วันพุธที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

2.คณิตศาสตร์มีอยู่ทุกหนแห่งจริงหรือ ?

                 พ่อแม่ได้ช่วยเหลือลูกในการวางพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ให้กับลูกได้อย่างมากก่อนที่ลูกๆจะเข้าโรงเรียนด้วยซ้ำ   รวมทั้งช่วยส่งเสริมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ให้กับลูกโดยผ่านกิจกรรมการเล่น และจากกิจวัตรประจำวันในบ้าน

                ในขณะที่ครู ไม่ว่าจะควบคุมชั้นเรียนได้ดีเพียงใด หรือจะอธิบายสิ่งต่างๆ ได้ดีเพียงใด เด็กบางคนก็จะไม่ได้รับความเอาใจใส่เป็นรายบุคคลอย่างเพียงพอ เพราะความจำกัดของเวลา ดังนั้น ถึงแม้เด็กจะเข้าชั้นเรียนไม่เคยขาด แต่การสนับสนุนด้านกำลังใจจากพ่อแม่ยังคงเป็นสิ่งที่มีคุณค่ามากที่สุดอยู่นั่นเอง
               หลายๆคนสงสัยว่าคณิตศาสตร์มีอยู่ทุกหนแห่งจริงหรือ ? จริงๆแล้วคณิตศาสตร์มีอยู่ทุกหนแห่งรอบตัวเรา คณิตศาสตร์อยู่ในกิจกรรมต่างๆ ที่พ่อแม่ได้ปฏิบัติอยู่แล้วกับลูกในชีวิตประจำวัน คุณพ่อคุณแม่จะส่งเสริมทักษะเหล่านี้ได้ดียิ่งขึ้นด้วยการเล่นเกมการเล่นหลายๆเกม ตลอดจนกิจกรรมต่างๆ ดังที่จะกล่าวต่อไป

แต่คุณคุณพ่อคุณแม่อาจเกิดคำถามว่า

“คนที่สอบตกคณิตศาสตร์เป็นประจำจะสอนลูกไหวหรือ เดี๋ยวจะทำให้ลูกสับสนไปกันใหญ่” การคิดเช่นนี้ แสดงว่าคุณพ่อคุณแม่ประเมินความสามารถด้านคณิตศาสตร์ของต่ำกว่าความเป็นจริง

ขอเพียงคุณสามารถทำสิ่งเหล่านี้ได้

• ประกอบอาหารให้ครอบครัว

• ถักไหมพรมตามแบบ

• อ่านโน๊ตดนตรีและเล่นดนตรี

• เล่นสนุกเก้อร์ หมากรุก หรือลูกดอก

• ใช้กระดาษร่างแบบตัดเสื้อผ้า

• ใช้แผนที่ประกอบการเดินทางโดยไม่หลงทางบ่อยนัก

• จับจ่ายซื้อสินค้า

• เล่นไพ่บริดจ์ ไพ่รัมมี่ หรือไพ่อื่นๆ

• ตกแต่งห้องด้วยการทาสี

• ตรวจหลักฐานเงินฝาก

• ใช้ตารางรถเมล์ หรือรถไฟ

• คิดคำนวณเงินจากการขายครั้งใหญ่

คุณเคยรู้สึกเช่นนี้หรือไม่ ?

          กิจกรรมที่กล่าวมานี้สัมพันธ์กับทักษะทางคณิตศาสตร์ทั้งสิ้น ดังนั้นคณิตศาสตร์จึงเป็นมากกว่าวิชาคิดคำนวณ คนหลายคนพบว่าพวกเขาสนุกสนานกับบางแง่ของคณิตศาสตร์เท่านั้น นอกนั้นคณิตศาสตร์ก็ไม่ได้เป็นสิ่งที่น่าชื่นชมเลย

เด็กเล็กๆ ใช้คณิตสาสตร์ในชีวิตประจำวันโดยไม่มีข้อสงสัยใดๆ เราจะมาลองดูกันสิว่าชีวิตประจำวันของติ๊งโหน่ง ซึ่งมีอายุเพียง 3 ปี เป็นเช่นไร

วันคณิตศาสตร์ของติ๊งโหน่ง

ได้เวลาตื่นนอนหรือยังนะ ? มันยังมืดตึ๊ดตื๋ออยู่เลย...ต๊องหน่อง
พี่ชายฉัน ตื่นนอนหรือยังเอ่ย ? (เวลา, การคิดอย่างมีเหตุผล)

จัดเก็บเสื้อผ้าและใส่ตู้ให้ถูกที่ (การจัดประเภทการจับคู่และการตัดสินใจ)

