้ให้ลูกของคุณดูว่าสิ่งที่ห่างไกลออกไปนั้น ขนาดของมันจะเล็กลงไป คอยดูรถยนต์หรือรถประจำทางเมื่อมันเข้าใกล้ๆ แล้วเปรียบเทียบเมื่อมันอยู่ห่างออกไป หรือควรพูดเน้นย้ำว่าสิ่งต่างๆ ไม่ได้เปลี่ยนขนาดจากความจริง เพียงแต่ดูเหมือนเล้กลง แต่ไม่ควรคาดหวังว่าเด็กจะเชื่อตามในครั้งแรกๆ ที่เด็กเห็น

เด็กต้องการเวลาและประสบการณ์เพื่อให้เกิดความเข้าใจว่าสิ่งต่างๆ (รวมทั้งคน) ไม่เปลี่ยนแปลงขนาดเมื่อเปลี่ยนตำแหน่ง

เมื่อคุณแม่ของดิฉันปรากฏตัวในโทรทัศน์รายการหนึ่งเพียงไม่กี่นาที ลูกสาวของดิฉัน (อายุขณะนั้น 4 ปี) ชมด้วยความตื่นเต้น และเมื่อเราได้คุณแม่ในวันต่อมา เธอก็กระซิบกับดิฉันว่า “หนูดีใจจังค่ะที่เขาให้คุณยายกลับมามีขนาดเหใอนเดิมแล้ว”

มายากลหรือความจริง
วันหนึ่งในขณะที่ดิฉันกำลังดูโทรทัศน์กับลูกชาย (ซึ่งขณะนั้นอายุ 5 ปี) นักมายากลกำลังแสดงกลเม็ดโดยใช้ไพ่ธรรมดาๆ เมื่อไหร่ก็ตามที่เขาสับไพ่จะปรากฏเป็นรูปแปดดอกจิกทุกครั้ง ดิฉันเองก็ไม่แน่ใจว่าทำไมเขาสามารถทำเช่นนั้นได้ แต่ลูกชายของดิฉันกลับไม่รู้สึกประทับใจเลยเขาไม่สนใจว่ามันน่าประหลาดใจนะ ที่ไพ่ใบหนึ่งปรากฏได้ซ้ำๆ กัน ส่วนหนึ่งก็เพราะเขาไม่มีความรู้สึกว่า ไพ่อีก 51 ใบนั้นเป็นเช่นไร เขามีประสบการณ์น้อยนิดในการเล่นไพ่จนเขาเองไม่อยู่ในฐานะที่จะตัดสินได้ว่านั่นเป็นกลหรือเป็นเรื่องธรรมดาๆ

เกมการชั่ง ตวง วัด
ประสบการณ์ที่ลูกคุณควรได้รับเกี่ยวกับการชั่ง ตวง วัด ทั้งในเรื่องน้ำ ทราย และสิ่งอื่นๆ

การเล่นน้ำ
การเล่นน้ำเป็นการพักผ่อนที่สนุกสนานมาก ต้องเตรียมตัวให้ดีๆ และต้องมีผู้ดูแลไม่ให้ลื่นล้มพื้นเปียกๆ ควรเตรียมเสื้อผ้ากันเปื้อนที่สำคัญที่สุดคือ ห้ามทิ้งให้เด็กเล่นน้ำตามลำพังเป็นอันขาด ต้องมีผู้ใหญ่คอยดูแลอยู่เสมอ

ใช้น้ำประเภทต่างๆ ในโอกาศต่างๆ กัน เช่น ลองน้ำอุ่น น้ำเย็น น้ำที่มีฟองสบู่ น้ำที่มีสีผสมอาหาร สีน้ำเงินและสีเขียว เตรียมช้อนพลาสติก ถ้วย ชาม เหยือก ภาชนะขนาดต่างๆ น ถ้วยไอศกรีม ถ้วยโยเกิต ฝักบัว และถังน้ำ

ภาชนะใดจะมีประโยชน์มาก เช่น ขวดแชมพู เราะคุณจะได้สอนให้รู้จักจำนวนเต็ม ครึ่ง และไม่มีเลย

ชักชวนหรือแนะนำให้ลูกทดลองทำสิ่งเหล่านี้ ลองเทน้ำลงในถ้วยที่ลอยได้จนกว่าจะจมลองเทหรือกรอกน้ำจากภาชนะเล็กๆ ใส่ในภาชนะที่โตกว่า ถ้าจะเทน้ำจากภาชนะใหญ่ใส่ ภาชนะเล็กกว่า จะเกิดอะไรขึ้น เล่นกังหันน้ำ ลองทดสอบอยู่ว่าจะทำให้กังหันหมุนได้นานขึ้นโดยเอาน้ำจากขันใหญ่ๆ แทนขันเล็กๆ ได้หรือไม่

ค้นหาว่าน้ำกี่ถ้วยตวงจะทำให้ขวดน้ำขนาดต่างๆ เต็มได้ เช่น น้ำกี่ช้อนชาทำให้ถ้วยเล็กๆ เต็ม หรือเทน้ำจากกระบวยเล็กไปสู่กระบวยใหญ่เพื่อเปรียบเทียบระดับน้ำ

ทราย กระดุม และถั่ว

เปิดโอกาศให้เด็กๆ ได้เล่นบ่อทรายขนาดใหญ่ หรือที่ชายหาดจะมีประโยชน์มาก การเล่นทรายในกระบะทรายขนาดเล็ก ก็มีประโยชน์เช่นกัน ถ้าหากมีการกระตุ้นให้เด็กรู้จักการเปรียบเทียบ ชั่ง ตวง วัด อย่างละเอียด

ทรายขาวเป็นสิ่งที่ดีที่สุด เพราะไม่มีสิ่งสกปรกแปดเปื้อน และเมื่อมันแห้งก็จะเป็นผงละเอียดมากๆ สามารถหาซื้อทรายได้จากร้านก่อสร้างต่างๆ

พื้นปูนอกบ้านที่สะอาดๆ ใช้เป็นที่เล่นทรายได้เป็นอย่างดี ใส่ทรายในกาละมังใหญ่ๆ แล้วเตรียมไม้กวาดที่โกยผงสำหรับให้เด็กเก็บกวาดเมื่อเล่นเสร็จ

ทรายขาวที่แห้งจะมีคุณสมบัติเหมือนของเหลวน้ำที่คุณอาจเทผ่านกังหันน้ำให้หมุนหรือกรอกใส่ถ้วยหรือภาชนะต่างๆ ได้

คุณอาจแนะนำให้ลูกเล่นทรายที่เกี่ยวกับการชั่ง ตวง วัด ได้ดังนี้

* ตวงทรายด้วยช้อนโต๊ะ ช้อนชา จนกว่าจะเต็มชาม อ่าง

* เล่นชั่งน้ำหนักด้วยตาชั่ง ใส่ทรายในถ้วยตวง แล้วเฝ้าคอยดูจานตวงที่หนักกว่าอีกด้านหนึ่งจะค่อยๆ ถ่วงลง ให้เด็กๆ ทดลองดูว่าทำอย่างไรที่จะทำให้จานตวงอยู่ระดับเดียวกันได้

* วางก้อนหิน ก้อนอิฐ หรือรถยนต์ของเล่นหลายๆ คัน ในจานตวงข้างหนึ่ง แล้วเททรายใส่อีกข้างหนึ่งจนกว่าจะอยู่ระดับเดียวกัน

* เทน้ำลงในจานที่มีทรายแห้ง แล้วเปรียบเทียบน้ำหนักของทรายเปียกกับทรายแห้ง

* ก่อภูเขาหรือเนินทราย ใช้ช้อนทั้งขนาดเล็กและใหญ่

* ก่อปราสาททรายเล็กๆ ด้วยไอศกรีม

มีกิจกรรมหลายประเภทที่เด็กๆ ใช้เล่นแทนทรายได้ เช่น ข้าว ถั่วต่างๆ และกระดุมเม็ดเล็กๆ ในกรณีที่นำอาหารมาเล่น ควรใช้ภาชนะที่สะอาด รวมทั้งล้างมือเด็กให้สะอาดด้วยเพื่อว่าหลังจากการเล่นแล้วจะสามารถนำมาปรุงอาหารได้

ระวังอันตรายในระหว่างที่เด็กๆ กำลังเล่น ควรมีผู้ใหญ่คอยดูแลอยู่ไม่ห่าง มิฉะนั้นอาจเกิดอันตรายขึ้นง่ายๆ ลูกชายของดิฉันเคยเอาเม็ดถั่วใส่ในหูของเขา เพราะว่าเขาต้องการดูว่าเขาจะสามารถสั่นให้มันหลุดไปอีกข้างได้หรือไม่ พยาบาลที่ห้องฉุกเฉินบอกว่านี่เป็นสิ่งที่เด็กอายุ 4-5 ปี ชอบทำ จึงควรระวังมากๆ

การประกอบอาหาร

อาหารและการเตรียมอาหารเป็นบทเรียนในเรื่องชั่งตวงวัดที่ดีที่สุด เราใช้ทั้งการชั่ง ตวง วัด แบบไม่เป็นทางการ เช่น 1 ถ้วยเต็ม 1 ช้อนชา และมาตราวัดที่เป็นมาตราฐาน เช่น กรัม เราวัดเวลา (15 นาทีในตู้อบ) และอุณหภูมิ (ร้อนมากขนาด 220 องศาเซลเซียส และระดับแก๊สที่เลข 8) จนในที่สุดเราก็ไดรับประทานอาหารที่เราช่วยกันปรุงจนสำเร็จ

เริ่มต้นจากส่วนผสมต่างๆ ในจำนวนที่พอเหมาะ เมื่อเราเข้าครัวโดยมีลูกๆ เป็นลูกมือคอยช่วยเหลือคุณแม่หรือคุณพ่อที่อาสาเป็นพ่อครัวหัวป่าก็สามารถใช้ลูกๆ ได้ เรียนรู้เรื่องการชั่ง ตวง วัด ได้

* ละลายน้ำส้มเข้มข้น แสดงให้ลูกดูว่าต้องใช้น้ำส้มและน้ำเปล่ากี่ส่วน

* ผสมน้ำผลไม้ในเหยือก ด้วยน้ำผลไม้ 1 ส่วนและน้พเปล่า 6 ส่วน เป็นต้น

อ่านส่วนผสมดังๆ แล้วสาธิตให้ลูกดูวิธีการชั่ง ตวง วัด ส่วนผสมต่างๆ เด็ก อายุต่ำกว่า 8 ปี บางคนสามารถอ่านตาชั่งที่มีตัวเลขแวดงน้ำหนักไล่จากน้อยไปหามากได้ แต่ต้องเป็นตัวเลขที่อ่านง่าย อย่างไรก็ตามถุณพ่อคุณแม่ควรทำการชั่ง ตวง วัด เป็นตัวอย่างให้ลูกสังเกตเห็น และอาจให้ลูกได้ลงมือ ช่วยตวงส่วนประกอบบางอย่างได้

รายการอาหารควรใช้การชั่ง ตวง วัด แบบเดียวดันให้ตลอด เช่น เป็นกรัม และกิโลกรัม

การชั่ง ตวง วัด มีประโยชน์

เด็กที่มีอายุมากขึ้น จะค่อยๆ เข้าใจความจำเป็นและเห็นประโยชน์ของการมีมตราฐานในระบบชั่ง ตวง วัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพวกเขาได้เห็นหรือได้มีโอกาศลงมือชั่ง ตวง วัด สิ่งของต่างๆ ด้วยตนเอง

การซื้อของ

เมื่อไปซื้อาหารควรชี้ให้ลูกดูสินค้าขนาดต่างๆ เช่น เราต้องการนมขนาด 1 ลิตร หรือ 2 ลิตร เราต้องการเนยขนาด 250 กรัม หรือ 500 กรัม เราต้องการเนื้อหมู 4 ขีด หรือต้องการมะม่วง 2 กิโลกรัม

พูดคุยกับลูกเกี่ยวกับสิ่งที่หนัก และที่เบา เปรียบเทียบการหิ้วผลไม้ซึ่งเป็นของหนักกับการหิ้วขนมปังและเนย ซึ่งเป็นของเบา

เมื่อไปซื้อเสื้อผ้าให้ลูก พูดคุยกับเขาถึงฉลากที่ติดขนาดเสื้อผ้า บางร้านค้าใช้ความสูงเป็นหลัก ถามลูกว่า “สูงกี่เซนติเมตร” วัดขนาดสูงของลูกกับที่วัดส่วนสูง ช่วยให้เขาวัดส่วนสูงของเด็กๆ อื่น บางร้านค้าใช้อายุเป็นหลัก อธิบายให้ลูกฟังว่า เสื้อผ้าทึ่ฉลากเป็นเลขอายุ จัดทำขึ้นเพื่อให้มีขนาดพอดีกับเด็กทั้งหญิงและชายที่มีเกณฑ์นั้น ร้านค้าบางแห่งใช้ขนาดของเอวและหน้าอกเป็นเกณฑ์ เช่น ขนาดเอว 26” หรือ 28” ให้ลูกได้ดูฉลากพร้อมๆ กับคุณ

เมื่อไปร้านขายรองเท้า อธิบายให้ลูกฟังว่าเป็นสิ่งสำคัญมากๆ ที่จะต้องซื้อขนาดที่ถูกต้อง เพื่อให้พอดีกับรองเท้าของลูกที่กำลังเติบโต จะได้เดินได้สะดวก ไม่ถูกบีบรัด เราต้องวัดเท้าและลองสวมใส่ดูเพื่อว่าจะได้คู่ที่ใส่สบายที่สุด

การตกแต่ง

กระดาษปิดฝาผนัง การทาสี การวางตำแหน่งกระเบื้อง การปูพรม หรือการวางของบนหิ้งแล้ว แล้วแต่เกี่ยวข้องกับการชั่งตวงวัดทั้งสิ้น เราต้องการกระดาษปิดฝาผนังกี่ม้วน เราต้องใส่น้ำผสมสีกี่ส่วน จะต้องตัดกระดาษนี้ยาวเท่าไหร่ เราต้องการกระป๋องสีขนาด 2.5 ลิตร พรมที่จะปูต้องมีขนาดกว้างเท่าไหร่

ในขณะที่ลูกกำลังฟังคุณพูด หรือมองดูคุณชั่ง ตวง วัด เด็กอาจมีส่วนช่วยคุณได้ อนุญาติให้เขาถือปลายสายวัดข้างหนึ่ง ในขณะที่คุณอ่านตัวเลขที่ต้องการ เขาอาจจะช่วยจำจำนวนม้วนกระดาษหรือจำนวนกระป๋องที่ต้องการ และลูกก็จะมีโอกาศสังเกตได้ว่ามีส่วนเหลืออยู่เท่าใด หรือใช้แล้วไปเท่าใด ในชีวิตจริงก็เป็นเช่นนั้น เราจะต้องคำนวณและนับสิ่งที่เหลืออยู่เสมอ

การท่องเที่ยว

เด็กเล็กๆ หลายคนมักคิดว่า ระยะทางระหว่างสถานที่ 2 แห่งเปลี่ยนแปลงได้ ขึ้นอยู่กับทิศทางที่คุณเดินทาง และความเร็วที่คุณใช้ การทดลองวัดระยะทางสั้น เป็นการเริ่มต้นที่จะให้ความเข้าใจแก้เด็กว่า ระยะทางที่ห่างกันจะคงที่ เช่น บ้านและโรงเรียนอยู่ห่างกัน 10 กิโลเมตร ไม่ว่าจะใช้วิธีเดินหรือนั่งรถไป บ้านและโรงเรียนก็จะอยู่ห่างกัน 10 กิโลเมตรเช่นเดิม การพูดคุยเกี่บงกัยเส้นทาง และระยะทาง ไม่ว่าจะเป็นที่หยุดรถประจำทางที่ใกล้ที่สุด หรือสถานที่ที่ห่างไกลหลายร้อยกิโลเมตรก็ตาม

การชั่ง ตวง วัด ในชีวิตประจำวัน

การชั่ง ตวง วัด เป็นกิจกรรมที่ปะปนอยู่ในชีวิตประจำวันของเราอย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้น การเรียนรู้เรื่องการชั่ง ตวง วัด ใช้เวลาอย่างน้อยที่สุดจนกว่าจะจบชั้นมัธยมศึกษา ดังนั้นจึงควรให้โอกาศลูกได้ลงมือทำการชั่ง ตวง วัด ด้วยตนเองกับสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันที่บ้านให้มากที่สุด

7.เวลา

ความรู้ความเข้าใจเรื่องเวลาอาจเป็นเรื่องง่ายๆ ที่ไม่ซับซ้อนสำหรับผู้ใหญ่ แต่สำหรับเด็กๆ แล้วการเรียนรู้เรื่องเวลาเป็นเรื่องที่สร้างความยุ่งยากให้กับพวกเขามากทีเดียว ระยะเวลา 1 ปีคือช่วงเวลาที่นานมากในชีวิตของพวกเขา ในขณะที่ผู้ใหญ่ที่ผ่านร้อนผ่านหนาวมาถึง 20-30 ปี จะรู้สึกว่าเวลา 1 ปี ช่างผ่านไปอย่างรวดเร็วราวกับติดปีก

แต่บางครั้ง ความสั้นยาวของเวลาก็ขึ้นอยู่กับความรู้สึกด้วยเช่นกัน เวลา 1 ชั่วโมงอาจจะผ่านไปอย่างรวดเร็วสำหรับผู้ที่กำลังมีความสุข หรือกำลังทำงานอย่างเพลิดเพลิน ขณะเดียวกันเวลาก็ช่างเคลื่อนคลานไปอย่างเชื่องช้า และยืดยาวสำหรับผู้ที่กำลังรอคอยบางสิ่งบางอย่างหรืออยู่ที่กำลังตกอยู่ในห้วงของความทุกข์

ฤดูกาลก่อให้เกิดความสับสนได้ เช่น ในฤดูร้อน เมื่อเลิกงานแล้วเราอาจเดินทางไปต่อไหนได้อย่างสะดวกก่อนถึงหัวค่ำ ผิดกับฤดูหนาวที่เราต้องรีบเร่งกลับบ้าน เพราะไม่นานก็มืดไปหมดแล้ว

มีคำศัพท์ที่เด็กต้องต้องเรียนรู้หลายคำและบางคำก็ทำให้เด็กงง สับสนได้ สำหรับเด็กๆ แล้ว คำว่าวันนี้ เมื่อวานนี้ พรุ่งนี้ ดูเหมือนจะเปลี่ยนแปลงความหมายได้เรื่อยๆ ภายใน 1 นาที กลางวันก่อนและหลัง สัปดาห์นี้ และสัปดาห์หน้า เป็นคำศัพท์และวลีที่เด็กต้องฝึกหัดใช้ลองดูตัวอย่างเด็กที่มีอายุต่างกัน 6 คน ต่อไปนี้ ใช้คำและเวลาต่างกันอย่างไร

เด็กอายุ 2 ปี คิดได้เฉพาะเรื่องปัจจุบัน ถ้าเป็นอนาคตก็ต้องเป็นอนาคตอันใกล้ เช่น หนูจะดื่มนมหลังจากล้างมือแล้ว

เด็กอายุ 3 ปี ใช้คำศัพท์เกี่ยวกับเวลา ส่วนใหญ่จะผิดความหมาย เช่น จะพูดว่า “หนูกำลังจะไปเล่นเมื่อวานนี้” และ “พรุ่งนี้แล้ว กินขนมได้” เด็กวัยนี้จะชอบออกเสียงเลขสองมากไม่ว่าจะถามคำถามอะไรเด็กๆ มักจะตอบด้วยเลข 2 เสมอ

เด็กอายุ 4 ปี เริ่มรับรู้อายุเท่าใดขณะนี้ และก่อนหน้านี้อายุเท่าใด มีความเข้าใจเพียงพอสำหรับการลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน และถามคำถามเกี่ยวกับเวลาบ่อยๆ เช่น ถึงเวลาที่น้องจะกลับจากโรงเรียนหรือยังค่ะ

เด็กอายุ 5 ปี รู้จักว่าไม่ต้องไปโรงเรียนในวันเสาร์ และวันอาทิตย์ เรารู้ว่าเวลานี้เป็นเวลาเช้าหรือเวลาบ่าย เด็กเขาจะชอบที่จะวางแผน “พรุ่งนี้เราไปเที่ยวเขาดินเอามั้ย”

เด็กอายุ 6 ปี สามารถบอกได้ว่าเป็นฤดูหนาวหรือฤดูร้อน เด็กวัย 6 ปีจะรู้ว่าเมื่อเข็มยาวและเข็มสั้นชี้เลขอะไรบนหน้าปัดนาฬิกา เขาจะรู้ว่าเวลานี้เป็นเวลาไปโรงเรียน เพราะเป็นเวลา 8.30 น. ถึงแม้ว่าเธอจะยังอ่านเวลาไม่เป็นก็ตาม

เด็กอายุ 7 ปี จะพูดคุยอย่างมั่นใจในสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต เขาสามารถบอกเวลาที่เป็นชั่วโมง ครึ่งชั่วโมง หรือ 15 นาที ได้ แต่ยังไม่แน่ใจนักในเรื่องเวลาอื่นๆ เขารู้ว่าวันเกิดของเจาตรงกับวันที่ 4 เดือนกุมภาพันธ์ แต่ไม่แน่ใจในปี พ.ศ. ที่เขาเกิด

ลำดับเหตุการณ์

สิ่งที่เด็กจำเป็นต้องเรียนรู้เกี่ยวกับเวลาเป็นสิ่งแรกคือการเรียงลำดับเวลาก่อน-หลัง มีกิจกรรมในชีวิตประจำวันเป็นจำนวนมากที่เรานำมาสอนเด็กๆ ได้ในเรื่องการเรียงลำดับเวลา

สิ่งที่ควรปฏิบัติในแต่ละวัน

พูดคุยถึงเหตุการณ์ในชีวิตประจำวัน และลำดับสิ่งที่ทำก่อนหลังในการตื่นนอน การชำระล้างทำความสะอาดร่างกาย การแต่งตัว การรับประทานอาหาร การไปซื้อของ การเที่ยว และการเข้านอน

ช่วยให้ลูกเข้าใจคำว่า เมื่อวานนี้ และ วันพรุ่งนี้ ในสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้นทุกๆ วัน “เมื่อวานนี้ลูกสนุกไหมที่ได้ไปเล่นน้ำ” หรือ “ลองโทรศัพท์ไปคุยกับพี่แป้งแล้วถามว่า พวกเราจะไปเยี่ยมเธอวันพรุ่งนี้ได้ไหม” “เช้านี้เราทำอะไรไปบ้างแล้วนะ” “บ่ายนี้เราควรจะทำอะไรกันดี”

เกมภาพตัดต่อ

ให้ลูกเล่นเกมเรียงภาพเหตุการณ์ต่อเนื่อง หรือเกมภาพตัดต่อที่ต้องเรียงลำดับเหตุการณ์

ไปโรงพยาบาลกันดีกว่า

เกมโรงพยาบาลสมมุติจะเปิดโอกาศให้คุณได้คุยกับลูกเรื่องเวลาได้มากมาย เพราะคุณสามารถสมมุติว่าอยู่ที่โรงพยาบาลได้ทั้งเวลาเช้า เวลาบ่าย เวลาเย็น และเวลากลางคืน

ใช้กล่องกระดาษกล่องโตๆ เป็นเตียงนอนตุ๊กตาหรือตุ๊กตาหมี และใช้ผ้าเช็ดหน้าผืนโตๆ หรือผ้าเช็ดโต๊ะเป็นผ้าปูเตียง โรงพยาบาลต้องมีห้องครัวเช่นเดียวกัน ระบายสีหรือติดภาพและทำปุ่มควบคุม และใช้เทปกระดาษติดบนกล่องทำเป็นเครื่องรับโทรทัศน์ เลือกหนังสือนิทาน เกมตัดต่อและของเล่นบางชิ้นเพื่อให้ผู้ป่วยเล่นคลายเหงา ใช้สำลีและจานเล็กๆ สำหรับทำความสะอาดแขนและขาที่บาดเจ็บ และตัดพลาสเตอร์ยาปิดแผลด้วย

เด็กๆ สามารถเล่นเป็นทั้งหมอและพยาบาล หาเสื้อเชิ้ตสีขาวให้ใส่แล้วม้วนแขนเสื้อให้เหมือนเสื้อนายแพทย์ ทำหมวกพยาบาลให้มีเครื่องหมายกาชาดสีแดงตรงกลางด้วย

กิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยจะเริ่มต้นด้วยการตื่นนอน แนะนำให้ลูกเชคตัวผู้ป่วยแล้วให้อาหารเช้า เพราะคุณหมอจะมาตรวจคนไข้หลังอาหารเช้า และในระหว่างช่วงเช้า นางพยาบาลจะเป็นคนอ่านนิทาน ร้องเพลงและเล่นเกมกับคนไข้ หลังจากอาหารกลางวัน คนไข้ก็อาจจะพักผ่อนด้วยการดูโทรทัศน์ หรือไม่ก็สนทนากับผู้มาเยี่ยมไข้ จากนั้นหลังอาหารเย็นก็เป็นเวลานอนหลังพักผ่อนอีกครั้ง

การถ่ายภาพ

ถ้าคุณมีภาพถ่ายของลูกขณะอายุต่างๆกัน จากวัยทารกจนถึงปัจจุบัน ใช้ภาพถ่ายเหล่านั้นพูดคุยเรื่องในอดีต

* “นี่ไงจ้ะรูปหนูเมื่อยังเป็นเด็กทารก ตอนนั้นหนูยังนั่งไม่ได้เลย และพูดก็ไม่เป็นด้วย”

* นี่รูปลูกกับแม่ เมื่อลูกอายุได้ 2 ขวบ ลูกกำลังหัดวิ่งและหัดพูด ตอนนั้นลูกต้องนุ่งผ้าอ้อมเพราะลูกยังเล็กเกินไปยังใส่กางเกงขายาวไม่ได้จ้ะ

* รูปนี้ลูกกำลังวิ่งเล่นในสวนบ้านคุณยาย ลูกจำได้มั้ย...ตอนนั้นเป็นหน้าหนาว หนูใส่เสื้อหนาว ใส่หมวกกันหนาวด้วย ตอนนี้เป็นหน้าร้อนแต่งตัวอย่างนั้นไม่ได้แล้ว

นอกจากพูดคุยเกี่ยวกับรูปถ่ายแล้ว คุณอาจใช้รูปลูกสัก 3-4 รูป แล้วให้ลูกลองเรียงลำดับเหตุการณ์ดูว่ารูปไหนเป็นรูปลูกเมื่อยังเป็นเด็กทารก และรูปไหนเป็นรูปลูกเมื่ออายุ 2 ปี 3 ปี เป็นต้น

นาฬิกาปลุก

อธิบายให้ลูกฟังว่านาฬิกาปลุกมีไว้ทำอะไร คุยกันว่าจะเกิดอะไรขึ้น หลังจากสัญาณ ปลุกหยุดแล้ว และอะไรเกิดขึ้นถ้าลูกไม่ตื่นนอนตามเวลา

ภาพฝาผนังกับชีวิตประจำวัน

ใช้ฝาผนังติดภาพเหตุการณ์ประจำสัปดาห์ โดยใช้กระดาษ 7 แผ่น เขียนชื่อลงในกระดาษแต่ละแผ่น วาดรูปกิจกรรมที่คุณและลูกทำร่วมกันในแต่ละวันเพื่อช่วยเตือนความจำ ไม่ควรเป็นรูปที่วาดยากหรือซับซ้อนเกินไป ควรเขียนเฉพาะเหตุการณ์ที่สำคัญ

ตัวอย่าง

วันจันทร์ เราไปไปรษณีย์

ติ๊งโหน่งขี่รถจักรยาน

วันอังคาร เราซื้อแตงโม 1 ลูก

วันพุธ ติ๊งโหน่งไปโรงเรียน

วันพฤหัสบดี เรานั่งรถเมล์

วันศุกร์ ติ๊งโหน่งไปโรงเรียนอีกครั้ง

วันเสาร์ แม่กินปลาทอด

วันอาทิตย์ เราไปเยี่ยมคุณปู่คุณย่า

เมื่อทำภาพกิจกรรมประจำวันเสร็จก็ปิดฝาผนัง และพูดคุยกับลูกในสัปดาห์นั้นหรือสัปดาห์ต่อไป “เมื่อวานนี้ทำอะไรบ้าง” และอื่นๆ โดยชี้ไปที่วันที่พูดคุยกับลูก ใช้คำศัพท์ชื่อวันให้บ่อยครั้งเท่าที่จะทำได้เพื่อให้เด็กคุ้นเคยกับชื่อวัน

เวลานานเท่าใด

ในขณะที่เรียนรู้ว่าเหตุการณ์เกิดขึ้นเป็นลำดับ เด็กจำเป็นต้องเรียนรู้วิธีการนับเวลาไปพร้อมๆ กัน กล่าวคือ วินาที นาที ชั่วโมง และอื่นๆ

ไข่และมันฝรั่ง

บอกให้ลูกช่วยจับเวลาที่ใช้ประกอบอาหารให้สุก ต้มไข่แล้วจับเวลาโดยใช้นาฬิกาทรายหรือดูเข็มยาวบนนาฬิกาแขวนหรือดูเข็มยาวบนนาฬิกาข้อมือเวียนครบ 3 รอบ อบมันฝรั่งในตู้เป็นเวลา 1 ชั่วโมง ตั้งเวลาด้วยนาฬิกาปลุกหรือนาฬิกาบนเตาอบ

ทำความคุ้นเคยกับเวลา

พูดคุยถึงสิ่งที่ทำในชีวิตประจำวันที่เกี่ยวข้องกับเวลาเพื่อให้ลูกของคุณคุ้นเคยกับคำศัพท์ที่เราใช้และเห็นความสำคัญของเวลา

* เวลาขณะคุณออกไปซื้อสินค้า หรือเดินเล่น สอนให้ลูกดูนาฬิกา รวมทั้งบอกให้รู้จักอ่านเวลา

* พูดคุยถึงเวลาที่สำคัญๆ “เร็วๆ เข้าลูกจ๋า อีก 10 นาทีก็จะ 9 โมงแล้ว ลูกจะไปโรงเรียนสายนะ”

*ฟังวิทยุ หรือดูโทรทัศน์ “ขณะนี้เวลา 9.30 น. วันศุกร์ที่ 21 สิงหาคม และต่อไปคือข่าวล่าสุด”

* ดูรายการโทรทัศน์ในหนังสือพิมพ์ และตรวจดูว่ารายการนานเท่าใด “รายการนี้ยาว 15 นาที เราจะรับประทานอาหารกลางวันกันเมื่อจบรายการนี้”

* ดูบัตรห้องสมุดสิ ถึงเวลาคืนหนังสือหรือยัง

* ตรวจวันที่ในสมุดบันทึกประจำวัน จากปฏิทิน หรือจากหนังสือพิมพ์

* ปลูกดอกไม้ ต้นไม้ในสวนด้วยกัน เพื่อสำรวจเวลา และฤดูกาลที่ผ่านไป

* พูดคุยถึงวันเกิดและวันสำคัญอื่นๆ

โปรดจำไว้ว่าลูกของคุณจำเป็นต้องเรียนรู้ลำดับเลขที่ จำนวนเลขที่แสดงลำดับ เช่น วันที่ 1 วันที่ 2 วันที่ 3 และวันที่ 31 เมื่อเราได้หยุดพักผ่อนในวันที่ 19 ก.ค.เรามีเวลา 2 สัปดาห์

ปฏิทิน

หาปฏิทินขนาดใหญ่ที่มีรูปน่าสนใจในแต่ละเดือน ให้ลูกพลิกดูภาพในแต่ละเดือนและพูดคุยเกี่ยวกับภสพ “รูปเดือนกุมภาพันธ์เป็นรูปอะไรค่ะ” “รูปแมวและลูกๆของมันค่ะ”

การมีปฏิทิน 2 ชุดจะเป็นประโยชน์ คุณอาจหาชุดที่สัมพันธ์กับฤดูกาลในแต่ละปี และชุดที่เป็นเรื่องราวที่น่าสนใจทั่วไป บางทีลูกของคุณอาจเลือกปฏิทินชุดที่ 2 ในเดือนกุมภาพันธ์ก็ได้ เพราะมีราคาถูกลงแล้ว และเขาจะได้ใช้แขวนในห้องนอนของเขา

การบอกเวลา

การบอกเวลาต้องอาศัยความรู้เรื่องเวลาเป็นอย่างมาก เด็กต้องสามารถจำสัญลักษณ์ของจำนวนเลขจำนวนจาก 1 ถึง 12 และจำได้ว่าเข็มยาวชี้ไปแต่ละตัวเลขหมายถึเวลากี่นาทีและเข็มไหนเป็นเข็มชั่วโมง และมีความสามารถที่จะนับไปข้างหน้าและถอยหลังครั้งละ 5 ได้ นอกจากนี้ สำหรับนาฬิกาบางเรือน ก็ยิ่งเพิ่มความสับสนให้เพราะไม่มีตัวเลขปรากฏบนหน้าปัดเลย และนาฬิกาแบบตัวเลขก็ไม่มีเข็มนาฬิกา จึงไม่น่าประหลาดใจนักที่ การบอกเวลาจะเป็นทักษะอย่างหนึ่ง ซึ่งใช้เวลาการเรียนรู้และเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องค่อยๆ เรียนรู้ทีละขั้นทีละตอนและไม่ควรเร่งรัดเป็นอันขาด

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี ควรสอนเวล่ที่เขาประสบขณะนั้นไม่ใช่เวลาที่แสดงบนหน้าปัดนาฬิกา เพราะค่อนข้างสับสนสำหรับความคิดของตนเองที่ว่าเวลาผ่านไปยังเดินไปเรื่อยๆ และยิ่งสับสนมากขึ้นเมื่อต้องนั่งกับผู้ใหญ่ที่พยายามหมุนเข็มนาฬิกา (เพื่อใช้อธิบายเด็ก) พร้อมกับพูดว่า “ขณะนี้เวลาเท่าใด สี่นาฬิกา ขณะนี้เวลาเท่าใด หนึ่งนาฬิกา ลองตั้งนาฬิกาให้เป็นแปดนาฬิกาซิ”

การเรียนรู้เวลาอย่างง่ายๆ

เด็กอายุ 5 ปี หลายคนสามารถบอกได้ว่า “เป็นเวลาช่วงบ่าย” ซึ่งเป็นเวลาที่ง่ายที่สุดที่เรียนรู้ บ่าย-โมง บ่ายสองโมง บ่ายสี่โมง และบ่ายห้าโมง แขวนหรือตั้งนาฬิกาไว้ในห้องที่ลูของคุณนั่งเล่นตอนบ่าย และให้ลูกดูเวลาทุกชั่วโมง (ถ้าคุณไม่ลืม) นาฬิกาที่มีเสียงบอกเวลาหรือที่ตีดังๆ มีประโยชน์ ถ้าไม่มีก็ยืมคนที่มีสักเรือน

การเรียรู้เรื่องเวลาที่ดีที่สุดควรเรียนตามลำดับดังนี้ เวลาที่เปลี่ยนไปทีละ 1 ชั่วโมง เปลี่ยนไปทีละครึ่งชั่วโมง ผ่านไปทีละ 15 นาที จะถึงเวลา สุดท้ายค่อยเรียนรู้การนับจำนวนที่ที่ผ่านชั่วโมง และเหลือกี่นาทีจะถึงเวลานาฬิกาเก่าๆ ที่มีเข็มยาวจะมีประโยชน์หรือนาฬิกาของเล่นที่ใช้ได้เช่นกัน

คุณสามารถจะมีเวลาที่สนุกสนานในการช่วยลูกของคุณให้เรียนรู้

คณิตศาสตร์ด้วยกิจกรรมการเล่น

แต่จำไว้ว่า ความเข้าใจเท่านั้นสำคัญมากกว่า    การเรียนแบบนกแก้วนกขุนทอง  โปรดใช้เวลาอย่างสนุกสนานในการ  เรียนรู้คณิตศาสตร์ร่วมกันกับลูก

5.รียนรู้คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน(ต่อ)

4.รูปทรงและพื้นที่

ในชีวิตประจำวันของพวกเราส่วนใหญ่ใช้ความรู้สึกที่มีอยู่กับตัวในการพิจราณารูปทรงและพื้นที่มากกว่าทักษะจำนวน เช่น เมื่อคุณจัดเครื่องเรือนในบ้านใหม่ ใช้แผนที่ หรือหาที่จอดรถ คุณใช้ความรู้เรื่องรูปทรงและพื้นที่มาช่วย โดยคุณไม่คาดคิด
ในบทนี้เราจะลองศึกษาดูในเรื่องกิจกรรมหลายๆ อย่างที่จะช่วยลูกของคุณในการพัฒนาความรู้เรื่องรูปทรงและพื้นที่
           
คำศัพท์ใหม่ๆ และความคิดใหม่ๆ จะเพิ่มขึ้นตามธรรมชาติเมื่อเด็กได้สำรวจโลกรอบๆ ตัวของเขา แม้แต่เด็กทารกก็จะชอบเฝ้ามองดูสิ่งที่เกิดขึ้นรอยๆ ตัว และความสุขของเด็กที่เริ่มเดินเตาะแตะในการได้เห็นได้สัมผัสสิ่งใหม่ๆ แสดงว่าเด็กๆ จะเริ่มต้องการความสนใจสิ่งรอบตัวทันทีทันใด ดังจะได้กล่าวต่อไปนี้
เรียนรู้การไปนอกบ้าน

เมื่อคุณออกไปข้างนอก ไม่ว่าจะเป็นการเดินไปหรือขับรถไป ควรพูดคุยกับลูกเกี่ยวกับเส้นทาง

* ลูกเห็นอะไรบ้างจ้ะ

* เดี๋ยวเราจะเห็นอะไรข้างหน้า

* เราควรจะไปทางไหนต่อไป
 จำไว้อย่างไรก็ตามสายตาของเด็กก็สูงได้เพียงระดับพื้นเท่านั้น ลูกจะบอกแต่สิ่งที่อยู่ใกล้พื้นเท่านั้น

เรียนรู้การเคลื่อนไหว

 การปีน การกระโดด การวิ่ง การหมุนตัว การลื่นไหล การม้วนตัว การคลาน ล้วนเป็นวิธีการที่สนุกสนาน ในการสำรวจเรื่องพื้นที่ มองดูผู้คนที่กำลังเคลื่อนที่ คนเต้นรำ หรือว่ายน้ำ ควรจะได้พูดคุยกับเด็กเกี่ยวกับอากัปกิริยาที่เขาเหล่านั้นปฏิบัติ

กิจกรรมนี้จะสนุกสนานมากขึ้นถ้ามีผู้เล่นอย่างน้อย 2-3 คนขึ้นไป เด็กๆ จะสนุกสนานที่ได้ดูคนอื่นเป็นอนุเสาวรีย์และจะสนุกมากขึ้นเมื่อได้เป็นอนุเสาวรีย์เสียเอง คุฯเองก็เข้าร่วมเล่นสนุกได้

เด็กๆ จะเต้นรำไปตามจังหวะดนตรี แล้วหยุดนิ่งเป็นรูปปั้นเมื่อคุณปิดเพลง คุณอาจออกคำสั่งพิเศษ เช่น “ทำตัวให้สูงที่สุดแบบยีราฟ” “ม้วนตัวเป็นลูกบอลเล็กๆ” หรือ “ทำตัวให้ต่ำสุดบนพื้นห้อง” เมื่อเด็กทำตามคำสั่ง ควรกล่าวชมเชยแล้วเริ่มต้นดนตรีใหม่

ซ่อนหา

กิจกรรมนี้เด็กอายุ 2-3 ปีชอบมากๆ เอ...ติ๊งโหน่งอยู่ไหนน๊า...อยู่ ปิดตาคุณในขณะให้ลูกหาที่หลบซ่อนตัวในห้อง อาจได้ยินเสียงตอบจากลูกว่า “ไม่ใช่” “งั้น...สงสัยอยู่ใต้เตียงแน่ๆเลย” “ไม่ใช่” “งั้นลูกก็อยู่บนเตียงนะซิ” “ใช่แล้ว”

บนเส้นชอล์ก

ถ้าคุณมีพื้นที่กลางแจ้งกว้างขวาง ใช้ชอล์กวาดรูปวงกลมใหญ่ๆ สำหรับเด็กวิ่งไปรอบๆ เมื่อเขาคุ้นแล้ว ลองวาดรูปทรงอื่นๆ เช่น รูปเลข 8 ทางตรงๆ หรือทางคดเคี้ยว หากเล่นในร่มอาจใช้ไหมพรมหรือเชือกวางยาวบนพื้นให้เด็กเดินบนเชือกหรือไหมพรมแทน

โยนลูกบอล

ให้เด็กโยนลูกบอลขึ้นเหนือศีรษะ กลิ้งลูกบอลลอดใต้ขา ลอดใต้เก้าอี้ โดยไม่ให้ไกลเกินไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับทักษะในการควบคุมลูกบอลที่มี

ภาพตัดต่อ

การเล่นภาพตัดต่อได้เก่ง เด็กต้องมีความสังเกตดี สามารถสังเกตได้ว่าสิ่งไหนเหมือนหรือไม่เหมือนกัน มีวิธีคิดเป็นเหตุเป็นผล รู้จักแก้ปัญหาและมีความอดทน คุณสมบัติเหล่านี้เป็นสิ่งจำเป็นต่อการที่จะเป็นนักคณิตศาสตร์ที่ดีต่อไปด้วย

ควรเริ่มต้นจากภาพตัดต่อง่ายๆ ในขณะที่อายุยังน้อย แล้วค่อยๆ เพิ่มระดับความยากเมื่อมีประสบการณ์มากขึ้น อาจให้เด็กๆ แลกเปลี่ยนภาพตัดต่อกันเพื่อให้เกิดประสบการณ์หลากหลาย สำหรับภาพตัดต่อง่ายๆ ยังไม่ควรให้แก่ผู้อื่นเร็วเกินไป เพราะบางครั้งหนูๆ ผู้เอาใจยากก็อาจต้องการกลับมาเล่นชุดง่ายๆ อีกเหมือนกัน โดยเฉพาะเมื่อพวกเขาไม่สบาย หรือต้องการเพิ่มพูนความมั่นใจตนเอง การต่อชิ้นส่วนภาพตัดต่อให้สมบูรณ์จะก่อให้เกิดความรู้สึกเป็นสุขทางจิต

ภาพตัดต่อตัวฉันเอง

ทำภาพตัดต่อง่ายๆ และเป็นของส่วนตัวให้แก่เด็กอายุ 1 หรือ 2 ปี โดยการใช้รูปภาพหรือการ์ดอวยพรวันเกิด

วิธีทำก็คือ ตัดกระดาษแข็ง 2 ชิ้น (ใช้กระดาษขาวกล่องใส่ของก็ได้) ให้มีขนาดเท่ากับรูปภาพที่มี ใช้กาวติดลงบนกระดาษแผ่นหนึ่ง หลังจากแห้งแล้วตัดให้เป็น 2 ชิ้น ให้เป็นรูปตัววี พยายามตัดให้ดูน่าสนใจโดยไม่จำเป็นต้องตัดแบ่งครึ่ง ใช้กาวทาลงบนชิ้นส่วนทั้งสอง ติดกาวบนกระดาษแผ่นสีทอง ต้องแน่ใจว่ามุมภาพต่อกันได้พอดี แล้วปล่อยให้แห้ง สาธิตวิธีการเล่นต่อชิ้นส่วนให้ลูกคุณดูแล้วจึงให้เขาทดลองเล่นเอง

“ทำภาพตัดต่อแบบนี้ไว้สัก 5-6 ชุด โดยเก็บรวบรวมแต่ละชุดในซองไว้ในกล่องใหญ่ๆ”

ชุดภาพตัดต่อ

เด็กส่วนใหญ่เริ่มเล่นภาพตัดต่อที่มีชิ้นส่วนโดยที่แต่ละชิ้นจะเป็นภาพที่สมบูรณ์ในตัว ชิ้นส่วนเหล่านี้บางชิ้นจะมีขนาดไม่เท่ากัน เพราะถ้าให้เด็กเล่นภาพตัดต่อที่มีชิ้นส่วนขนาดเท่ากันหมด อาจจะทำให้เด็กรำคาญใจได้

ฉะนั้น ควรเลือกภาพตัดต่อมีขนาดแตกต่างชัดเจน เพื่อให้ง่ายต่อการเปรียบเทียบ

ภาพตัดต่อลายเส้น

ภาพตัดต่อลายเส้นสำหรับผู้เริ่มเล่นโดยทั่วไปมีจำนวนเพียง 2 3 หรือ 4 ชิ้น ไม่ง่ายเหมือนชุดภาพตัดต่อที่กล่าวมา ซึ่งสามารถสังเกตรูปทรงในแต่ละชิ้นได้ สำหรับภาพตัดต่อลายเส้นต้องใช้เทคนิคที่แตกต่างกันออกไป เพราะมีเพียงเส้นกรอบนอกให้สังเกต หรือบางทีก็มีแต่สีให้สังเกต

ภาพตัดต่อลายเล้นที่มีชิ้นส่วนมากกว่า 4 ชิ้นขึ้นไป บางทีก็เป็นสิ่งที่ต่อได้ยากจนน่าประหลาดใจ

ถาดภาพตัดต่อ

ภาพตัดต่อที่บรรจุอยู่ในถาดหรือกรอบมักจะไม่ค่อยมีรูปภาพภายในให้เด็กสังเกต จึงควรชี้แนะให้ลูกมองดูรูปภาพที่สมบูรณ์ ทั้งหมดก่อนหยิบเทออกมากระจัดกระจาย ในการซื้อภาพตัดต่อประเภทนี้ให้เลือกซื้อทุกอย่างที่มีคุณภาพดีสักหน่อย เพราะที่ราคาถูกมากๆ พบว่าเอาออกจากถาดได้ยาก

กล่องภาพตัดต่อ

เด็กอายุ 3 ปีขึ้นไป ที่เคยผ่านการฝึกหัดเล่นภาพตัดต่อง่ายๆ จะสนุกสนานกับกล่องภาพตัดต่อที่มีชิ้นส่วนรวม 20 25 และ 30 ชิ้น เด็กอายุ 4 ปี บางคนก็สามารถต่อได้ถึง 50 ชิ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพวกเขามีผู้ใหญ่สนับสนุนอยู่ข้างๆ

คุณพ่อคุณแม่สามารถเพิ่มทักษะในการเล่นภาพตัดต่อของลูกๆ โดยหารูปภาพที่มีส่วนชี้แนะมากๆ โดยเฉพาะภาพที่มีรูปทรงต่างๆ กัน ทดลองเล่นภาพตัดต่อทั้งขนาดเล็กขนาดใหญ่

เมื่อลูกของคุณสามารถเล่นภาพตัดต่อที่มีชิ้นส่วนมากกว่า 300 ชิ้นขึ้นไป คุณจะพบว่าเขาหรือเธอจะไม่สามารถต่อภาพให้เสร็จสมบูรณ์ได้ในการเล่น 1 ครั้ง ด้วยเหตุผลของการจำกัดเรื่องเวลาหรืออาจเป็นเพราะเขาขาดสมาธิก็ตาม อาจช่วยลูกด้วยการซื้อหากระดานเรียบเล็กๆ 1 แผ่น ขนาด 60X60 ซม. (24X24 นิ้ว) ไว้ใช้เป็นพื้นรองเกม เวลาต่อไม่เสร็จก็สามารถเก็บไว้ได้ จนกว่าจะนำออกมาเล่นครั้งต่อไป กระดานแผ่นนี้ยังใช้ประโยชน์ในการเล่นก่อสร้างอื่นๆ ได้อีกด้วย

วิธีช่วยส่งเสริมลูกรัก

วิธีการที่ดีที่สุดในการช่วยส่งเสริมลูกเพื่อการฝึกหัดทักษะต่างๆ ขึ้นอยู่กับอารมณ์ของลูกและประเภทของกิจกรรมที่จะทำ มีหลักเกณฑ์ง่ายๆ ที่คุณสามารถนำไปใช้ส่งเสริมลูกๆ ได้โดย...

ช่วยเหลือให้เป็นขั้นตอน

แบ่งกิจกรรมออกเป็นขั้นตอนเล็กๆ คอยให้ความช่วยเหลือเมื่อเริ่มต้นในแต่ละขั้นตอน “ตั้งเป้าหมาย” ที่เป็นจริง ปฏิบัติได้ เป็นต้นว่า “พ่อว่า...เราช่วยกันต่อชิ้นส่วนอีก 2 ชิ้น แล้วค่อยไปหม่ำข้าวดีมั้ยครับ” การพูดเช่นนี้ให้ผลดีกว่าการพูดว่า “ลูกต้องเล่นให้เสร็จก่อนนะ แล้วค่อยไปกินข้าว”

ทำงานย้อนหลัง บ่อยครั้ง เราพบว่า งานบางอย่างจะยากตรงการเริ่มต้น เช่น การเขียนหนังสือ แต่เมื่อเริ่มต้นได้แล้ว การเขียนก็จะลื่นไหลไปเรื่อย การต่อภาพก็เช่นเดียวกัน

ช่วยเหลือให้กำลังใจ

คงไม่มีใครปฏิเสธคำชมและกำลังใจ เด็กๆก็เช่นเดียวกัน คำชมเชยจะช่วยเด็กมีกำลังใจเพื่อทำสิ่งต่างๆ ไปได้ในที่สุด คุณพ่อคุณแม่ควรแสดงความชื่นชมและชี้ให้ลูกเห็นถึงความก้าวหน้าของพวกเขา ช่วยเหลือลูกเมื่อจำเป็น โดยระวังที่จะไม่ไปแย่งทำทุกสิ่งทุกอย่างให้ลูก

แตะ สัมผัส และมองดู

ส่งเสริมให้ลูกแตะสัมผัสและจับต้องสิ่งต่างๆ เมื่อมีโอกาศ เพื่อให้รู้จักรูปทรงและลักษณะพื้นผิวปนะเภทต่างๆ รวมทั้งสอนให้รู้จักมองสิ่งต่างๆ อย่างละเอียดถี่ถ้วนด้วย กิจกรรมต่อไปนี้ช่วยเสริมในเรื่องนี้ได้

อะไรอยู่ในถุงเอ่ย

ผลัดกันเล่นหาของที่อยู่ในถุงรองเท้าหรือปลอกหมอน โดยให้ทายว่ามันคืออะไร จากการสัมผัสเพียงอย่างเดียว

ทรายและน้ำ

ปั้มรอยฝ่ามือและรอยเท้าในบ่อทราย หรือใช้มือและเท้าเปียกๆ ทำรอยบนทางเดินเท้าถามเด็กๆ ว่า “มือและเท้าของเราทั้ง 2 ข้างเหมือนกันหรือไม่” (เด็กเล็กๆ จะไม่สามารถจำซ้ายและขวาได้ แต่พวกเขาก็พอจะมองเห็นว่ามันไม่เหมือนกัน) “ลองวางมือและเท้าให้อยู่เหนือรอยเดิมได้มั้ยจ้ะ เหนือรอยเก่าได้หรือไม่”

รูปทรงและพื้นที่

อัดทรายลงในกระป๋องหรือถ้วยโยเกิต แล้วเทออกมาซิจะเกิดอะไรขึ้น ทดลองทั้งทรายแห้งและทรายเปียก มองดูและสัมผัสภายในทรายอัดเหล่านี้ และเปรียบเทียบมันกับปราสาททรายที่ก่อ ลองพยายามวางทรายอัดรูปถ้วยนี้บนประสาททรายด้วย

ดูเยลลี่หรือวุ้นรูปร่างต่างๆ ที่อยู่ ทำน้ำแข็งก้อนและดูถาดน้ำแข็ง เทน้ำใส่ลงภาชนะเล็ก (ที่เข้าช่องแช่แข็งได้) หรือทำภาชนะเล็กจากกระดาษตะกั่ว แล้วเปรียบเทียบรูปร่างของน้ำแข็งในแบบพิมพ์แบบต่างๆ

ลวดลายและรูปแบบ

การเล่นร้อยลูกปัด แกนหลอดด้าย และปักหมุดกระดานช่วยส่งเสริมให้เด็กจดจำ คิดค้น ประดิษฐ์ และทำเลียนแบบ

ร้อยลูกปัดที่ทำจากไม้พลาสติกด้วยเชือกทั้งยาวและสั้น เก็บลูกปัดเหล่านี้ในภาชนะปากกว้างและตื้น และมัดปมเชือกด้วยลูกปัด 1 เม็ดทุกครั้งเสมอก่อนเก็บเข้าที่ เพื่อให้พร้อมที่ลูกจะเล่นได้เลยในครั้งต่อไป

คุณควรอยู่ใกล้ๆ ขณะที่ลูกเล่นร้อยลูกปัด แม้ว่าเด็กดูจะมีเหตุผลแล้วแต่บางครั้ง เขาอาจจะอยากใส่มันในหู จมูก หรือปาก

มักกะโรนี หรือแป้งผสมไข่บางชนิดสามารถใช้ร้อยได้ถ้าเด็กโตหน่อย ควรใช้เล้นด้ายขนาดโตหรือเส้นเอ็นสำหรับตกปลา แต่ไม่ควรใช้เข็มเพราะเส้นมักกะโรนีมักโค้งงอ

แกนหลอดด้ายเหมาะสำหรับการสร้างปิรามิดและหอคอยเช่นเดียวกับการร้อย โดยเฉพาะการร้อยตกแต่งรองเท้า ฟุตบอล และเบสบอล

งู

ทำงูด้วยการเลียนแบบและดูซิว่าลูกของคุณทำได้เหมือนแบบหรือไม่ ทำให้ลูกลองทำงูเองแล้วคุณลอกแบบของลูกให้ลูกตัดสินว่าคุณทำได้เหมือนหรือไม่ นอกจากนี้ใช้ทำมงกุฏและกำไลได้อีกด้วย

กระดานหมุด

สามารถใช้เพื่อสร้างแบบได้มากกว่า 1 ลายขึ้นไป กระดานหมุดประเภทที่มีหัวหมุดโตๆ และสามารถวางซ้อนหมุดแต่ละตัวได้นั้น เด็กอายุต่ำกว่า 4 ปีจะชื่นชอบมาก ซื้อหมุดไว้ให้มากพอและจัดเก็บทุกอย่างไว้รวมกันในถาดไม่ให้หมุดหาย

ชื่อรูปทรง

ทุกสิ่งทุกอย่างที่เราเห็นมีรูปร่าง แต่บางอย่างมีชื่อเรียกพิเศษเพื่ออธิบายรูปร่างลักษณะของมันโดยเริ่มจากวงกลม ชื่อรูปทรงต่อไปนี้ เป็นรูปทรงพื้นฐานที่ควรสอนให้ลูกรู้จัก

วงกลม ขีดเส้นวงกลมใหญ่ๆ เล่นเกมให้ทุกคนเดินไปรอบๆ วงกลมขณะร้องเพลง

จงหาวงกลมในบ้าน ให้เด็กๆ ช่วยกันมองว่ามีอะไรเป็นรูปวงกลมบ้าง เช่น โต๊ะอาหาร จานข้าว นาฬิกา กระดุม แหวน หรือกระป๋องอาหาร ลองให้เด็กใช้นิ้วมือวนไปรอบๆ เหยือกน้ำ เด็กจะพบว่าเหยือกน้ำก็เป็นวงกลมเหมือนกัน จากนั้นให้เด็กๆ มองหาวงกลมเล็กๆ เช่น หัวเข็มหมุด หรือหาสิ่งที่เป็นวงกลมใหญ่ๆ เช่น นาฬิกา พัดลม เป็นต้น

เมื่อพาลูกออกไปเดินเล่นนอกบ้าน อาจชี้ชวนสิ่งที่เป็นวงกลมให้เขาหรือให้เด็กๆ มาดูว่ามีอะไรบางทีเป็นวงกลม เช่น ล้อของรถยนต์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นรถเข็นลากของ รถเข็นของคนพิการรถประจำทาง หรือรถรางไฟฟ้า

สามเหลี่ยม คือรูปที่มีเส้นตรงสามเส้นมาบรรจงกัน เด็กที่สามารถนับจำนวนได้ถึง 3 มักสนุกกับการค้นหารูปทรงสามเหลี่ยม

สามเหลี่ยมเข้มแข็งเอาบล็อกหรือตัวต่อ(Bno) หรืออื่นๆ ที่คล้ายกันต่อเป็นรูปสามเหลี่ยมและต่อเป็นรูปสี่เหลี่ยม แล้วให้เด็กลองพยายามแกะมันออกจากกัน เด็กๆ จะเห็นว่าเขาสามารถเปลี่ยนรูปสี่เหลี่ยมได้ สามเหลี่ยมมีความสำคัญมากต่อการก่อสร้าง เพราะเป็นรูปทรงพื้นฐานที่สร้างความมั่นคงของการก่อสร้างรูปทรงต่างๆ มากที่สุด เพราะว่ามันมั่นคงซึ่งดูได้จากนั่งร้าน โคลงยกพื้นของจักรยาน 2 ล้อ รถเข็น เป็นตัวอย่างของประโยชน์ของรูปสามเหลี่ยม

แบ่งครึ่งสี่เหลี่ยมผืนผ้า เมื่อเราแบ่งครึ่งสี่เหลี่ยมแล้วเราจะได้สามเหลี่ยม 2 รูป ลองทำสามเหลี่ยมให้เด็กๆดู โดยการแบ่งครึ่งขนมปังแซนวิชหรือขนมปังปิ้ง หรือตัดกระดาษแบ่งครึ่งโดยเส้นทะแยงมุมทำให้เกิดรูปสามเหลี่ยมที่ใช้วาดหรือระบายสีภาพได้

สี่เหลี่ยมผืนผ้า

สี่เหลี่ยมผืนผ้าคือรูปที่มีเส้นตรง 4 เส้น มาบรรจงกันและก่อให้เกิดมุมฉาก 4 มุม สี่เหลี่ยมจตุรัสคือรูปสี่เหลี่ยมพิเศษที่มีด้านยาวเท่ากัน

ของเล่นหยอดรูปทรง

ครั้งแรกควรให้เริ่มเล่นของเล่นที่หยอดได้เพียง 3 หรือ 4 ชิ้นส่วนก็พอ (และรูปทรงหนึ่งควรมีหลายชิ้น)
ของเล่นหยอดรูปทรงที่ยากมากขึ้นข้างบน เป็นของเล่นที่ดี เด็กเล็กๆ ชอบกลิ้งมันไปมา เพราะเวลามันกลิ้งจะมีเสียงดังจากของที่บรรจุอยู่ข้างในด้วย คุณอาจช่วยลูกโดยการบอกชื่อและชี้อธิบายให้รู้ว่าชิ้นไหนควรใส่ช่องใด เช่น มันควรใส่ซีกสีแดง หรือซีกสีฟ้า เป็นต้น

ชิ้นส่วนรูปทรงต่างๆ ยังใช้เล่นต่อซ้อนๆ กันขึ้นไป หรือใช่เล่นก่อสร้างได้ ใช้เป็นแม่พิมพ์กดแป้งโด และใช้เป็นแม่พิมพ์เวลาเล่นระบายสีได้อีกด้วย

เด็กส่วนใหญ่จำเป็นต้องให้ผู้ใหญ่ช่วยเปิดลูกบอลนี้ เพื่อเทชิ้นส่วนออกมาเล่นหยอดใหม่อีกครั้ง

การเล่นบล็อก

บล็อกรูปทรงต่างๆ ที่สะสมไว้จะช่วยให้เด็กได้เรียนรู้ชื่อรูปทรงทางเรขาคณิตซึ่งมีอยู่หลายชื่อด้วยกัน เช่น ทรงลูกเต๋า ทรงลูกบาศก์ ทรงกระบอก รูปกรวย และทรงแบบก้อนอิฐ เป็นต้น

เด็กเล็กๆ จะสนุกสนานมากหากได้ล้มบล็อกสูงๆ ที่มีคนก่อเป็นหอคอยได้ เมื่อพวกเขาโตขึ้นก็จะค่อยๆ เริ่มให้ความร่วมมือในการเล่นได้มากขึ้น มีความคิดในการก่อสร้างมากขึ้น และยอมรับหรือลดความรำคาณใจลงเมื่อสิ่งก่อสร้างล้มลงอย่างไม่นึกฝัน

เพราะว่าการเล่นบล็อกนี้ ขึ้นอยู่กับความสมดุลของบล็อกที่ก่อ (ไม่เหมือนเลโก้ หรือพลาสติกตัวต่อสร้างสรรค์อื่นๆ) จึงจำเป็นต้องมีที่กว้างๆ เวลาเล่น เพื่อเด็กจะได้เคลื่อนที่ไปรอบๆ โดยไม่ชนให้ล้มลง

การให้เด็กเล่นบล็อกบนพื้นช่วยให้เขามีการมองจากที่สูง ขณะก่อสร้างควรชักชวนให้เด็กเล่นบล็อกบนโต๊ะในบางครั้งเพื่อให้เขาได้ทำงานในระดับสายตาบ้าง

จัดหาวัสดุอัปกรณ์อื่นๆ เพิ่มเติม เช่น ตุ๊กตาไดโนเสา เอาไว้ปีนภูเขาและอาศัยอยู่ในถ้ำจัดหาสิ่งอื่นๆ เช่น สัตว์จำลอง คนจำลอง ตุ๊กตา เครื่องเรือน เครื่องใช้ในบ้าน รถยนต์จำลอง เพื่อเสนอแนะความคิดใหม่ๆ ให้แก่เด็ก

พูดคุยกับลูกเกี่ยวกับสิ่งที่เขาสร้าง ร่วมสร้างด้วยถ้าคุณทำได้ ให้คำแนะนำและเลียนแบบความคิดผู้อื่นบ้าง สิ่งที่ดีสำหรับการเล่นบล็อกและของเล่นก่อสร้างอื่นๆ ก็คือเมื่อทดลองสร้างอะไรแล้วไม่ถูกใจ ก็สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ไม่เหมือนการวาดภาพระบายสี ซึ่งเมื่อใช้ความพยายามวาดหรือทำแล้วก็ยากที่จะเปลี่ยนแปลงได้

การพูดคุยสนมนากับลูกคอยให้กำลังใจและช่วยเหลืออย่างเหมาะสมจะช่วยให้เขามีสมาธิทำงานต่อไปด้วยความมั่นใจและทำสำเร็จได้

ของเล่นสร้างสรรค์

ของเล่นสร้างสรรค์เป็นของเล่นที่ช่วยสร้างประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ที่มีคุณค่าอย่างยิ่งสำหรับเด็ก เด็กผู้ชายส่วนใหญ่จะชอบเล่นประเภทนี้ เพื่อไม่ให้เสียโอกาศที่ดีไป คุณพ่อคุณแม่หรือคุณครูควรให้โอกาศและสนับสนุนให้เด็กผู้หญิงได้เล่นของเล่นประเภทนี้ด้วย

ของเล่นสรรค์สร้างดีๆ มีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปี แต่ละอย่างมีคุณค่าและประโยชน์มากกว่าของเล่นที่เรามีเมื่อครั้งยังเป็นเด็ก ผลที่เกิดขึ้นคือ มีผู้ใหญ่หลายคนโดยเฉพาะผู้หญิงไม่เคยมีโอกาศได้เล่นของเล่น เช่น เลโก้ บริโอ โมบิโล ซึ่งทำให้เกิดความไม่แน่ใจว่าควรจะทำอะไรกับมัน บางครั้งจึงดูเหมือนว่าเด็กของเราไม่ได้ใช้ประโยชน์จากของเล่นเหล่านี้ได้เต็มที่

เล่นของเล่นสรรค์สร้างให้สร้างสรรค์

เมื่อคิดจะซื้อของเล่นสรรค์สร้างให้กับลูก หลัก 4 ประการต่อไปนี้จะช่วยทำให้คุณตัดสินใจเลือกซื้อและใช้ประโยชน์จากมันอย่างเต็มที่

ปริมาณ

เป็นสิ่งสำคัญเป็นการยากที่จะจินตนาการและคิดสร้างสรรค์กับของเล่นที่จำนวนน้อยชิ้น เด็กๆ จะไม่สนุกและเกิดความรำคาณใจได้ ลองนึกภาพดูถ้าหากเราเข้าครัวทำกับข้าวแต่มีส่วนผสมเพียง 3-4 อย่าง การทำอาหารมื้อนั้นคงไม่น่าสนุกและไม่ได้อย่างใจเป็นแน่ เด็กๆ กับของเล่นน้อยชิ้นก็ไม่แตกต่างกัน ฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรหาซื้อของเล่นที่มีปริมาณมากพอที่เด็กจะเล่นหรือจินตนาการได้อย่างสนุกสนานจะดีกว่า

คุณภาพ

เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน ของเล่นสรรค์สร้างดีๆ ดูเหมือนจะมีราคาค่อนข้างแพง แต่ก็ส่วนใหญ่ก็ใช้เล่นได้เป็นเวลานานถึง 6-7 ปี ควรระวังของปลอม ถ้าจะต้องซื้อของเลียนแบบราคาถูกควรมีการทดสอบคุณภาพก่อน มิฉะนั้นถ้าต่อกันไม่เข้าก็ใช้เล่นต่อไปไม่ได้

การเก็บรักษา

น่าเสียดายที่หลายบ้านไม่สนใจเรื่องนี้เลย ทำให้เกิดการชำรุดและสูญเสียอย่างไม่จำเป็น ของเล่นเหล่านี้ควรมีที่เก็บที่หยิบออกมาเล่นได้ง่ายและเก็บเข้าที่เดิมไม่ลำบาก เพื่อที่เด็กจะได้รู้สึกอยากเล่นมากๆ ถึงแม้จะมีเวลาสั้นๆ กล่องกระดาษที่บรรจุของเล่นเหล่านี้มักเก็บได้ไม่นานถึงแม้ว่ามันจะดูดีเพราะมีภาพถาวรเป็นตัวอย่างก็ตาม จริงๆ แล้วกล่องที่ใช้เก็บควรมีขนาดใหญ่หน่อย ด้วยเหตุผล 2 ประการ ประการแรก เด็กๆ จะได้สามารถค้นหาชิ้นส่วนต่างๆ ได้สะดวกง่ายดาย และประการที่สอง เป็นการกระตุ้นให้คุณจัดหามาเพิ่มเพราะยังมีพื้นที่บรรจุได้อีก

ภาชนะที่มีก้นตื้น เรามักจะเก็บเลโก้ไว้ที่ลิ้นชักชั้นล่างสุดโดยมี Dupio Lego อยู่ชั้นหนึ่ง Little Lego อยู่อีกชั้นหนึ่ง และเวลาเล่นก็ดึงออกมาทั้งชั้น อ่างซักผ้าใหญ่ๆ กระเป๋าช้อปปิ้งใบโตๆ กล่องพลาสติกโตๆ ก็เหมาะสมที่จะนำมาให้เป็นที่เก็บของเหล่านี้

เพื่อนร่วมเล่น เป็นสิ่งที่มีประโยชน์มากในการเล่นสรรค์สร้าง เพราะเด็กๆ จะได้มีโอกาศพูดคุย แสดงความคิดเห็นหรือจิตนาการจะทำอะไรต่อไป และจะแก้สิ่งที่กำลังทำ การเล่นประเภทนี้จะทำให้เด็กๆ ต้องคิดวางแผนว่าอยากทำอะไร ปัญหาที่ต้องเผชิญอย่างไร ดังนั้น การพูด การคุยจึงเป็นสิ่งที่ดี

เด็กทุกคนควรได้มีโอกาศเล่นกับของเล่นสรรค์สร้างหลายๆ ประเภท เป็นเวลานานพอสมควร บางคนอาจได่เล่นกับเพื่อนในชั้นเรียน เช่น ชั้นเนิสเซอรี่ ชั้นอนุบาล และบางคนเล่นที่บ้าน

ถ้าคุณมีของเล่นสรรค์สร้าง 2-3 ชนิด ก็ไม่ควรนำออกมาให้พร้อมๆ กันหมด เพราะมันจะสร้างความลำบากในการเก็บเข้าที่เมื่อเลิกเล่น อย่างไรก็ดีอของเล่นหลายชนิดจะมีประโยชน์มากหากมีพ่อแม่คอยชี้เปรียบเทียบให้ลูกเห็นความแตกต่างเมื่อต่อเสร็จแล้ว การเก็บของเล่นเข้าที่ช่วยเพิ่มพูนทักษะการแยกประเภทให้แก่เด็กได้ดี อีกสิ่งหนึ่งที่คุณพ่อคุณแม่พึงระวังก็คือ ไม่ควรรื้อสิ่งที่เด็กสร้างเสร็จแล้วเร็วเกินไปเพียงเพราะอยากให้บ้านสะอาดหมดจด โดยเฉพาะถ้าเขารู้สึกภาคภูมิใจในสิ่งที่เขาสร้าง

งานใหม่ ลองให้ลูกได้หาของเล่นประเภทเล่นสรรค์สร้างโดยคุณไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวดังที่คุณเองเคยรู้สึกพอใจในการได้ทำสิ่งหนึ่งด้วยตนเอง ซึ่งจะเป็นการสร้างความมั่นใจในภารกิจใหม่ๆ ให้แก่เขาในอนาคต นอกจากนี้จะได้ไม่เป็นการปลูกฝังให้เด็กมีความคิดว่าจะมีวิธีการที่ในการทำบางสิ่ง

ตัวอย่างการเล่นสรรค์สร้าง

ดิฉันได้เลือกตัวอย่างของเล่นสรรค์สร้างมาแนะนำไว้ในที่นี้เพียง 4 ประเภท แต่ละประเภทจะช่วยเพิ่มพูนประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์แก่เด็ก เด็กๆ จะสามารถใช้รูปแบบที่ง่ายและซับซ้อน ดังนั้นจึงเหมาะกับผู้เล่นที่ฝึกหัดใหม่ที่มีประสบการณ์มาแล้ว

ดัปโพลและเลโก้ (Duplo and Lego)

เป็นบล็อกต่อพลาสติกอย่างดี ที่ใช้ต่อเป็นยานพาหนะ สัตว์ ผู้คน และรางรถไฟ ฯลฯ ซึ่งทั้งสวยงามแข็งแรงและเล่นง่าย

เลโก้ (Lego)

ใช้ในการเล่นก่อสร้าง รถยนต์ สัตว์ สัตว์ประหวาด และคน โมเดลทุกโมเดลสัมพันธ์กับขนาดและรูปทรงของอิฐที่จะใช้เล่นก่อสร้าง และเชื่อมต่อกันได้ดีที่สุด เมื่อเด็กเริ่มมีความมั่นใจในการสร้างสิ่งที่ตนคิดมากขึ้น พวกเขาจะเริ่มคิดใช้สีต่างๆ และการสร้างสรรค์ลวดลายต่างๆ ให้ได้สัดส่วนมากยิ่งขึ้น

ต่อเมื่อเด็กอายุเลย 5 ปี เขาพร้อมที่จะสร้างรูปแบบต่างๆ ตามที่เขาคิดและต้องการรวมทั้งดัดแปลงไปเป็นรูปต่างๆ ได้

ลูกเต๋าเชื่อมติด

เป็นชุดพลาสติกลูกเต๋าที่มี 10 สี เชื่อมติดกันได้ เด็กๆ จะได้ประโยชน์ในการเรียนรู้เรื่องจำนวน ลูกเต๋านี้จะเชื่อมต่อติดกันได้ทั้ง 6 ด้าน จึงต่อเป็นรูปสัตว์ต่างๆ ฯลฯ ได้ โดยที่ทุกส่วนจะสามารถเคลื่อนไหวได้

บริโอ-มี (Brio-Mee)

ชุดบริโอ เป็นของเล่นเกี่ยวกับงานช่าง มีทั้งฆ้อน คีม และไขควง ใช้สำหรับซ่อมแซมของเล่นต่างๆ ที่สามารถถอดเป็นชิ้นๆ ได้ ถึงแม้ว่าในระยะแรกๆ เด็กส่วนใหญ่จะไม่ชอบเครื่องมือและชอบใช้เพียงนิ้วมือ แต่เขาก็ค่อยๆ เรียนรู้และเคยชินในที่สุด

เมื่อเด็กๆ เอาชิ้นส่วนมาเชื่อมติดต่อกันจะทำให้ชิ้นส่วนต่างๆ เคลื่อนไหวได้อย่างน่าสนใจ นอกจากนี้เด็กๆ ยังได้เรียนรู้วิธีป้องกันไม่ให้มันเคลื่อนไหวเมื่อไม่ต้องการด้วย

โมบิโล (Mobilo)

โมบิลทำจากพลาสติกที่เรียบและทนทาน สีสวยงาม ทำความสะอาดง่าย และแข็งแรงของเล่นชนิดนี้จะมีตัวเชื่อมที่จะสามารถหมุนหรืองอบางส่วนของสิ่งที่ต่อเข้าด้วยกันได้ ของเล่นโมบิโลจะเป็นฐานที่ดีในการทำงานในเรื่องมุมต่อไป

ส่วนประกอบที่สำคัญจะทำจากโครงสร้างรูปสามเหลี่ยม เมื่อสร้างเสร็จ คุณจะสามารถมองเห็นสิ่งที่อยู่ภายในได้ซึ่งจะทำให้น่าสนใจมากขึ้น

ลองสร้างเครื่องจักรตัวรถดับเพลิงที่มีบันไดหมุนไปมา และพับเก็บได้ เป็นของเล่นที่ช่วยเรื่องการเรียนรู้คณิตศาสตร์และจินตนาการได้อย่างดี หรือสร้างสัตว์ประหลาดที่มีแขนและขางอกได้ ซึ่งจะทำให้ดูเหมือนก้อนหินเมื่อถูกพับเก็บ

ถนนและรางรถไฟ

การสร้างถนนและรางรถไฟเป็นการเล่นที่ช่วยส่งเสริมเริ่งรูปทรงและพื้นที่ได้เป็นอย่างดีและจะดูน่าสนใจยิ่งขึ้นถ้ามีทางตรงและทางโค้ง และมีพื้นที่รอบๆ ด้วย เส้นทางที่ครบวงจรสำหรับรถยนต์หรือรถไฟไม่จำเป็นต้องเป็นระเบียบแบบแผนเสมอไป โดยเฉพาะเมื่อมีทางรถไฟสั้นๆ ก็เช่นเดียวกับที่มันไม่จำเป็นต้องเหมือนชีวิตจริง เพราะการเดินทางจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่งจะไม่เป็นวงกลมเสมอไป ในวงแหวนอาจสร้างภูเขา สถานีรถ บ้านและเมืองที่สมบูรณ์ โดยเฉพาะมีจุดเริ่มต้นและจุดหมายปลายทาง

เรียนรู้จากลวดลาย

มองหา “ลาย” ชวนลูกสังเกตลวดลายต่างๆ ที่พบ ไม่ว่าคุณจะเดินทางไปที่ไหน ที่บ้าน ห้องน้ำ บนถนน โรงหนังโรงละคร คุณจะพบลายง่ายๆ ในกระเบื้อง บนทางเท้า กำแพงอิฐ ทางรถไฟ กระดาษปิดฝาผนัง ม่าน และพรมบางชนิด กระดาษห่อของที่มีลายซ้ำๆ กัน คุณอาจจะเลือกเด่นๆ มาให้เด็กดูแล้วชอบให้หาว่ามีลายที่เหมือนกันที่ใดบ้าง

มองที่วัตถุจากเงาสะท้อนในกระจกเงา ในน้ำ หรือบนพื้นมันๆ คุณจะสามารถเห็นทั้งส่วนหน้าและส่วนหลังโดยไม่ต้องหมุนไปรอบๆ เลย สำหรับเด็กอายุ 5 ปีขึ้นไปให้ทดลองต่อโมเดล (จากเลโก้ เป็นต้น) ที่มีส่วนหน้าเหมือนกับส่วนหลังทุกประการ

ลายที่มีอยู่ธรรมชาติก็มีความสำคัญเช่นกัน ลองดูมะเขือเทศ แอบเปิ้ล และหัวหอม เมื่อคุณผ่าครึ่งจากส่วนบนลงส่วนล่างโดยเปรียบเทียบกับการผ่าจากด้านข้างแต่ละด้าน ตรวจสอบมีอะไรที่เหมือนกันและที่ต่างกันบ้าง

การพิมพ์

สร้างลวดลายของตนเองหรือรูปภาพสำหรับพิมพ์จากผักหรือวัสดุเล็กๆ อื่นๆ ครั้งแรกให้ทดลองหับผักก่อน โดยผ่ามันฝรั่งหัวเล็กๆ แบ่งครึ่ง แล้วใช้มีดคมๆ ผ่าเป็นรูปทรงอื่นๆ

ผสมสีฝุ่นลงในขงดโหล (ผสมให้ข้นพอสมควร) หรือใช้สีผสมสำเร็จรูป ทดลองครั้งละเพียง 1 สี ในตอนแรกเพื่อให้รู้จักรูปพรรณหลากหลาย ต่อมาจึงค่อยเริ่มสีอื่นๆ อีก 2-3 สี ในตอนแรกเพื่อให้รู้จักรูปทรงหลากหลาย ต่อมาจึงค่อยเริ่มสีอื่นๆ อีก 2-3 สี

กระดาษใช้พิมพ์ รวมทั้งประเภทของกระดาษที่ใช้ด้วย สำหรับเด็กเล็ก แล้วกระดาษที่ซึมง่าย และกระดาษสีน้ำตาลจะมีความเหมาะสมกว่าประเภทอื่นๆ ควรใช้กระดาษหนังสือพิมพ์แผ่นโตๆ รองพื้นไว้ด้วยเพื่อช่วยไม่ให้สกปรกเลอะเทอะ

ใช้พู่กันระบายสีบนชิ้นส่วนรูปทรงที่ต้องการพิมพ์แล้วกดลงแบบพิมพ์นี้ลงบนกระดาษให้แน่น

การทำเช่นนี้ดีกว่าจุ่มชิ้นส่วนในจานสีเพราะสีจะกระจายได้ดีกว่า ทั้งมันยังช่วยให้ลูกของคุณมีโอกาศมองดูรูปทรงได้นานขึ้น ขณะที่ใช้พู่กันระบายสีให้ทั่ว

คุณอาจหาวัสดุต่างๆ ที่คิดว่าเวลาพิมพ์แล้วจะเห็นลวดลายที่ชัดเจนมาให้เด็กๆ ทดลองทำดูด้วย จะหยุดและเรียกความสนใจมากทีเดียว

การทำบล็อกแม่พิมพ์

เราสามารถทำพิมพ์บล็อกง่ายๆ ขึ้นได้เอง โดยการตัดฟองน้ำหนาๆ จุดไม้ค๊อก พรม รองพื้น หรือสำลี และทากาวชิ้นส่วนเหล่านี้เข้ากับไม้กระดานเล็กๆ หรือกระดาษแข็งมากๆ ใช้กาวทาที่กันน้ำได้ เช่น กาวตารช้าง รอให้แห้งสนิทมากๆ ก่อนใช้ หลังจากใช้บล็อกเหล่านี้แล้วควรล้างบล็อกพิมพ์เหล่านี้ทุกครั้ง แล้วทิ้งไว้ให้แห้งก่อนที่จะนำมาใช้ครั้งต่อไป

กล่องต่างๆ

กล่องกระดาษแข็ง เช่น กล่องใช้เครื่องไฟฟ้า กล่องเครื่องซักผ้าที่ไม่ได้ใช้แล้วจะกลายเป็นบ้านหลังโปรดของลูกๆ ได้ระยะหนึ่ง ชักชวนให้ลูกคุณวาดรูปหน้าต่างด้วยปากกาเส้นใหญ่ๆ เห็นชัดเจนที่ฝากล่องด้านหนึ่ง แล้วเจาะช่องหน้าต่างด้วยมีดคมๆ จัดหาหมอนและผ้าห่มผืนเล็กๆ เพื่อให้บ้านจำลองเหมือนจริง และน่าอยู่ยิ่งขึ้น หรือทำเครื่องเรือนจากกระดาษแข็ง ตกแต่งด้านนอกถ้าคุณต้องการ

วิธีการสร้างเต้นท์มีหลายวิธีด้วยกัน คุณเองก็อาจจะมีสิธีที่คุณชอบอยู่ ในที่นี้จะขอแนะนำวิธีสร้างเต้นท์ 2 วิธี ดังนี้

1. เต้นท์โต๊ะ ใช้ผ้าห่ม ผ้าปูที่นอน หรือผ้าปูโต๊ะ คลุมให้ทับโต๊ะที่ต้องการ ใช้เข็มหมุดหรือเข็มกลัดซ่อนปลายตึงหัวมุมให้แน่น

การทำอาหาร ทำแคมป์หรือเตาบาบีคิว โดยใช้ตะแกรงต่างๆ วางบนอิฐก้อนเล็กๆ 2 ก้อน หรือใช้กล่องรองเท้าเล็กๆ หรือกล่องกระดาษทิชชูมาวางแทนก็ได้ ค่ายพักแรมก็ควรให้เด็กยืมใช้ได้

2. เต้นท์เก้าอี้ ผูกเชือก 2 เส้นไว้ระหว่างเครื่องเรือนหนักๆ 2 ชิ้น แต่ควรมีระดับความสูงเท่ากัน เช่น อาจใช้เก้าอี้โต๊ะอาหาร 2 ตัว แล้วพาดผ้าปูที่นอนคลุมเชือกที่ขึงไว้ให้อยู่ระหว่างตรงกลาง แล้วติดผ้าให้แน่นด้วยเข็มกลัด จากนั้นใช้เครื่องกระป๋องหนักทักชายผ้าไว้ไม่ให้ปลิว

 5. การนับจำนวนเพิ่ม

เราทราบกันแล้วว่าเด็กเรียนรู้การนับจำนวนได้อย่างไร และพวกเขาจะค่อยๆ เพิ่มความมั่นใจ และความคุ้นเคยกับจำนวนที่เพิ่มอย่างไร ขอย้ำว่าการเรียนรู้การนับของเด็กๆ ใช้เวลานานกว่าที่ผู้ใหญ่จะคาดคิด และประสบการณ์นับของจริงสำหรับเด็กนั้นมีความสำคัญที่สุด

ในบทนี้จะเน้นเกี่ยวกับการลงมือปฏิบัติเรื่องจำนวน เราสามารถช่วยลูกให้เรียนรู้จำนวนทั้งจำนวนมาก และน้อย คือการบวก ลบ คูณ และการหาร ในขั้นต้น ซึ่งเป็นหัวใจคณิตศาสตร์ได้อย่างไร

การบวก

เด็กๆ เรียนรู้การบวกได้อย่างไร เช่นเดียวกับการนับ มันเป็นกระบวนการที่ซับซ้อนมากกว่าที่คุณจะคาดคิด และเด็กแต่ละคนก็มีวิธีการเรียนรู้ต่างๆกันไป

ดิฉันได้ลองถามโจทย์เกี่ยวกับการบวกเลขกับเด็ก 5 คน เด็กแต่ละคนจะมี “ส่วนที่ว่างเปล่า” และส่วนซึ่งบรรจุแมลงเต่าทองไว้เต็มพื้นที่อย่างถูกต้อง และดิฉันรู้ดีว่าพวกเขาแต่ละคนสามารถนับได้ถึง 6 อย่างถูกต้อง คุณเองก็น่าจะลองเกมนี้กับเด็ก 2-3 คน เพื่อดูว่าพวกเขาสามารถทำได้ถึงขั้นใด

ดิฉันได้ทดลองเล่นเกมนี้กับเด็กๆ 6 คน ที่มีสัยตั้งแต่ 4 ขวบขึ้นไป โดยพูดกับเด็กทีละคนว่า

“ในสวนของฉันมีเต่าทอง 2 ตัว เกาะอยู่ที่กำแพง และ 4 ตัวอยู่บนสนามหญ้า ในสวนของฉันมีเต่าทองรวมทั้งหมดกี่ตัว”

เด็กวัย 4 ขวบ แสดงการนับโดยเริ่มจาก วางรูปเต่าทอง 2 ตัวไว้บนกำแพงและอีก 4 ตัวบนสนามหญ้า แล้วนับจำนวนทั้งหมดโดยเริ่มจากตัวแรก “1-2-3-4-5-6” สุดท้ายเขาจะตอบว่า “มีเต่าทอง 6 ตัว”

เด็กวัย 5 ขวบ เริ่มโดยวางเต่าทอง 2 ตัวบนกำแพง และอีก 4 ตัวบนสนามหญ้าแล้วนับจากตัวแรก “2-3-4-5-6” “มี 6 ตัว”

เด็กหญิงอายุ 5 ขวบ วางเต่าทอง 2 ตัวบนกำแพง และอีก 4 ตัวบนสนามหญ้า แล้วก็นับจากสนามหญ้าที่มีแมลงเต่าทองอยู่ 4 ตัว โดยเริ่มนับจาก 4 แล้วต่อด้วย 5-6 “มี 6 ตัว”

สำหรับเด็กอายุ 6 ขวบ ไม่สนใจที่จะนับเต่าทองใดๆ เธอใช้นิ้วมือแทน เธอรู้จากประสบการณ์ของเธอว่า เธอสามารถนับ 2 และ 4 รวมกันแล้วจะได้ผลลัพท์จำนวนเท่ากับคือ “2 และ 4 รวมกันเป็น 6 มีเต่าทอง 6 ตัว”

เด็กอายุ 6 ขวบอีกผู้หนึ่ง สามารถให้คำตอบได้ทันที เพราะเขาเคยนับจำนวน 2 และ 4 มาแล้ว จนเขารู้ว่าคำตอบเป็น 6 โดยไม่ต้องนับอีกแล้ว ถ้าดิฉันซักถามด้วยคำถามที่ยากมากขึ้น เขาอาจจะต้องใช้สิธีการนัยหาคำตอบก็ได้

ผู้ใหญ่ไม่ควรเร่งรัดเด็กเมื่อเขาเรียนรู้ การนับไม่ว่าจะเป็นเรื่องการบวก หรือลบก็ตาม ควรปล่อยให้เด็กๆ สร้างความคุ้นเคยกับตัวเลขและจำนวนต่างๆ ด้วยตนเอง

เกมการบวก

ถ้าคุณได้ทำเต่าทอง สัตว์ประหลาดในอ่างน้ำ หรืองูในป่าใหญ่ ไว้แล้ว คุณก็สามารถจะนำมันมาใช้เพื่อให้เด็กเรียนรู้เรื่องการบวกได้ โดยนำเอาตัวสัตว์มาวางกันแล้วให้เด็กนับ

ต่อไปนี้เป็นเกมอื่นๆ เพิ่มเติมสำหรับสอนเรื่องการบวกและการลบ

เกมสัตว์ประหลาดในชุดแฟนซี

เตรียม

- กระดาษแข็ง 4 แผ่น

- กระดุม 40 เม็ด ที่สามารถจัดกลุ่มง่ายๆ เป็น 2 ประเภท เช่น เม็ดใหญ่ 20 เม็ด เม็ดเล็ก 20 เม็ด หรือเม็ดสีแดง 20 และสีอื่นๆ 20 เป็นต้น

- ปากกาเมจิกหรือสีเทียน

- กล่องเก็บของ

* วาดภาพสัตว์ประหลาดใส่เสื้อผ้าแบบต่างๆ

* เด็กๆ นับจำนวนสัตว์ประหลาดซิค่ะ ดูว่ามันมีกระดุมกี่เม็ด ตัวที่ 1 ตัวที่ 2 มีกระดุมรวมกันกี่เม็ด

เริ่มสอนจากจำนวนน้อยๆ แล้วค่อยๆ เพิ่มจะไม่ทำให้เด็กสับสนยุ่งยากและหมดสนุก

ในการสอนเรื่องการบวกลบจำนวน ควรหลีกเลี่ยงคำถามที่มีตัวเลขที่ยากเกินกว่าลูกของคุณจะนับได้อย่างมีความสุขและไม่สับสน

การเริ่มต้นพยายามใช้จำนวนน้อยๆ แล้วจึงค่อยๆ เพิ่มจำนวนเมื่อลูกมีความชำนาญมากขึ้น

ทั้งหมดมีเท่าใด

เริ่มต้นเกมนี้ด้วยนิทาน เช่น “มีสัตว์ประหลาดตัวหนึ่ง มันชอบสวมเสื้อที่มีกระดุม มันไม่สนใจเลยว่า กระดุมที่ติดจะเหมือนกันทุกเม็ดหรือเปล่า เจ้าสัตว์ประหลาดตัวสีฟ้าเย็บกระดุมจำนวนหนึ่งเข้ากับเสื้อของมัน มันใช้กระดุมใหญ่ 2 เม็ด และกระดุมเล็ก 1 เม็ด รวมหมด แล้วถามลูกว่ามันเย็บกระดุมทั้งหมดกี่เม็ด

เมื่อจบคำถามให้เด็กนับจำนวนกระดุมดังๆ โดยวางกระดุมที่งหมดลงบนแผ่นภาพการ์ตูน และนับจำนวนรวมแล้วหมุนเวียนผลัดกันเล่านิทานหรือเรื่องจากทำนองเดียวกัน

การทำซ้ำและความหลากหลาย

ให้ลูกของคุณฝึกหัดกับผลบวกแต่ละจำนวนซ้ำๆ กัน โดยใช้เวลา 1 สัปดาห์ทดลองผลบวกแต่ละจำนวนกับสิ่งของต่างๆ ที่แตกต่างกันไป เพื่อให้เด็กๆ มองเห็นและเข้าใจว่า ของที่มีจำนวนเท่ากัน ไม่ว่าจะเปลี่ยนแปลงรูปทรงอย่างไรก็ยังมีจำนวนเท่ากัน เช่น งูผอม 1 ตัว บวกงูผอม 2 ตัว เท่ากับงูผอม 3 ตัว เช่นเดียวกันงูอ้วน 1 ตัว บวกงูอ้วน 2 ตัว จะได้งูอ้วน 3 ตัว เด็กจะตระหนักถึงความจริงว่าไม่ว่าจะนับอะไรก็ตามจะเป็นงูตัวอ้วน งูตัวผอม เต่าทองบนกำแพง และบนสนามหญ้า ฟองน้ำสีฟ้าและฟองน้ำสีเหลือง รถสีเขียวหรือรถสีแดง ฯลฯ สิ่งเหล่านี้จะไม่เปลี่ยนไปตามลักษณะหรือรูปทรง

ข้อเท็จจริงของคณิตศาสตร์

“หนึ่งบวกสองเท่ากับสาม” เป็นข้อเท็จจริงทางคณิตศาสตร์ กล่าวคือ เป็นข้อความของความจริงในการใช้จำนวน คนบางคนเรียกว่า Number Bonds ซึ่งมีความหมายเช่นเดียวกัน

“สูตรคูณ” ก็ถือเป็นข้อเทจจริงทางคณิตศาสตร์ที่เด็กๆ จำเป็นต้องเรียนรู้เหมือนกับที่พ่อแม่เคยเรียนและท่องแต่ไม่ว่าจะเป็นเรื่องบวก ลบ คูณ หาร สำหรับคณิตศาสตร์แล้ว พื้นฐานการบวกมาก่อนเป็นอันดับแรก

มีสิ่งต้องเรียนรู้มากมาย

เพื่อให้คุณเข้าใจได้ง่ายขึ้นว่า การจะเรียนรู้เรื่องการบวกซึ่งเป็นพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ต้องเรียนรู้สิ่งต่างๆ มากมายเพียงใด และจะขอนำตารางพื้นฐานการบวกมาแสดงเพื่อให้เกิดความเข้าใจมากขึ้น

(อย่าพยายามเขียนสิ่งเหล่านี้ให้ลูกคุณเห็นก่อนที่เขาจะเข้าใจอย่างท่องแท้เพราะมันไม่มีประโยชน์สำหรับเด็กๆ)

0 + 0 = 0          1 + 0 = 1            2 + 0 = 2

0 + 1 = 1           1 + 1 = 2            2 + 1 = 3

0 + 2 = 2           1 + 2 = 3            2 + 2 = 4

0 + 3 = 3           1 + 3 = 4            2 + 3 = 5

0 + 4 = 4           1 + 4 = 5              2 + 4 = 6

จากตารางพื้นฐานการบวกจะเห็นว่า ถ้าจะเขียนตารางให้เต็มถึงจำนวน 10 ทั้งแนวตั้งและแนวนอนแล้วจะมีข้อเท็จจริงทางคณิตศาสตร์ทั้งหมด 121 ข้อ ซึ่งคุณไม่จำเป็นต้องรีบร้อนที่จะสอนเด็กทั้งหมด การบวกเช่นนี้ควรสอนอย่างค่อยไป สอนทีละน้อยๆ และสอนให้สนุกสนานด้วยการเรียนที่ลงมือปฏิบัติจากการนับจำนวนของจริงๆ กลุ่มจำนวนเลข(NumberFamilies)กลุ่มจำนวนเลขคือข้อเท็จจริงทางคณิตศาสตร์ต่างๆ ที่ให้ผลลัพธ์เดียวกัน

แบบฝึกหัดเกี่ยวกับข้อเท็จจริงทางคณิตศาสตร์ควรฝึกหัดขอ้เท็จจริงทางคณิตศาสตร์กับสิ่งต่างๆ ที่เด็กคุ้นเคยและน่าสนใจ ต่อไปนี้คือคำแนะนำบางประการ

หมี 3 ตัวเล่นบทบาทสมมุตินิทานเรื่องหมี 3 ตัว เป็นฉากชีวิตประจำวันในบ้านของหมี 3 ตัว เตรียมตุ๊กตาหมี 3 ตัว ช้อน 3 คัน ถ้วยน้ำ 3 ใบ ผ้าห่มเล็ก 3 ผืน (ใช้ผ้าเช็ดมือแทนก็ได้) เริ่มเล่านิทานโดยให้มีแบบฝึกหัดนับจำนวนมากๆ

มีหมี 3 ตัว นอนหลับอยู่บนเตียง ทุกตัวยังหลับสนิท แล้วแม่หมีก็ตื่นและลุกขึ้นจากเตียง

* ตอนนี้มีหมียังนอนหลับอยู่กี่ตัว

* หมีตื่นแล้วกี่ตัว

มีหมีกันทั้งหมด 3 ตัว

คุณอาจเล่นต่อไปโดยกำหนดเป็นเหตุการณ์อื่นๆ ก็ได้ เช่น หมีกำลังจะกินข้าวโอ๊ต และออกไปเดินเล่น คุณต้องแน่ใจว่าได้ย้ำในเรื่องผลรวมของการบวก เช่น ไม่มีหมีเลยและหมี 3 ตัว หมี 1 ตัว และหมี 2 ตัว หมี 2 ตัว และหมี 1 ตัว หรือไม่มีหมีเลยสักตัว

การจอดรถ ใช้บล็อก อิฐ ฯลฯ มาจำลองเป็นที่จอดพักรถยนต์เล็กสำหรับเด็กเล่น มีรถยนต์ของเล่นคันเล็กๆ 4 คัน

ชวนลูกสนทนาต่อไปนี้

* มีรถยนต์จอดอยู่ในโรงเรียนกี่คัน

* มีรถยนต์วิ่งไปรอบๆ กี่คัน

มีรถยนต์ทั้งหมด 4 คัน

ไปนั่งรถด้วยกันใช้ตุ๊กจาจำลองเล็กๆ กับรถประจำทางหรือรถบรรทุก มาสนทนาอาจเป็น

* มีคนนั่งอยู่บนรถเมล์เล็กกี่คน

* มีคนรอขึ้นรถกี่คน

มีคนรวมกันทั้งหมด 5 คน

เล่นโบว์ลิ่งกันดีกว่า ปาลูกโบว์ลิ่งกันดีกว่า

ใช้เป้าที่เป็นไม้หรือพลาสติก หรืออาจใช้ขวดพลาสติก 6 ใบ แต่ละอย่างต้องใส่ทรายไว้เล็กน้อยแล้วปนด้วยลูกบอล ถุงถั่ว หรือถุงทราย เพื่อให้ถูกขวดเหล่านี้ล้มลง ชวนลูกสนทนาดังนี้

* หนูปาขวดล้มลงกี่ใบ

* มีขวดรวมกันทั้งหมดกี่ใบ

จัดเรียงเป้าให้แปลกๆ ไม่ซ้ำกันเพื่อฝึกการรวมที่มีผลลัพท์เป็น 6

แมงมุมเปลี่ยนบ้าน

ประดิษฐ์ตัวแมงมุม จากนั้นวาดหรือระบายสีบ้านแมงมุมบนแผ่นกระดาษโดยให้บ้านทั้งสองอยู่ทะแยงมุมกัน อาจจะมีสีต่างกัน แมงมุมทั้ง 7 ตัวจะได้ไปมาระหว่างบ้านสองบ้าน ทอยลูกเต๋าเพื่อตัดสินว่าในแต่ละครั้งจะมีแมงมุมกี่ตัวที่ต้องเปลี่ยนบ้าน

คำแนะนำ

นับแมงมุมในแต่ละบ้านบ่อยๆ ชวนสนทนาว่า

* ลูกนับแมงมุมที่อยู่บ้านเดียวกันได้กี่ตัว

* ลูกจะวางแมงมุม 6 ตัวไว้ในบ้าน แมงมุมสีม่วงได้ไหมแล้วอีกตัวที่เหลือวางไว้ในบ้านแมงมุมสีเหลืองได้ไหม

* ถ้ามีแมงมุม 4 ตัว อยู่ในบ้านสีม่วง บ้านสีเหลืองจะมีแมงมุมกี่ตัว ตั้งคำถามเช่นนี้ไปเรื่อยๆ

ลำดับไม่สำคัญ

เมื่อฝึกลูกไประยะหนึ่ง ลูกของคุณจะค้นพบสิ่งที่มีความสำคัญและเป็นประโยชน์จากการบวก เขาจะสังเกตได้ว่า ในการนับจำนวน 2 จำนวน ไม่ว่าจะนับจำนวนใดก่อนหรือหลังไม่มีความสำคัญ เพราะถึงอย่างไรก็ได้ผลลัพท์เท่ากัน เช่น 4 + 3 ให้ผลลัพท์ 7 เช่นเดียวกับ 3 + 4 คุณอาจหาเกมที่เน้นถึงสิ่งเหล่านี้เพื่อให้ถูกเข้าใจมากขึ้น

“วันหนึ่งมีงูเลื้อยไปในป่า อีกวันหนึ่งมีงูอีก 3 ตัวแอบเข้ามา มีงูในป่ารวมทั้งหมดกี่ตัว” หรือ “มีงู 3 ตัว แอบเข้ามาก่อน วันรุ่งขึ้นมีเพิ่มอีก 4 ตัว มีงูรวมทั้งหมดกี่ตัว”

การแต่งนิทาน

เป็นเรื่องราวเช่นนี้เพิ่มเติมจะทำให้ลูกๆ ของคุณมั่นใจว่าจะเอาจำนวนใดขึ้นมาบวกก่อนก็จะได้ผลลัพท์เท่ากัน

จินตนาการ

ขณะที่เด็กเริ่มมีความคุ้นเคยและมั่นใจกับจำนวนมากขึ้น พวกเขาจะเริ่มจินตนาการ จำนวนกับสิ่งของได้ และสามารถคิดหาคำตอบง่ายๆ ในใจได้โดยไม่ต้องมองหรือยับสิ่งของจริงๆ แม้จะดูเหมือนว่าเด็กได้พัฒนาขึ้นมากกว่าเดิมมาก คุณก็ยังคงต้องสนับสนุนลูกด้วยการส่งเสริมการนับของจริง โดยเฉพาะเมื่อเด็กๆ กำลังหาคำตอบที่ให้ผลลัพท์จำนวนมากขึ้น

การลบ

 เช่นเดียวกับการบวก เด็กจำเป็นต้องมีหระสบการณ์กับของจริงก่อนในการเรียนลบ ควรใช้นิทานง่ายๆ เป็นสถานการณ์เล่นเดียวกับที่ใช้ในการสอนบวก

“ครั้งหนึ่ง มีหมีที่หิวมาก 1 ตัว พอดีมันเดินมาพบแอปเปิ้ลใส่ชาม 3 ผล ด้วยความหิวมันจึงกินแอปเปิ้ลไป 2 ผล มีแอปเปิ้ลเหลืออยู่ในชามกี่ผล”

ในการฝึกหัดคิดหาคำตอบในการนับ ใช้ตุ๊กตาหมีและแอปเปิ้ลของจริง จะให้น่าสนใจยิ่งขึ้น ผู้สอนควรแต่งนิทานเป็นเรื่องราวจะช่วยลูกเข้าใจยิ่งขึ้น เช่น อาจใช้เหตุการณ์ในระหว่างรับประทานอาหาร หรือ ใช้เกมนับจำนวนที่มีอยู่แล้ว เช่น

“สัตว์ประหลาดมีฟองน้ำ 6 ก้อนในอ่าง แต่แล้วทำหายไป 3 ก้อน มีฟองน้ำเหลืออยู่กี่ก้อน”

กลุ่มข้อเท็จจริงอีกครั้ง เด็กที่รู้จักกลุ่มข้อเท็จจริง จะพบว่าการลบก็เป็นเรื่องง่าย เราควรแต่งนิทานเกี่ยวกับการลบเช่นนี้เพิ่มเติม น มีผู้โดยสารนั่งรถเมล์เล็ก 5 คน 2 คน ลงจากรถไปดื่มชา จะมีผู้โดยสารเหลือกี่คน

การแต่งนิทานที่มีตัวเลขกลับไปกลับมาเช่นนี้ จะทำให้เด็กตระหนักและเข้าใจในกลุ่มข้อเท็จจริงมากขึ้น โดยทั่วไป เด็กๆ จะคุ้นเคยกับการหาผลลัพท์ได้เร็วขึ้น ถ้าเป็นเรื่องเกี่ยวกับการกิน

การลบออกทีละหนึ่ง การนับถอยหลังจะมีประโยชน์มากในกรณีที่มีการลบออกทีละ 1 จำนวน

แต่การนับถอยหลังไม่ใช่วิธีปกติที่พวกเราหลายคนเลือกที่จะแก้ปัญหาการหักออก บ่อยครั้งที่เราใช้วิธีนับจำนวนต่อจากจำนวนที่เราจะหักออก เพื่อดูว่าเราต้องเพิ่มอีกกี่จำนวนถึงจะถึงจำนวนที่เราทั้งหมด พนักงานขายของตามร้านค้าส่วนใหญ่ ใช้วิธีการนี้ในการทอนเศษสตางค์ เช่น ซื้อจำนวน 30 ลูกค้าให้เงินเป็นแบงค์ราคา 100 บาท เจ้าของร้านจะใช้วิธีการทอนด้วยการนับต่อจาก 30.00 บาท ไปจนครบ 100 บาท จะได้เท่ากับ 70.00 บาท เช่นกัน

คำถามที่หลากหลาย

ในการตั้งคำถามเกี่ยวกับการลบ คุณควรเปลี่ยนแปลงตั้งคำถามให้หลากหลาย เช่น

- จำนวนอะไรที่น้อยกว่า 8

- ถ้าหักจำนวน 8 ออกเสีย 1 เหลือจำนวนเท่าใด

- ถ้าเอา 1 หักออกจาก 8 จะเหลือจำนวนใด

- ถ้าแม่แอปเปิ้ล 8 ผล และลูกมี 7 ผล แม่มีแอปเปิ้ลมากกว่าลูกกี่ผล

บางโอกาศอาจทดลองตั้งคำถามด้วยการผสมผสานทั้งการบวกและการลบ โดยให้เวลาลูกในการคิดคำตอบอย่างเพียงพอ และให้เลือกวิธีการคิดค้นคำตอบที่ลูกต้องการด้วยตนเองและแน่นอนในการตั้งคำถามเนื้อเรื่อง หรือมี “เรื่องราวประกอบ”

ในบางโอกาศให้ตั้งคำถามที่ต้องการคำตอบ “ไม่มีเลย” เช่น ติ๊งโหน่งมีมะม่วง 4 ผล ติ๊งโหน่งจะกินมะม่วงทั้ง 4 ผล เมื่อถึงเวลารับประทานข้าวตอนเย็น ติ๊งโหน่งจะเหลือมะม่วงกี่ผล

เกมที่จะแนะนำต่อไปนี้จะช่วยให้เด็กๆ ได้ฝึกหัด “หาจำนวนเลขที่ซ่อนอยู่” ดังตัวอย่าง

ความลับของลูกเกด

เตรียมลูกเกด หรือสิ่งของชิ้นเล็กๆ อื่นๆ ที่ใช้นับได้ง่าย เช่น เม็ดถั่ว ฯลฯ และจาน 1 ใบ

“ลูกนับจำนวนลูกเกดบนจานนี้ 6 เม็ดซิค่ะ แล้วนับจำนวนอีกครั้งเพื่อให้แน่ใจว่ามีครบจำนวน 6 เม็ด หลับตาซิค่ะ ที่นี้แม่จะกินลูกเกด เอ้าลืมตาได้ ลองนับซิแม่กินไปกี่เม็ด

เกมซ่อนหา

เลือกตุ๊กตาหมีตัวโปรด และตุ๊กตาที่จะใช้เล่น นับจำนวนอย่างรอบคอบ และวางตุ๊กตาทุกตัวเป็นแถวบนพื้นริมเตียงในห้องนอน ให้ลูกออกไปนอกห้องสักครู่ไนขณะที่ลูกออกไป ให้คุณหยิบตุ๊กตาจำนวนหนึ่งไปซ่อน ให้ลูกหาดูว่าตุ๊กตาหายไปกี่ตัว จากนั้นเปิดผ้าคลุมหาตุ๊กตาที่นำไปซ่อนแล้วตรวจสอบจำนวนถูกต้อง

แมลงเต่าทองใต้กระถางดอกไม้

มีแมลงเต่าทอง 5 ตัว ในสวน ให้ลูกนับจำนวนเพื่อตรวจสอบความถูกต้อง ซ่อนแมลงเต่าทองใต้กระถางดอกไม้ไว้จำนวนหนึ่ง ปิดตาลูกสักครู่ เมื่อลูกตอบคำถามว่าแมลงเต่าทองหายไปกี่ตัวแล้วให้ลูกของคุณยกกระถางขึ้นเพื่อตรวจสอบคำตอบ จากนั้น หมุนเวียนผลักกันเพื่อเลือกจำนวนเต่าทองที่อยู่ในสวน และจำนวนที่ซ่อนอยู่

การนับจำนวน 10 สิบเป็นจำนวนที่สำคัญมาก เพราะระบบคณิตศาสตร์ที่เราใช้คือเลขฐานสิบสิ่งที่ช่วยฝึกฝนในการนับจำนวนสิบได้เป็นอย่างดีคือการใช้นิ้วมือทั้งสิบ เริ่มต้นโดยการชูนิ้วมือทั้ง 10 ขึ้น ไม่ให้นิ้วไหนงอเลย แล้วเริ่มนับจำนวนโดยงอนิ้วทีละนิ้ว “มีนิ้วชูขึ้นทั้งหมดกี่นิ้ว” “นิ้วงอกี่นิ้ว” (และเพราะว่าการงอนิ้วก้อยค่อนข้างจะทำยากจึงควรเริ่มต้นจากนิ้วหัวแม่มือ) เมื่อครบทั้ง 10 นิ้วแล้ว เปลี่ยนวิธีการนับเป็นนิ้วที่ชูขึ้นครั้งละ 1 นิ้ว

เกมต่อไปนี้จะช่วยเรื่องการนับจำนวน 10 ได้ดียิ่งขึ้น ใช้อุปกรณ์ที่เกี่ยวกับเกมนักสืบ

กระดานหมุด

ใช้กระดานหมุด จำนวน 10X10 ช่อง เพื่อแสดงวิธีการนับจำนวน 10 โดยการนับเป็นแถวทีละหนึ่งแถวในแถวที่ 1 ปักหมุดสีใดสีหนึ่งในช่องซ้ายมือ 1 ตัวแล้วถามเด็กว่า “มีช่องเหลืออยู่จำนวนเท่าใดในแถวนี้” แล้วปักหมุดสีอื่นตามจำนวนที่เหลือในแถวนั้นให้เต็ม

ในแถวที่สอง ปักหมุดสีที่ไม่ซ้ำแถวที่ 1 จำนวน 2 ตัว ถามว่ามีช่องว่างกี่ช่องในแถวนี้ ปักหมุดในแถวนั้นให้เต็ม ด้วยสีที่มีต่างออกไป ทำวิธีต่อไปจนเต็มกระดาน

การใช้จำนวนที่มากกว่า

เมื่อลูกของคุณสามารถนับจำนวนได้ถึง 10 11 หรือ 12 อย่างถูกต้องแล้ว แสดงว่าเขาเรียนรู้เกี่ยวกับการนับได้มากทีเดียว แต่ก็ยังมีสิ่งที่ต้องเรียนรู้อีกมาก แต่การฝึกหัดประสบการณ์ยังคงเป็นเรื่องสำคัญมาก

สำหรับตัวเลขที่มากขึ้น

ควรให้เด็กได้ฝึกการอ่านออกเสียง การจำสัญลักษณ์พร้อมกับการเขียนตัวเลขบนกระดาษ ไม่ควรใจร้อนเร่งรัดเด็กในเรื่องนี้เร็วเกินไป แต่ควรเน้นให้เด็กตั้งใจฟังจำนวนที่ได้ยิน เช่น การพูดจำนวน 11 (สิบเอ็ด) และ 21 (ยี่สิบเอ็ด)

แม้แต่กับเด็กเล็กก็สมควรที่จะพูดถึงเลขจำนวนมากๆ โดยเฉพาะกับเด็กที่มีความสนใจในสิ่งรอบตัว เช่น บ้านเลขที่ของตนเอง 346 (หลักร้อย) ต้องสอนให้เด็กพูดว่าสามร้อยยี่สิบหก ไม่ใช่ สามสี่หก เพื่อให้เด็กคุ้นเคยกับค่าของจำนวนที่ใช้ ชี้ชวนให้เด็กๆ สังเกตหลักร้อยตามหมายเลขรถประจำทาง จำนวนหน้าในหนังสือ และพูดคุยถึงอายุของคนเรา โดยออกเสียงให้ถูกต้องชัดเจน

การนับไม่มีการหยุด

จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกมีความเข้าใจการนับอย่างเป็นเหตุเป็นผลให้ถูกต้องแล้ว ประการสำคัญของเรื่องนี้คือ ลูกของคุณจะตระหนักว่าต้องใช้ไปตลอดชีวิต ซึ่งถ้าลูกทำได้แล้วอย่างนี้ล่ะก็หมายความว่าลูกของคุณจะสนุกกับรูปแบบจำนวนนับและกำลังจะก้าวไปเป็นผู้ที่มีความสามารถในการนับ

การลากเส้นต่อจุด

ลองใช้เกมลากเส้นต่อจุดภาพง่ายๆ สำหรับเด็กเล็กทดลองเล่นหรือจะวาดขึ้นมาเองก็ได้

* ลากเส้นตามแบบ หรือวาดรูปง่ายๆ แล้วทำเป็นจุดดำหนาๆ

* ปิดภาพด้วยกระดาษลวดลายบางๆ คุณจะสามารถมองเห็นจุดต่างๆ ได้ทะลุชัดเจนพอสมควร

* ใช้ปากกาทำเครื่องหมายทับลงไป

* ใส่จำนวนตัวเลขแต่ละจุดอย่างระมัดระวัง

*ให้ลูกลองเล่น ก่อนให้ลูกเล่นควรเช็คตัวเลขและการเรียงลำดับว่าถูกต้องเสียก่อน ควรให้แน่ใจว่าลูกจะสามารถเชื่อมจัดต่างๆ ได้ตามลำดับโดยไม่ใช้จากตัวเลขที่อยู่ถัดไป

กบกระโดด 7 ตัว

ลูกเต๋าเป็นอุปกรณ์สำคัญสำหรับเกมนี้ ถ้าสามารถหาลูกเต๋าที่มีขนาดใหญ่สักหน่อยและมีจำนวนชัดเจนและเหมาะกับเด็กๆ มาก ให้ผู้เล่นแต่ละคนมีโอกาศโยนลูกเต๋า 2 ครั้ง และถ้าจำนวนจุดนับได้เป็น 2-3-4-5 หรือ 6 ที่ได้รวมกัน เช่น ทอยลูกเต๋าครั้งแรกได้ 4 ครั้งที่สองได้ 3 ผู้ทอยต้องกระโดดกบ แต่ถ้ายอดรวมเป็น 8 9 10 11 หรือ 12 หรือมากกว่า 7 ขึ้นไป ผู้เล่นทุกคนยกเว้นผู้ที่ทอยลูกเต๋าจะต้องกระโดดกบด้วยจำนวนเท่าที่เป็นยอดรวมนั้น

เกมยิงลูกดอกที่ปลอดภัย

เกมยิงลูกดอกเป็นเกมที่จะช่วยฝึกหัดในเรื่องการบวกได้เป็นอย่างดี ใช้แป้นยิงลูกดอกและลูกที่ปลายเป็น แบบเทปมีขน ในขณะที่จำนวนเต็มอาจมีมากกว่า 10 คุณจะสามารถทำคะแนนเต็ม 10 ได้ด้วยลูกดอก 1 2 หรือ 3 อัน ทำเช่นนี้ไปเรื่อยสำหรับจำนวนอื่นๆ

การนับทีละ 2

ในกลุ่มเด็กๆ โดยเฉพาะการให้เด็กๆ มีโอกาศขานชื่อด้วย จะสร้างความสนุกสนานให้กับเด็กๆ มากทีเดียว

การนับจำนวน 10

ตัวเลขที่เราใช้ในปัจจุบันคือ 1-2-3-4-5-6-7-8-9 และแสดงจำนวนที่มากกว่า 9 โดยการใช้ตัวเลขเหล่านี้ซ้ำอีกครั้ง โดยใช้พร้อมกับ 0 เมื่อจำเป็น ตำแหน่งที่ตัวเลขแต่ละตัวแทนจะบอกเราให้ว่าค่าของมันคืออะไร

ตัวอย่างเช่น จำนวน 257 หมายถึง 2 คือ สองร้อย 5 คือห้าสิบ และ 7 คือเจ็ด แต่จำนวน 725 เจ็ดจะมีค่า เจ็ดร้อย และจำนวน 572 เจ็ดจะมีค่า เจ็ดสิบ ค่าของจำนวนขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่มันอยู่ และนี่คือสิ่งที่ครูใช้บอกใช้สอนในเรื่องค่าของจำนวน

ในระยะแรก ควรฝึกหัดเด็กๆ โดนเริ่มจากจำนวนที่น้อยกว่าจำนวนมาก โดยให้เด็กๆ ฝึกหัดกิจกรรมต่างๆ ต่อไปนี้ที่มีอุปกรณ์จำนวน 10

ลูกปัดงู

ใช้ลวดหรือเชือก 3 เส้น ร้อยลูกปัด 30 เม็ด บอกให้ลูกร้อยลูกปัดเส้นละ 10 แล้ววางเรียงต่อกัน ให้เด็กนับลูกปัดในแต่ละเส้นเพื่อให้แน่ใจว่า มีจำนวน 10 แล้วนับถึงจำนวน 30 จากนั้นนับใหม่ตั้งแต่ 1-30 เน้นที่จำนวน 10 20 และ 30 เพิ่มจำวนงูได้ถ้าเด็กต้องการนับต่อไป

เหรียญเงิน

รวบรวมเหรียญเงินไว้จำนวนหนึ่ง แล้ววางไว้บนโต๊ะ (ควรปูโต๊ะด้วยผ้าสีอ่อนเพื่อให้เด่น) ให้เด็กเล่นตามใจชอบ อาจจะเล่นนับจำนวน สร้างแบบหรือวางเรียงซ้อนเป็นตั้ง หลังจากนั้นระยะหนึ่ง บอกให้เด็กลองเรียงเหรียญเงินเป็นแถวๆ ละ 10 แล้วนับจำนวนเหรียญทั้งหมด โดยเน้นจำนวนสิบ

: 1-2-3-4-5-6-7-8-9-10

: 11-12-13-14-15-16-17-18-19-20

นับต่อไปจนถึงจำนวน 100 แล้วกลับไปตั้งต้นใหม่ที่แถวที่หนึ่ง แล้วนับลงตามนี้

10-20-30-40-50-60-70-80-90-100 ต่อมากระจายเหรียญที่ตั้งไว้แล้วให้เด็กเรียงเป็นแถวใหม่อีกครั้ง นับทีละหนึ่ง และนับเป็นจำนวน 10 เท่าที่เด็กจะนับได้ ให้คำชมเชยและกำลังใจมากๆ คอยความช่วยเหลือบ้างถ้าจำเป็น

มากกว่าสิบ

การฝึกหัดและแนะนำให้ลูกเรียนรู้การนับจำนวนครั้งละ 10 จะช่วยให้การนับจำนวนมากๆ ไม่ผิดพลาด เช่น

* มัดดินสอมัดละ 10 ด้วยยางยืด แล้ววางกระดุม 10 เม็ดเป็นกองๆ บนโต๊ะ

* เล่นเกมที่ผู้เล่นสามารถให้รางวัลตนเอง 10 คะแนน ถ้าทำคะแนนได้ถึงเป้า หรือล้มโบว์ลิ่งได้ ไม่จำเป็นต้องแข่งขันชนะผู้อื่น เพียงแต่พยายามเอาชนะตนเอง

เกมตัวตลกอ้าปาก

ทำตัวตลกอ้าปากจากกระดาษแข็ง หรือแผ่นกระดาษขนาด 60 x 75 ซม. (2 ฟุต x 2 ฟุต 8 นิ้ว) ใช้มีดคมๆ ตัดตรงกลางกระดาษที่ทำเป็นรูปช่องปากให้มีขนาดครึ่งหนึ่งของหนังสือเล่มนี้วาดรูปหน้าด้วยสีน้ำหรือสีน้ำมัน

วางตัวตลกนี้พิงข้างผนังหรือเก้าอี้ ปาถุงถั่วหรือโยนถุงเท้าใส่ปากมัน แล้วตั้งกติกาสำหรับคะแนนที่ทำได้ในแต่ละครั้ง เช่น ใครสามารถโยนถุงทรายเข้าปากตัวตลกจะได้ 10 คะแนน สามารถเปลี่ยนจำนวนคะแนนที่ได้ตามจำนวนการฝึกหัดขว้าง กำหนดให้คะแนนเป็น 10 ถ้ากำลังหัดนับจำนวน 10 หรือให้คะแนน 2 ถ้ากำลังหัดนับจำนวน 2

การคูณและการหาร

เมื่อเด็กๆ มีโอกาศผ่านประสบการณ์จากการปฏิบัติที่เป็นจริงในการนับ ความรับรู้ และความเข้าใจในเรื่องจำนวนนับจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อย่างค่อยเป็นค่อยไป เป็นการเรียนรู้อย่างเข้าใจมีเหตุผลมีผล มิใช่การท่องจำแบบนกแก้วนกขุนทอง ซึ่งจะทำให้เด็กได้ลืมได้ง่ายๆ

วิธีการเรียนรู้การคูณและการหาร ก็ไม่แตกต่างกับการบวกและการลบ นั่นคือการเรียนนับจากการปฏิบัติที่ดีที่สุด ต่อไปนี้คือตัวอย่างของการใช้การนับด้วยอุปกรณ์

“สัตว์ประหลาดพวกนี้ไม่มีกระดุมเสื้อเลย ต่อมาเจ้าสัตว์ประหลาดสีแดงก็เย็บกระดุม 2 เม็ดบนเสื้อของมัน เมื่อเพื่อนของมันเห็นเข้าก็อยากทำเช่นเดียวกัน จึงติดกระดุมที่เสื้อ 2 เม็ดบ้าง ดังนั้น เมื่อนับกระดุมเสื้อ 2 ตัว ก็รวมเป็น 4 เม็ด เจ้าสัตว์ประหลาดตัวต่อไปมาเห็นเข้า นั่นแน่...เจ้าสัตว์ประหลาดตัวสุดท้ายก็อยากทำแบบเดียวกัน ก็เลยมีกระดุม 2 เม็ด 3 แถว ซึ่งรวมเป็น 6 เม็ด ถ้าอยากมีกระดุมเช่นเดียวกันจึงมีกระดุม 2 เม็ด 4 แถว รวมเป็นทั้งหมด 8 เม็ด “เด็กๆ ดูซิจากไม่มีเลย ตอนนี้กระดุมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จาก 2 เป็น 4 เป็น 6 เป็น 8 ในที่สุด

การฝึกหัดอย่างเป็นระบบเช่นนี้ ควรใช้วัสดุอุปกรณ์ที่เด็กสามารถนับและตรวจจำนวนตามที่คุณบอกได้ และควรใช้คำว่าคูณแทนคำว่ารวมในบางครั้ง บางครั้งคุณอาจแต่งนิทานเป็นเรื่องราวของตุ๊กตาหมีที่ต้องการรถเล่นหรือใช้แมลงเต่าทองบินไปในสวนดอกไม้ หรือเกมงูในป่าให้ฝึกนับทีละ 2 3 4 กับอุปกรณ์หลากชนิด และลองฝึกหัดนับถอยหลังบ้าง เช่น 8 6 4 2 และไม่มีเลย ดังเช่น สัตว์ประหลาดแต่ละตัวไม่มีกระดุมเลย และมีกระดุมเพิ่มทีละ 2 เม็ดเป็นต้น

พยายามอย่าใช้วิธีการที่ซับซ้อนมากเกินไประหว่างการเริ่มต้น ไม่ใช้จำนวนที่มากเกินกว่าเด็กจะนับได้ หรือสร้างความลำบากใจให้เด็กเป็นการดีที่สุด ให้เด็กค่อยๆ เรียนรู้จากจำนวนน้อยๆ แต่มั่นใจ เช่น ติ๊งโหน่งอายุ 6 ปี สามารถนับจำนวนเหล่านี้เป็นลำดับ

0 2 4 6 8 10 12 14 16 18 20

0 3 6 9 12 15

0 4 8 12

0 5 10 15 20 25 30

0 6 12

0 7 14

0 8 16

0 9 18

0 10 20 30 40 50 60 70 80 90 100

เกมโจทย์ปัญหา ตั้งโจทย์ปัญหา ดังตัวอย่างต่อไปนี้

* ในบ้านนี้มีคน 4 คน ทุกคนอยากได้ขนมถ้วยฟู 2 ชิ้น ต้องมีขนมถ้วยฟูทั้งหมดกี่ชิ้น

* สัตว์ประหลาดแต่ละตัวต้องการกระดุม 6 เม็ด แต่แม่มีกระดุมเพียง 18 เม็ด เพราะฉะนั้น จะมีสัตว์ประหลาดที่ได้รับกระดุม 6 เม็ดกี่ตัว

* มีฟองน้ำ 12 ก้อน ให้สัตว์ประหลาด 6 ตัวเอาไป ลองแบ่งดูซิคะว่าจะต้องแบ่งฟองน้ำให้สัตว์ประหลาดตัวละกี่ก้อน จึงจะได้เท่าๆ กัน

เศษส่วน

ในชีวิตจริงแล้ว เราจะเห็นว่า “การแบ่งปัน” เป็นปัญหาที่เราต้องพบอยู่บ่อยๆ สิ่งที่เกิดปัญหาบ่อยมากๆ คือการแบ่งปันและแต่ปัญหาการแบ่งปันนี้สามารถแก้ไขได้โดยการแบ่งส่วนจากจำนวนเต็ม

“เรามีแตงโม 2 ผล สำหรับคน 4 คน ควรแบ่งคนละกี่ผล จึงได้จะเท่ากัน”

อาหารคืออุปกรณ์ที่ในการเรียนเรื่องเศษส่วนได้ดีที่สุด แบ่งผลไม้ หรือขนมเค้ก แซนวิช และสิ่งอื่นๆ เป็นครึ่งส่วน 4 ส่วน (และ 3 ส่วนในบางโอกาศ) เพื่อให้ลูกของคุณเริ่มคุ้นเคยกับความคิดในการแบ่งส่วนเท่าๆกัน

การใช้เครื่องคิดเลข

เมื่อเด็กคิดหาคำตอบสำหรับปัญหา เช่น การบวกหรือการลบ ดังที่เรากล่าวถึงในตอนต้นของบท หรือโจทย์ปัญหาในหน้านี้ เด็กๆ ไม่จำเป็นต้องใช้สัญลักษณ์ + , - , X หรือ = เลย เพราะไม่มีความจำเป็นต้องเขียน และในความเป็นจริงการเขียนสัญลักษณ์เหล่านี้มักก่อให้เกอดความเบื่อหน่ายและหมดสนุกโดยเฉพาะกับเด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี

การใช้เครื่องคิดเลขให้โอกาศเด็กๆ ได้เรียนรู้สนุกสนาน ถ้าลูกของคนสามารถนับจำนวนเกิน 10 ได้แม่นยำแล้ว การใช้สัญลักษณ์ + , - , X ได้อย่างง่ายๆ จากเครื่องคิดเลข

ก่อนจะให้ลูกใช้เครื่องคิดเลข เริ่มแรกคุณควรสอนลูกรู้จักกดปุ่ม เปิด ปิด ยกเลิก และจะกดตัวเลขแสดงอย่างไร จากนั้นจึงให้ลูกทดสอบหาผลลัพท์ ด้วยเครื่องคิดเลข จากการลงมือปฏิบัติกับสิ่งที่เกิดจริงๆ เพื่อให้รู้ว่าเครื่องคิดเลขช่วยตรวจจำนวนนับและการเพิ่มจำนวนได้อย่างไร เมื่อลูกมีอายุมากขึ้น คุณควรส่งเสริมให้ใช้เครื่องคิดเลขมากขึ้น เพราะเป็นเครื่องมือที่มีคุณค่า ไม่เป็นอันตรายต่อการเรียนคณิตศาสตร์แต่อย่างใด

4.เรียนรู้คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน(ต่อ)

3.เรียนนับให้สนุก

 เด็กแม้จะเรียนรู้เรื่องต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วแต่กว่าเด็กจะเรียนรู้เรื่องการนับด้วยความเข้าใจ เด็กต้องใช้เวลานานน่าประหลาดใจ แต่ด้วยความสนใจ เอาใจใส่และเปิดโอกาศให้ลูกได้ฝึกฝนอย่างจริงจัง พ่อแม่สามารถช่วยให้ลูกเรียนรู้เรื่องการนับได้ตั้งแต่ลูกเริ่มหัดพูด – 7 ปี เลยทีเดียว (หรือมากกว่านั้นสำหรับเด็กบางคน)
การนับเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะเป็นพื้นฐานของงานที่ต้องเกี่ยวข้องเกี่ยวกับจำนวน เด็กที่สามารถนับสิ่งของอย่างมั่นใจและแม่นยำ แสดงว่าจุดเริ่มต้นในการเรียนรู้เรื่องจำนวนของเขาค่อนข้างดี เริ่มต้นแล้วอย่างดีในการเรียนรู้เรื่องจำนวน ขณะที่เด็กบางคนไม่สามารถนับได้ จะมีแต่ความสงสัยและสับสน และจะยิ่งสับสนมากขึ้นจนกลายเป็นความวิตกกังวลเมื่อพวกเขาถูกเร่งรัดผลักดันให้เรียนมากเกินไป ทั้งจากครูและพ่อแม่ที่ไม่ยอมรับว่าความสามารถในการนับของเด็กคนนั้นยังอ่อนมาก แต่ทิได้หมายความว่า ควรให้เด็กเลิกหรือยุดเรียนรู้เรื่องการนับไปเลย แต่ควรฝึกฝนต่อไปในระยะขีดความสามารถที่เขายอมรับได้ และเป็นไปอย่างสนุกสนาน

เรียนรู้เรื่องการนับ

รวบรวมสิ่งของเล็กๆ ประมาณ 5-6 ชิ้น (ตัวอย่าง่น รถของเล่น) แล้วบอกให้เด็กอายุ 3-4 ปี นับของเล่นนั้น การทำเช่นนี้จะช่วยให้คุณมองเห็นปัญหาของเด็กได้

มีหลักการสำคัญ 4 ประการในการเรียนรู้การนับของเด็ก 2 ใน 4 ประการนั้น สามารถสังเกตได้ง่ายนั่นคือ

- เด็กๆ จำเป็นต้องเรียนรู้จำนวน “หนึ่ง, สอง, สาม, สี่...”

- เด็กๆ จำเป็นต้องเรียนรู้ส่าเรานับจำนวนหนึ่งจำนวน สำหรับสิ่งของ 1 อย่าง และเวลานับต้องเรียงลำดับจำนวนไม่กระโดดและไม่นับซ้ำอีกด้วย

แต่อีก 2 ประการที่เหลือมักจะถูกลืม กล่าวคือ เรามักจะลืมคิดไปว่า เด็กจะต้องเรียนรู้การตอบคำถาม “เท่าใด” โดยต้องตอบเพียงจำนวนเดียว ตัวอย่างเช่น ต้องตอบ “สาม” ไม่ใช่ “หนึ่ง สอง สาม”

และประการสุดท้าย เด็กต้องเรียนรู้ว่าจำนวนสิ่งของในกลุ่มเดียวกัน มีจำนวนคงที่ไม่ว่าเราจะเริ่มต้นนับจากจุดไหน หรือสิ่งของนั้นวางอยู่ในลักษณะใด

การเรียนนับค่อนข้างเหมือนการเรียนขับรถหรือขี่จักรยานและเป็นทักษะที่ปนะกอบด้วยกลุ่มทักษะที่มีความสัมพันธ์กัน ซึ่งต้องได้รับการพัฒนาเคียงคู่กันแต่ไม่ต้องพร้อมๆ กัน บางครั้งเป็นการดีที่มุ่งพัฒนาทักษะใดทักษะหนึ่งโดยเฉพาะภายในเวลาสั้น โดยที่คุณไม่จำเป็นต้องรอคอยจนกว่าทักษะเหล่านี้จะสมบูรณ์ก่อนที่จะเริ่มพัฒนาอีกทักษะหนึ่ง

เรามาพิจารณากันดูว่ามีกิจกรรมใดที่ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้การนับของเด็ก 4 ประการที่กล่าวมาข้างต้น และว่ากิจกรรมใดที่อาจช่วยคุณและลูกให้เรียนรู้หลักการเหล่านั้นได้บ้าง

1. ชื่อจำนวน

ส่วนมากเรามักจะเริ่มสอนเด็กๆ ให้คุ้นเคยกับจำนวนนับมาตั้งแต่เด็กยังเล็กอยู่ เวลาเราใส่เสื้อให้ลูกจะพูดกับลูกว่า “แขนหนึ่งข้าง, แขนสองข้าง” บางครั้งเราสอนเพลงกล่อมเด็กด้วยบทเพลงที่มีชื่อจำนวนอยู่แล้ว ถ้าคุณเคยเรียนการนับ ความยากลำบากของการเรียนนับ จะอยาในช่วงต้นๆ เพราะเด็กจะต้องคอยจำคำศัพท์ใหม่ๆ เสมอ ตั้งแต่ 1-20 แต่พอถึง 20 แล้ว เด็กๆ จะรู้สึกโล่งอก ที่จำนวนนับต่อจากนี้จะเป็นไปในรูปแบบที่ซ้ำๆกัน

ฉะนั้น ในระยะต้นๆ เราจึงควรสอนเฉพาะจำนวนน้อยๆ โดยเริ่มต้นที่ “หนึ่ง สอง สาม สี่” เท่านั้น

2. ร่างกายของเด็ก

ควรพูดคุยกับเด็กทารกหรือเด็กเล็กในขณะอาบน้ำ , แต่งตัว , หรือกำลังเล่น ด้วยการนับจำนวนอวัยวะ เช่น หนูมี 2 เท้า / มีปาก 1 ปาก / มีหู 2 หู ฯลฯ และยั่วเย้าทำตลกๆ กับเด็กที่เริ่มโตขึ้นพอที่จะรู้ความ ขา 1 ขา / ขา 2 ขา / ขา 3 ขา / (แตะมือขณะที่คุณพูด ขา 3 ขา) เด็กๆ จะหัวเราะชอบใจและจะทักท้วงคุณด้วยว่า “นี่มือแท้ๆ”

3. การนับเป็นจังหวะ

นับดังๆ “หนึ่ง สอง หนึ่ง สอง....” ในขณะที่คุณขยับเท้าขึ้นลง หรือในขณะฝึกกายบริหารให้แข็งแรง “หนึ่ง สอง สาม สี่” “หนึ่ง สอง สาม สี่”

หนึ่ง สอง สาม วิ่ง !

จัดวิ่งแข่งขันจากต้นไม้ต้นหนึ่งไปอีกต้นหนึ่ง หรือวิ่งไปท้ายสวน ผลัดกันเป็นผู้ตะโกนให้เตรียมออกวิ่ง “หนึ่ง สอง สาม วิ่ง”

การเพิ่มจำนวนนับให้สูงขึ้น ต้องค่อยเป็นค่อยไป เพื่อให้เด็กมีความมั่นใจ

การเดินของลูกเสือ

เมื่อคุณต้องการไปที่หนึ่งที่ใดอย่างรวดเร็วโดยไม่มีอาการเหนื่อยหอบ คุณต้องใช้วิธีเดิน 10 ก้าว วิ่ง 10 ก้าว แล้วเดิน 10 ก้าว วิ่ง 10 ก้าว สลับกันไปเช่นนี้ พร้อมทั้งนับดังๆ ไปด้วย ถ้าคุณมีความรู้สึกยังไม่เหนื่อยไปก็เพิ่มจำนวนนับเป็นสิบห้าหรือมากกว่านั้นได้

นิทานและคำคล้องจองจำนวน

นิทานที่เป็นคำคล้องจอง / มีประโยชน์อย่างมากในการเรียนเรื่องจำนวนนับ เช่น

กลอนหนึ่งสอง

หนึ่ง สอง มือตีกลองตะแล็กแทร็กๆ

สามสี่ ดูให้ดี

ห้า หก ส่องกระจก

เจ็ด แปด ถือปืนแฝด

เก้า สิบ กินกล้วยดิบ ปวดท้องร้องโอยๆๆ

จับปู

หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า จับปูม้ามาได้หนึ่งตัว

หก เจ๊ด แปด เก้า สิบ ปูมันหนีบฉันต้องสั่นหัว

กลัว ฉันกลัว ฉันกลัว ปูหนีบฉันที่หัวแม่มือ

ลา ล้า ลา....................

หนังสือนิทานที่เกี่ยวกับจำนวน

 เด็กๆ ก็ชอบมากเช่นกัน มีหนังสือเป็นจำนวนมากที่สอนให้เด็กเรียนรู้เรื่องการนับ คุณพ่อคุณแม่สามารถซื้อและเลือกเล่มที่เหมาะกับลูกได้ง่ายที่เดียว

นับไม่ให้พลาด

เด็กเล็กมีโอกาศนับผิดมากกว่าที่ผู้ใหญ่หลายคนจะคาดคิด แม้แต่กับเด็กอายุ 5 ขวบ ก็ไม่น่าไว้ใจแม้จะเป็นเพียงการนับสิ่งของจำนวนน้อยๆ เพียง 4 หรือ 7 ชิ้น ก็ตาม โดยเฉลี่ยของกลุ่มเด็กอายุ 5 ขวบ มีเด็กไม่ถึงครึ่งที่สามารถนับจำนวนสิ่งของมากกว่า 8 อย่างได้ถูกต้องสม่ำเสมอ

เด็กเล็กมักจะทำผิดบ่อยๆ ในการประสานสัมพันธ์การนับ คือมักจะนับซ้ำ นับข้าม หรือนับของ 2 อย่าง ถือเป็น 10 อย่าง แต่สำหรับเด็กโตและผู้ใหญ่มักจะผิดในการตัดสินใจว่าสิ่งใดนับแล้วสิ่งใดยังไม่ได้นับ

การนับที่ดีที่สุดคือการชี้ไปยังสิ่งที่นับหรือจับแยกของที่นับแล้ว ไม่ควรนับเพียงใช้สายตามอง และไม่ควรชมเชยหากเด็กใช้สายตานับ แม้ว่าจะถูกก็ตาม เพราะเป็นวิธีการนับที่ไม่ต้องทำให้เกิดการผิดพลาดได้ง่าย

“คุณเคยเห็นพนักงานสมุหบัญชีธนาคารใดบ้างไหมสามารถนับเงินได้โดยไม่ต้องจับมันเลย”

หนังสือแบบฝึกหัดการนับจำนวน

หากจะใช้หนังสือแบบฝึกหัดให้ลูกหัดนับ คุณพ่อคุณแม่ควรเลือกซื้อเล่มที่มีความชัดเจน ไม่สร้างความสับสนให้กับเด็ก แต่จะให้เด็กได้มีโอกาศนับสิ่งของจริงๆ จะเป็นประโยชน์และสมมีมากกว่าการเขียนลงในสมุด อย่างไรก็ตามถ้าคุณใช้หนังสือแบบฝึกหัดคุณควรสอนลุกให้ทำเครื่องหมายลงบนภาพแต่ละภาพที่เขาได้นับแล้ว เพื่อให้แน่ใจว่านับซ้ำ และต้องเลือกใช้เฉพาะหนังสือแบบฝึกหัดที่มีรูปภาพประกอบที่ชัดเจนมากๆ

คุณควรให้โอกาศลูกของคุณได้ฝึกหัดการนับของจริงที่เคลื่อนที่ได้อย่างเพียงพอ และพูดคุยกับเขาว่ามีโอกาศผิดพลาดเพียงใดหากนับทุกสิ่งทุกอย่างเพียงครั้งเดียว ตัวอย่างข้างล่างนี้จะทำให้เราเห็นภาพอย่างชัดเจน

ให้อาหารเป็ด

ลูกลองนับซิจ๊ะเป็ดกี่ตัวเดินมากินอาหาร คุยกับลูกว่า การนับจำนวนเป็นสิ่งยากเพราะมันเดินไปเดินมาได้ ซึ่งทำให้ลูกไม่สามารถจะบอกได้ว่าเรานับเป็ดตัวไหนไปแล้วบ้าง

ช่วยลูกเรียนรู้เรื่องการนับ

วิธีการเรามักใช้ในชีวิตประจำวัน เราจะใช้วิธีการนับที่สั้น กระทัดรัดมาก และแทนที่เราจะใช้คำว่า “ที่หนึ่ง ที่สอง ที่สาม” เราจะใช้จำนวน “หนึ่ง สอง สาม” เพราะว่ามันเร็วกว่ามาก

ผู้ใหญ่โดยปกติจะนับโดยไม่พูดจำนวนที่นับออกมาดังๆ เราจะพูดเพียงจำนวนเลขตัวสุดท้าย เด็กที่มีความมั่นใจมากๆ ในการนับก็จะทำเช่นนี้เช่นกัน

ในระยะแรกๆ คุณอาจสังเกตได้ว่าลูกของคุณนับ “หนึ่ง สอง สาม” ดังๆ แต่จะนับจำนวนสุดท้ายซ้ำ หรือบางทีก็เน้นจำนวนสุดท้าย นี่คือสัญลักษณ์บ่งบอกว่า พวกเขากำลังเรียนรู้กฏตัวเลขแสดงจำนวน คือเขาเรียนรู้ว่า จำนวนสุดท้ายที่เขสนับคือตัวแทนปริมาณของสิ่งนั้น

วิธีการช่วยลูกของคุณในการเรียนรู้กราเรียงลำดับจำนวน

* เน้นจำนวนสุดท้ายในการนับเรียงลำดับ หนึ่ง สอง สาม สี่

* พูดจำนวนสุดท้ายซ้ำอีกครั้ง หนึ่ง สอง สาม สี่ สี่ มีจำนวนรวม สี่

* ตอบเฉพาะคำตอบโดยการนับในใจ มีจำนวนเท่าใด สี่

การอนุรักษ์จำนวน

“การอนุรักษ์จำนวน” คือการอธิบายให้เด็กเห็นว่า แม้รูปทรงของการเรียงลำดับจำนวนจะเปลี่ยน แต่จำนวนของจะไม่เปลี่ยนตามไปด้วย เช่น เอาน้ำ 1 แก้ว เทใส่ขวดกับเทใส่จานหรือเทใส่ภาชนะใดก็ตาม จำนวนของน้ำจะเม่ากับ 1 แก้วเท่าเดิม แต่เด็กๆ จะไม่คิดเช่นนั้น เด็กมักจะคิดว่าน้ำในจานจะมากกว่าในขวด การคิดเช่นนี้ ดูจะแปลกมากสำหรับผู้ใหญ่ แต่สำหรับเด็กๆ แล้วไม่แปลก

เด็กที่ยังไม่สามารถนับได้ถูกต้อง มักจะเหตุผลของตนเองว่า จำนวนของสิ่งต่างๆ จะเปลี่ยนไปตามรูปทรงต่างๆ ต่อเมื่อเขานับของได้เก่งขึ้น เขาจะยอมรับว่ากองวัตถุที่มีจำนวนวัตถุจะไม่เปลี่ยนแปลง แต่จะยังไม่แน่ใจว่ากองใหญ่ขึ้นแล้ว จำนวนนับจะเปลี่ยนไปหรือไม่

เด็กทุกคนต้องการการฝึกหัดนับจำนวนอย่างอิสระ จึงจะสามารถสร้างให้เขาเข้าใจ “การอนุรักษ์จำนวน” ได้ คุณพ่อคุณแม่สามารถจะช่วยกระตุ้นได้โดยทำโอกาศให้เด็กได้ฝึกหัดการนับอย่างสม่ำเสมอ และทำซ้ำแล้วซ้ำอีก ดังเช่นตัวอย่างต่อไปนี้

กล่องสะสมไข่

กล่องใส่ไข่ขนาด 6 ฟอง เลือกสิ่งของเล็กๆ 6 อย่าง เพื่อใส่ลงในแต่ละช่อง (เลือกที่แตกต่างกันอย่างชัดๆ) และนับไปพร้อมกับเด็กอย่างช้าๆ และรอบคอบ ต่อมาให้เด็กจัดวางสิ่งของนั้นใหม่อีกครั้ง แล้วปล่อยให้เด็กเล่นต่อไปโดยการนับซ้ำแล้วซ้ำอีก

การเต้นรำ

กิจกรรมนี้เหมาะสำหรับเด็กกลุ่มเล็กๆ ที่รู้จักชื่อกันแล้ว ให้เด็กเริ่มนับเพื่อนๆ ที่อยู่ในวงเดียวกัน คือ เปิดเพลงหรือร้องเพลงแล้วเต้นรำไปรอบๆ หยุดแล้วนับจำนวนใหม่อีกครั้ง ต้องให้แน่ใจว่าไม่มีเด็กคนใดไม่ถูกนับและไม่มีใครามสมทบเพิ่ม โดยการขานชื่อเด็กแต่ละคนแล้วก็นับจำนวนซ้ำอีกครั้ง

ครอบครัวเรามีกี่คน

วาดภาพครอบครัวหรือดูในสมุดภาพ แล้วนับจำนวนผู้ที่รับประทานอาหารร่วมกันว่ามีกี่คน อยู่ในห้องอาหาร นับใหม่อีกครั้ง โดยการนับแต่ละครั้ง ต้องเริ่มต้นนับจากคนที่ไม่ซ้ำกัน

การฝึกหัดสร้างสรรค์ความชำนาญ

มีกิจกรรมมากมายที่สามารถช่วยส่งเสริมเด็กให้นับเป็น และยิ่งเด็กๆ ได้มีโอกาศฝึกหัดมากขึ้นเท่าใดก็ยิ่งดีแก่ตัวเขาเองเท่านั้น

เด็กๆ จำเป็นต้องได้ดูคนอื่นนับจำนวนเป็นตัวอย่างแล้วจึงนับด้วยตนเอง เราสามารถสอนให้พวกเขานับจำนวนได้ถูกต้องตามลำดับ โดยเริ่มต้นเราจะนับทุกอย่างเพียงครั้งเดียว เน้นให้เห็นว่าจำนวนสุดท้ายเป็นคำตอบ จากนั้น นำของมาสลับวางเรียงกันใหม่ แล้วให้เด็กๆ ช่วยกันนับ เด็กจะพบว่าของมีจำนวนเท่าเดิม

ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างเกมและกิจวัตรประจำวันที่จะให้ประโยชน์ทั้งความสนุกสนานและความคิดเป็นเหตุเป็นผลในเรื่องของการนับแก่เด็กๆ

การนับจำนวนสัตว์

แยกประเภทสัตว์จำลองเป็นกลุ่มๆ แล้วนับจำนวนสัตว์ในแต่ละกลุ่ม มีช้างกี่ตัว? มีเสื้อกี่ตัว ? มีลูกสัตว์กี่ตัว ?

หยิบแตงกวาให้แม่ด้วยจ้ะ

นับจำนวนแตงกวา มะเขือ หรือผักอื่นๆ ขณะที่คุณแม่ตระเตรียมอาหารเย็น “ลูกจ๋า ลูกช่วยหยิบแตงกวาจากตู้เย็นมาให้แม่สัก 4 ผลซิจ้ะ ลูกลองนับอีกครั้งซิจ้ะว่าถูกต้องหรือยัง ถ้าถูกแล้วเอาไปวางเรียงกันไว้ที่อ่างน้ำด้วยจ้ะ”

การจัดโต๊ะอาหาร

ครอบครัวเรามีคนอยู่ 5 คน เราต้องการจานข้าว 5 ใบ ส้อมและช้อน 5 คู่ แล้วจัดให้คนละ 1 ชุด

ถั่วของขบเคี้ยว

ให้เด็กๆ นับจำนวนของว่าง ขนมปังแคร็กเกอร์ 3 ชิ้น หรือถ่วอบ 15 เม็ด เป็นต้น

นับนิ้วของลูก

ระบบจำนวนของเรามีฐาน 10 เช่นเดียวกับจำนวนนิ้วที่เรามี (โชคดีอะไรเช่นนั้น) ช่วยกันกระตุ้นให้เด็กๆ ใช้นิ้วในการนับ เช่น ใครต้องการดื่มชาบ้าง ? เราต้องมีผ้าเช็ดตัวกี่ผืนเวลาไปว่ายน้ำ ใช้นิ้วช่วยในการนับจำนวน

ไชโย 3 ครั้ง

ชื่นชมสิ่งดีๆ โดยการร้องไชโย 3 ครั้ง ตรวจสอบดูว่า “ไชโย” ครบ 3 ครั้งหรือไม่

เล่นแป้งโด

สมมุติว่ากำลังทำแป้งบัวลอยหรือตัดแป้งโดเป็นรูปทรงต่างๆเพื่อจะได้นับจำนวนดังต่อไปนี้

* ผสมแป้ง 2 ถ้วยตวง เกลือ 1 ถ้วยตวง

* เติมน้ำมันพืช 2 ช้อนโต๊ะ น้ำ 2 ถ้วยตวง และสีผสมอาหาร

* ตั้งไฟขนาดกลาง และคนเบาๆ จนแป้งเป็นก้อนใหญ่ๆ

* เอาแป้งทิ้งไว้บนถาดจนเย็น

* แช่หม้อนี้ด้วยน้ำสบู่จะทำความสะอาดง่ายขึ้น

* เก็บแป้งโดไว้ในถุงพลาสติกหรือกระป๋องสูญญากาศเพื่อให้เก็บรักษาไว้ได้หลายวัน

* ถ้าจะต้องการให้เล่นก็เติมสีผสมอาหารและกลิ่นสังเคราะห์ได้

ไปตกปลา

เกมตกปลา

ทำด้วยแม่เหล็ก อุปกรณ์ที่ทำขึ้นเองในบ้านใช้ได้ง่ายว่าที่ซื้อสำเร็จรูปจากข้างนอก และคุณสามารถทำจำนวนปลาเพิ่มเติมได้เมื่อลูกของคุณนับจำนวนได้ดีขึ้น

วิธีทำปลา

ซื้อแม่เหล็กรูปเกือกม้า (ซื้อได้จากร้านขายของเครื่องเขียนทั่วไป) ผูกเข้ากับลวด ด้าย เชือกยาวประมาณ 45 ซม. (18 นิ้ว) ไม่จำเป็นต้องมีคันเบ็ด โดยเฉพาะกับเด็กอายุต่ำกว่า 4 ปี

ตัดการะดาษแข็งเป็นรูปปลา เด็กบางคนก็สามารถทำปลาได้ด้วยตนเอง หรือแม้แต่เด็กเล็กๆ ก็สามารถระบายสีรูปปลาเหล่านี้ได้ (ทั้ง 2 ด้านของรูปปลา)

ติดคลิปหนีบกระดาษบนปลาแต่ละตัว แล้วใส่ลงไปใน “บ่อปลา” ซึ่งใช้อ่างล้างจานก็ได้ (และแน่นอนต้องไม่ใส่น้ำ)

เมื่อทำอุปกรณ์เรียบร้อยแล้ว เล่นเกมโดยชวนลูกสนทนาว่า

ลูกตกปลาทั้งหมดได้กี่ตัว ? ลูกตกปลาครั้งละสี่ตัวได้มั้ย แล้ววันนี้จับปลารวมทั้งหมดได้กี่ตัว

เกมตรายาง

ใช้ตรายางและหมึกพิมพ์เพื่อทำรูปภาพนับจำนวน เมื่อลูกของคุณเริ่มจำตัวเลขได้ ให้เขียนตัวเลขกำกับไว้ในแต่ละแผ่น การเล่นเกมตรายางควร

* ควรรองกระดาษที่จะพิมพ์ตรายาง ด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์หรือวารสาร เพื่อให้พิมพ์ได้ง่ายขึ้น

* วาดรูปภาพรูปประกอบง่ายๆ เช่น บึงสำหรับฝูงกบ

* นับจำนวนรูปพิมพ์แล้วอีกครั้ง ถ้าคุณต้องการหลังจากที่เด็กระบายสีเสร็จแล้ว

ภาษาของครอบครัว

ลูกของคุณพูดได้มากกว่าหนึ่งภาษาหรือไม่ ถ้าใช่ ส่งเสริมให้เขาและเธอเรียนรู้การนับทุกภาษาที่ครอบครัวของคุณใช้ ใช้เกมนับจำนวน หรือกิจกรรมอื่นๆ ในบทนี้ ถ้าลูกของคุณใช้ภาษาหนึ่งคล่องแคล่วกว่าอีกภาษาหนึ่ง ควรใช้ภาษาที่ลูกใช้ได้อย่างดี

หลักการเรียนรู้เกี่ยวกับการนับ 4 ประการ ใช้ได้กับทุกภาษา เพราะว่ามันเป็นเพียงชื่อจำนวนที่แตกต่างกัน การเรียนรู้การนับจำนวนหลายๆภาษา จะช่วยปรับปรุงความเข้าใจของเด็กให้ดีขึ้น

การเรียนคณิตศาสตร์ในหัวข้ออื่นๆ จะมีประโยชน์ต่อเด็กเช่นกัน หากมีหารอภิปรายชี้แนะในทุกภาษาที่เด็กรู้

เกมเต่าทองในสวน

ถึงแม้คุณจะไม่เคยคิดว่าตัวคุณเป็นคนมีฝีมือทางศิลปะ แต่คุณจะทำเกมเต่าทองในสวนต่อไปนี้ จะทำให้คุณพบว่า “ศิลปะเล่นไม่ยาก” เพราะสามารถทำได้ง่ายๆ เด็กๆ จะชอบกันมากเกมนี้จะช่วยฝึกหัดการนับในเรื่อง “ผลบวก” ให้กับเด็กๆ ฝึกหัดการนับซึ่งต่อไปจะเป็นการแนะนำเรื่อง “ผลบวก” (บทที่ 5)

การทำเต่าทอง

อุปกรณ์

1. จุกฝาขวดสีแดง 40 ฝา (จากร้านเครื่องดื่ม) หรือจุกอื่นๆ ที่สะอาดๆ 40 ฝา และสีแดง 1 กระป๋องเล็ก

2. กระป๋องสีน้ำมันสีดำ 1 กระป๋องเล็ก

3. พู่กันระบายสี

4. แอลกอฮอลล์ และขวดโหลใส่พู่กันเพื่อทำความสะอาด

5. กระดาษหนังสือพิมพ์

วิธีทำเต่าทอง

ขอแนะนำว่า ไม่ควรทำเต่าทองในขณะที่เด็กๆ อยู่ด้วย เพราะสีน้ำมันทำความสะอาดยาก

ระบายสีจุกฝาขวดเป็นสีแดง (ควรใช้สีน้ำมันเพราะสวยงามและทนทานกว่า)

ระบายสีดำตามรูปตัวอย่าง

การทำสวน

อุปกรณ์

1. กระดาษแข็งจำนวน 4 แผ่น (ขนาดเท่าหนังสือ)

2. ผ้าสักหลาดสีเขียว (หรือผ้าอื่นๆ เช่น ผ้าสำลี)

3. กาว

4. ปากกาสีดำ กรรไกร ไม้บรรทัด

คุณต้องเตรียมกล่องไว้ใส่เกมเต่าทองในสวน ควรเตรียมไว้ก่อนทำสวน เพื่อให้แน่ใจว่าสามารถเก็บทุกสิ่งทุกอย่างได้หมด กล่องไอศกรีมรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาด 2 ลิตร จะเหมาะสมมาก

การใช้กระดาษที่แข็งมากหน่อยเป็นสิ่งจำเป็น เพราะถ้าใช้กระดาษอ่อนแล้วจะโค้งงอง่ายใช้กระดาษสีน้ำตาลหรือสีแดง ผนึกบนกระดาษแข็งที่เตรียมไว้

เขียนเส้นแบ่งครึ่งกระดาษแต่ละแผ่น ทำเป็นกำแพง (ถ้าสวนของคุณมีรั้วก็เขียนรูปรั้วแทน)

ตัดผ้าสักหลาดหรือผ้าสำลีปิดกระดาษแข็งครึ้งหนึ่ง เพื่อให้เป็นสนามหญ้า ควรตัดผ้าให้ใหญ่กว่าขนาดที่ต้องการเล็กน้อยเพื่อเวลาทากาวปห้งปล้วจะได้ตัดริมผ้าด้วยกรรไกรให้สวยงามขึ้น ทำเช่นนี้จำนวน 4 แผ่น

ในครั้งแรกที่คุณให้ลูกเล่นเกมเต่าทองนี้ ควรปล่อยให้เขาเล่นอย่างอิสระตามต้องการแล้วจึงค่อยลองสอนให้เล่นตามวิธีการแนะนำ

การเล่นเกมเต่าทอง

จุดมุ่งหมายของการเล่นคือ ที่ต้องทำสวนถึง 4 สวนสำหรับเล่นก็เพื่อให้เด็กได้มีโอกาศ 4 ครั้ง ในการเรียนแต่ละเกม ในขณะเดียวกัน เด็กๆ สามารถใช้เล่นพร้อมๆ กัน เป็นสอง สาม และสี่คนก็ได้

เริ่มด้วยผู้เล่นจำนวนน้อยๆ (ต่ำกว่า 5) ในแต่ละเกมแล้วค่อยๆ เพิ่มความยาก เป้าหมายการเล่นเกมนี้ก็คือเพิ่มความมั่นใจให้เด็ก ไม่ใช่คัดเด็กไม่เก่งออก

การนับด้วยเวลาสั้นๆ เป็นสิ่งที่ดีที่สุด ใช้เวลาวันละ 5 นาที หรือ 10 นาที ดีกว่าการใช้เวลาสัปดาห์ละ 1 ชั่วโมง

ลูกนับเป็นหรือไม่

เลือกจำนวนเต่าทองที่จะปล่อยไว้ในแต่ละสวน แล้วชวนลูกนับเต่าทองที่วางไว้ในสวน ครั้งแรกคุณอาจต้องทำให้ดู 1 สวน แล้วให้เด็กทำสวนที่เหลือ 3 สวน

ถ้าเด็กเล่นเป็นกลุ่ม พวกเขาก็อาจจะช่วยกันนับจำนวนเต่าทองของคนอื่นอีกครั้งเพื่อตรวจสอบความถูกต้อง เก็บเต่าทองกลับลงไปในกล่องอีกครั้ง แล้วทดลองให้ทำใหม่ด้วยตัวเลขที่แตกต่างไป ลองให้เด็กโยนลูกเต๋าเพื่อตัดสินจำนวนเต่าทองที่จะวางไว้ในสวนแต่ละสวนเพื่อเป็นการฝึกหัดจำนวนนับ 1 ถึง 6

บัตรจำนวนเต่าทอง

ใช้รูปปลอกจุดสีแดง และบัตรกระดาษแข็งเล็กๆ จำนวน 10 บัตร แต่ละบัตรเขียนเลข 1 2 3 4 เรื่อยไปตามลำดับจนถึง 10 ตัวเลข 1 ตัวต่อบัตร 1 ใบ

การเล่นให้เริ่มต้นด้วยตัวเลขที่เด็กสามารถนับได้ถูกต้อง แล้วจึงค่อยๆ แนะนำจำนวนอื่นๆต่อมา

สลับบัตรเหล่านี้ หรือวางคว่ำหน้าลงเรียงๆต่อกัน แล้วหยิบขึ้นมาทีละบัตรเพื่อเล่น “ลูกนับจำนวนได้เท่าใด”

มีเต่าทองกี่ตัว

เกมสำหรับผู้เล่น 2 คน คนที่ 1 วางเต่าทองในสวน (จำนวนไม่เกิน 10) คนที่ 2 ต้องหาบัตรที่มีจำนวนตรงกัน แล้วเปลี่ยนคนที่ 2 วางเต่าทองบ้าง ให้คนที่ 1 เป็นคนหาบัตรจำนวน (มีเกมเต่าทองเพิ่มเติมในบทที่ 5)

สัตว์ประหลาดในอ่างน้ำ

คุณสามารถใช้เกมนี้ในหลักการเดียวกับเกมเต่าทอง

อุปกรณ์

1. กระดาษแข็ง 4 แผ่น ขนาดเท่าหนังสือเล่มนี้

2. ฟองน้ำสี 2 ก้อน

3. ดินสอ ปากกา หรือสีเทียน และกรรไกร

4. กล่องเก็บของ

วาดรูปอ่างอาบน้ำมีสัตว์ประหลาดอยู่ในอ่างแต่ละอ่างทั้ง 4 แผ่น ให้เด็กระบายสีเอง

ตัดฟองน้ำเป็นท่อนเล็กๆ ขนาดกว้าง 2 ซม. (3/4 นิ้ว) เพื่อใช้เป็นของเล่นของสัตว์ประหลาด

เสร็จแล้วชวนลูกลเนเกม “ลูกนับจำนวนได้เท่าใด” และ “มีฟองน้ำกี่ก้อน” เช่นเดียวกับการนับจำนวนเต่าทอง

เกมงูในป่าใหญ่

เตรียม

1. กระดาษแข็ง 4 แผ่น

2. เชือกทั้งหนาและบางขนาด 1 เมตร

3. ปากกาเมจิก หรือสีเทียน กรรไกร

4. กล่องเก็บของ

5. วาดรูปต้นไม้ พุ่มไม้ ดอกไม้

6. ตัดเชือกยาว 4.5 ซม. (1 ½-2 นิ้ว) ใช้เป็นงู

7. เล่น “เด็กๆ นับงูซิคะ มีงูกี่ตัว งูขนาดใหญ่กี่ตัว ฯลฯ”

ร้านขายสัตว์เลี้ยง

พาลูกรักไปเยี่ยมชมร้านขายสัตว์ด้วยกันก่อนในครั้งแรกเพื่อการเรียนรู้จากของจริง (และเพื่อจำนวนสัตว์ที่มีอยู่ที่นั่นด้วย)

ใช้ของเล่นประเภทนุ่มนิ่มเป็นสัตว์เลี้ยง เช่น ทำแมงมุมจากไหมพรมเศษผ้าทำเป็นสัตว์ที่มีขนปุกปุย หนูจากกระดาษ ปลาจากกระดาษแข็งๆ ใช้ที่กรองชาที่ไม่ใช้แล้วเป็นแหปลา

เก็บวัสดุต่างๆ ไว้ใช้เป็นบ้านของสัตว์เล็กๆ เหล่านี้ และเตรียมกล่องกระดาษแข็งๆ ไว้ใส่สัตว์อื่นๆ ที่เหลือ

การทำกระป่องอาหารสุนัข อาหารแมวและภาชนะอาหารสำหรับสัตว์อื่นๆ (ดูวิธีหน้า 20) แป้งโด (ดูหน้า 19) เพื่อทำขนมปังและตัดกระดาษแข็งเป็นรูปกระดูก ให้สุนัขกัดเล่น ใช้ภาชนะพลาสติกเป็นชามอาหารของสุนัขหรือใช้จานที่ทำจากกระดาษตะกั่ว

เจ้าของร้านต้องนับจำนวนสัตว์ที่มีตลอดเวลาเพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีสัตว์ตัวใดหลุดหนีไปและเมื่อสัตว์เหล่านี้ถูกจำหน่ายไปก็ต้องนับจำนวนที่เหลือด้วย เมื่อไม่มีลูกค้า สัตว์เลี้ยงเหล่านี้ก็ตอ้งการอาหาร การขับถ่ายและการทำความสะอาด ส่วนร้านค้าเองก็จำเป็นตอ้งทำความสะอาดหรือจัดใหม่ให้สวยงาม

การจำสัญลักษณ์ตัวเลข

มาดูกันว่าเด็กๆ เริ่มจำสัญลักษณ์ตัวเลขกันได้อย่างไร โดยเฉพาะเด็กในวัย 2-3 ขวบ

วันเกิด

สำหรับเด็กส่วนใหญ่แล้ว อายุของตนเอง คือจำนวนที่เขาให้ความสนใจมากที่สุด เด็กอายุ 2 ขวบ หลายคนสามารถรู้จำนวน “อายุของฉัน” และบางคนก็อาจรู้อายุของพี่และน้องได้ ควรเก็บบัตรอวยพรวันเกิดที่มีตัวเลขอายุปรากฏไว้ให้ลูกดู

ไม่ว่าจะไปที่ใดหรือทำอะไร หมั่นชี้แนะให้ลูกสังเกตตัวเลขที่บ่งอายุของลูกเป็เลขเดียวกับอายุของลูกในระยะแรกยังไม่ควรสนใจตัวเลขอื่นๆ นอกจากนี้ยังอาจสอนให้ลูกท่องคำคล้องจองไป

นวดแป้งเค้ก นวดแป้งเค้ก คนอบขนม

ช่วยอบขนมให้หนูเร็วที่สุดที่คุณจะทำได้

นวด คลึง ตบ แล้วใส่หมายเลข 1

และใส่มันในเตาอบจนมันสุก

ในขณะที่ท่องคำคล้องจองควรตบมือไปพร้อมๆ กัน กับเด็กๆ เมื่อเด็กๆ พูดจำนวน 1 2 และ 3 ให้หยุดเพื่อให้คุณพ่อคุณแม่เขียนตัวเลขลงไปบนฝ่ามือเด็ก เด็กจะชอบใจมากทีเดียว

เกมค้นหาตัวเลขสอนให้ลูกค้นหาตัวเลขจาก

1. ประตูหน้าบ้าน

2. ปุ่มปรับสถานีโทรทัศน์

3. นาฬิกา

4. โทรศัพท์

5. เสื้อผ้าเด็ก

6. เครื่องคิดเลข

7. ปฏิทิน

8. ทะเบียนรถยนต์

9. ป้ายจราจร

10. รถประจำทาง

11. ปุ่มกดลิฟท์

และตามสถานที่ต่างๆ ทั่วไป

บัตรตัวเลข

เขียนตัวเลขอายุของลูกบนกระดาษแข็งขนาดเท่าหนังสือเล่มนี้แล้วตัดออกมา คุณอาจจำเป็นต้องตัดเลข แต่ละตัวมากกว่า 1 แผ่น ปล่อยให้เด็กระบายสี ทาสี หรือติดรูปลอกบนบัตรเหล่านี้เพื่อความสวยงาม แต่ต้องระวังไม่ให้เด็กพลิกกลับด้าน

ควรติดตัวเลขเหล่านี้ในห้องนอนลูก ที่หน้าต่าง กระจกในห้องน้ำ หรือที่ใดก้ได้ที่สังเกตได้ชัดเจน ตัดบัตรเลขเช่นนี้ให้กับคนอื่นๆ ในครอบครัว หรือแม้แต่กับสัตว์เลี้ยง

คุณอาจตกแต่งบัตรตัวเลขเหล่านี้ได้ด้วยกระดาษเช็ดหน้า โดยการฉีกกระดาษเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วขยำเป็นลูกกลมๆ ควรทำขนาดไม่ใหญ่มากเพื่อเด้กจะได้นำมาติดบนตัวเลขโดยตรงให้ชิดกันพอสมควร

ทายซิเลขอะไร

กิจกรรมนี้ใช้หลักเดียวกับการฝนภาพนูน แตกต่างกันตรงที่คุณเป็นคนทำ ภาพนูนนั้นเสียเอง

วิธีทำ

1. ตัดตัวเลขขนาดสูง 6 ซม. (2 ½ นิ้ว) จากกระดาษแข็ง ทากาวติดไว้บนกระดาษสี่เหลี่ยมผืนผ้า แล้วปล่อยทิ้งไว้ให้แห้ง

2. วางกระดาษทับไว้บนตัวเลข ตรงไว้ด้วยที่หนีบกระดาษ

3. ฝน ขูด ระบายสีเทียน หรือสีชอล์ก จนกระทั่งตัวเลขจะค่อยๆ ปรากฏขึ้นมา

4. ทำตัวเลขหลายๆ ตัวบนกระดาต่างๆ กัน และให้เด็กเล่นด้วยวิธีการต่างๆ กัน

5. ควรให้เด็กเลือกบัตรเองเพื่อเลือกจำนวนที่เขาต้องการขูด ขูดให้เกิดภาพ

6. ในบางโอกาศ อาจห่อบัตรเหล่านี้ก่อยยื่นให้เด็กเพื่อทำเป็น “ความลับ” ลองดูว่าเด็กจะรู้จำนวนเลขได้เร็วเพียงใด

หมายเลขโทรศัพท์

แนะนำหมายเลขโทรศัพท์โดยใช้โทรศัพท์ของเล่น หรืออณุญาตให้ลูกหมุน กดหมายเลขโทรศัพท์จริง พูดตัวเลขแต่ละตัวดังๆ ขณะชี้ที่ตัวเลข

เรียนนับจากไพ่

ดึงไพ่ที่เป็นภาพออกจากสำรับแล้ววางไว้กองหนึ่ง

ล่าตัวเลข

สลับไพ่ที่เหลืออยู่ แล้วหงายใบบนสุด สมมุติว่าไพ่ใบที่หงายคือเลข 6 ให้ลูกหาเลข 6 ที่เหลืออยู่อีก 3 ใบ เล่นค้นหาเช่นนี้ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะแบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่ม

เกมเรียงลำดับ

แบ่งประเภทไพ่เป็นกลุ่มแล้วเรียงลำดับ เช่น ข้าวหลามตัด 1-5 ดอกจิก 1-5 เป็นต้น

เมื่อลูกค้นหาได้พบ 1-5 แล้วให้แยกจากกองแล้วนำเอาเรียงกัน จากนั้นหาเลข 6-10 ทำซ้ำกัน ถ้ารู้สึกว่าง่ายก็ลองเรียงจากจำนวน 1-10 ในครั้งเดียวเลย

บัตรจำนวนง่ายๆ

ทำบัตรจำนวนเหมือนที่อธิบายไป แต่ไม่ต้องมีจุดแดงของเต่าทอง ใช้เล่นกับเกมเต่าทองหรือใช้กับ “การสะสมจำนวนนับ”

การสะสมจำนวนนับ

สะสมกระดุม เม็ดข้าวโพดแห้ง เปลือกหอย ไปรษณียบัตร หรืออะไรก็ได้ที่เด็กชอบ เพื่อใช้เป็นสิ่งของในการนับ

การนับจำนวนชุดน้ำชา

วางชุดน้ำชา 6 ที่บนโต๊ะ และวางบัตรตัวเลขไว้ข้างชุดชาแต่ละที่ เด็กจะต้องวางจำนวนสิ่งของบนจานให้ถูกต้องกับบัตรจำนวน

บอกเด็กให้หลับตา แล้วสับเปลี่ยนตัวเลข ผลัดเปลี่ยนกันจัดตัวเลขและสิ่งของให้ถูกต้อง จนกว่าจะทำได้ถูกต้องทั้งหมด

หอคอยตัวเลข

วางบัตรเลขตามลำดับ วางสิ่งของให้ตรงกับจำนวนที่ปรากฏในแต่ละบัตร

การนับไปข้างหน้าและนับถอยหลัง

กิจกรรมที่กล่าวมาแล้วบางกิจกรรม ช่วยฝึกหัดการนับเรียงลำดับ และต่อไปนี้คือกิจกรรมอื่นๆ เพิ่มเติม

ตัวเลขตัดต่อ

ซื้อหรือทำบัตรจำนวนติดบนฝาผนัง แล้วทำเป็นเกมภาพตัดต่อ

เกมตังเต

ใช้ชอล์กขีดช่องเช่นกระโดดตังเต หรือกระโดดอื่นๆ ในสนาม กระโดดจากตัวเลขหนึ่งไปอีกตัวเลขหนึ่ง แล้ววกกลับมาตั้งต้นใหม่

เกมรถไฟ

ติดบัตรตัวเลขลงบนตู้ขบวนรถไฟ หรือวาดรูปรถไฟบนกระดาษแข็ง แล้วฝึกหัดวางตู้รถไฟตามลำดับหมายเลข

สมุดตัวเลข

ซื้อสมุดแบบมีห่วง แล้วเขียนตัวเลข 0-10 หมายเลยละแผ่น ถ้าให้สนุกมากขึ้นคุณอาจให้ลูกวาดภาพต่างๆ ที่ลูกชอบให้ตรงกับจำนวนเลขได้

พลิกสมุดไปทีละหน้า และถามเด็กว่า “ตัวเลขถัดไปคืออะไร” ก่อนที่จะพลิกหน้าต่อไปลองอีกครั้งด้วยคำถามว่า “แล้วก่อนเลขนี้เป็นเลขอะไรจ้ะ”

นับถอยหลัง

สนุกกับการนับถอยหลังเมื่อใกล้จะถึงเวลา เช่น การแข่งกีฬา ก่อนเล่นเกม ถ้ายากเกินไป ไม่ต้องเริ่มนับจากจำนวน 10 ก็ได้ แค่ 5 ก็เพียงพอ

การเขียนตัวเลข

เด็กบางคนอาจต้องการเขียนตัวเลขด้วยตนเองทันทีที่เริ่มจำตัวเลขได้

จุดเริ่มต้นของการเขียนตัวเลขเป็นสิ่งสำคัญมาก คุณพ่อคุณแม่ควรสอนลูกเขียนตัวเลขด้วยวิธีการที่ถูกต้องตั้งแต่ต้น เพราะจะเป็นการยากมากที่จะให้เด็กเขียนให้ถูกต้องในภสยหลัง หลังจากที่เขาคุ้นเคยกับวิธีเขียนนั้นแล้ว

การฝึกให้เด็กเขียน หากให้เขาเขียนตัวเลขด้วนนิ้วมือในแป้งขณะนวด หรือไม่บ่อทรายเด็กๆ จะสนุกสนานกันมากให้ปากกาด้ามโตๆ แก่เด็กพร้อมกับกระดาษเปล่าแผ่นโตๆ แล้วจับมือพวกเขาให้หัดเขียน 2-3 ครั้ง ต่อมาให้หัดเขียนด้วยตนเอง พร้อมให้คำชมเชยและคำแนะนำใกล้ๆ ขอย้ำว่าการสอนเด็กเรื่องตัวเลขนั้นเริ่มต้นด้วยตัวเลขที่เป็นอายุของเด็กเป็นสิ่งที่ดีที่สุด

การเขียนหัวกลับ

เด็กส่วนมากจะเขียนตัวเลขหัวกลับเป็นครั้งคราว (โดยเฉพาะเด็กอายุ 2-5 ปี) ทุกครั้งที่เด็กเขียนเลขกลับหัว คุณต้องรีบแก้ไข มิเช่นนั้น เด็กจะคุ้นเคยกับวิธีการเขียนที่ผิดๆ นั้นไป จนยากที่จะแก้ไข ปัญหาเหล่านี้หลีกเลี่ยงได้โดยให้เด็กดูตัวเลขที่ถูกต้องก่อนลงมือเขียน โดยอาจจะดูจากนาฬิกาก็ได้ ถ้าไม่แน่ใจว่าวิธีเขียนที่ถูกต้องเป็นอย่างไร

ข้อควรจำเรื่องการนับ

1. เด็กๆ จะได้ประโยชน์จากการช่วยเหลือของทางบ้านมากกว่า คุณพ่อคุณแม่จะคาดคิด กล่าวคือ ยิ่งเด็กได้ฝึกหัดการนับมากเท่าใด ก็ยิ่งได้ประโยชน์เท่านั้น ฉะนั้น อย่าหยุดฝึกหัดลูกเร็วเกินไป

2. พยายามอย่าให้เด็กหัดเขียนจำนวน “ผลลัพธ์” เร็วเกินไป ในขณะที่เพิ่งจะเขียนตัวเลขเป็น โดยเฉพาะคุณครูผู้สอนมักจะเร่งเด็กเกินควร เนื่องจากถูกคุณพ่อคุณแม่เด็กกดดันให้สอนลูกเร็วๆ การกระทำเช่นนี้จะนำเด็กไปสู่ความหมาดกลัว วิตกกังลวและไม่ชอบคณิตศาสตร์ในที่สุด



(อ้างอิงจาก....................)