รับประทานอาหารเช้า/และช่วยให้อาหารแมว
ต้องไม่ให้มากเกินไป/พอหรือยังนะ?
(การคาดคะเนปริมาณ,การเปรียบเทียบ)

พาต๊องโหน่งไปโรงเรียน/เดินไปที่มุมถนน แล้วข้ามที่สัญญาณไฟ(ทิศทาง,เวลา)

ไปซื้อของ/นับจำนวนเครื่องกระป๋อง เปรียบเทียบขนาดขนมปังใหญ่หรือเล็ก ?
(การนับ,ขนาดและเงิน)

จัดเก็บของ/อะไรต้องใส่ช่องแช่แข็งบ้าง มะเขือเทศเก็บที่ไหนดี (การจัดประเภท)

ดูโทรทัศน์แล้วเล่นตุ๊กตาหมีแล้วเล่นจิ๊กซอว์ จนถึงเวลาอาหาร (การนับ,ขนาด,รูปทรง,เวลา)

หลังอาหารกลางวัน/เราไปสวนสาธาณะเล่น แยกประเภทใบไม้/นับจำนวนเป็ด
เตะลูกบอล/มองเวลา (การจัดประเภท,การนับ,รูปทรง)

ได้เวลาไปรับต๊องโหน่งกลับจากโรงเรียน โรงเรียนอยู่ไกล ออกจากบ้านตอนนี้เราจะ
ไปถึงก่อนเวลา หรือทันเวลาหรือเปล่านะ ? (เวลา)

อาบน้ำ/เล่นกรอกน้ำ และสาดน้ำ นับจำนวนเรือที่มี (ปริมาณ,การนับ)

ได้เวลานอน*ฟังนิทาน/และร้องเพลง พรุ่งนี้เราต้องทำอะไรบ้างนะ?
(การเรียงลำดับเหตุการณ์,การวางแผน)

              คุณพ่อคุณแม่ของติ๊งโหน่งไม่เคยคิดมาก่อนเลยว่าในชีวิตประจำวันของลูกจะมีโอกาสเรียนรู้คณิตศาสตร์ได้มากมายอย่างนี้ ติ๊งโหน่งกำลังได้เรียนรู้คณิตศาสตร์ด้วยวิธีการที่เป็นธรรมชาติที่สุด และก็สนุกสนานกับทุกสิ่งทุกอย่างที่ทำ อาจจะมีคุณครูหลายท่านที่พยายามจะจำลองสถานการณ์ในชีวิตประจำวันของเด็กๆ มาใช้ในการสอนคณิตศาสตร์ แต่ด้วยข้อจำกัดของสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน ของที่บ้านกับโรงเรียน ทำให้การกระทำดังกล่าวเป็นไปได้ยาก ลองจินตนาการดูง่ายๆ ก็ได้ว่าหากคุณครูที่แสนจะใจเย็นและน่ารักพาเด็กทั้งชั้นไปซื้อของที่ห้างสรรพสิ้นค้าจะเกิดอะไรขึ้น ต่อให้ใจเย็นแค่ไหนก็เถอะ...เธอคงต่อกรกับบรรดาปูทั้งหลายไม่ไหวแน่   การสนับสนุนที่บ้านจึงเป็นสิ่งจำเป็นและเป็นไปได้มากที่สุด/พ่อแม่เป็นผู้ที่มีบทบาทอย่างมากในการส่งเสริมและสอนคณิตศาสตร์ให้กับลูกๆ

จินตนาการ : การไปซื้อของกับเด็กเพียง 2-3 คน ก็ยุ่งแล้ว หากไปซื้อทั้งชั้นล่ะ!!
มีวิธีการมากมายที่จะช่วยส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ทักษะตรงๆ ทางคณิตศาสตร์กิจกรรมที่เสนอในหนังสือเล่มนี้สามารถนำไปใช้โดยไม่จำเป็นว่าคุณต้องมีความรู้เกี่ยวกับคณิตศาสตร์มาก่อน เพราะบางครั้งจากการที่ต้องอธิบายเรื่องบางเรื่องให้ผู้อื่นฟังก็อาจจะทำให้เราเกิดการเรียนรู้และเข้าใจเรื่องนั้นๆได้ชัดเจนยิ่งขึ้น คุณครูหลายคนยอมรับว่า การได้สอนคณิตศาสตร์ให้กับเด็กๆ ทำให้เขาเกิดความรู้มากกว่าสมัยที่ยังเป็นเด็ก และต้องเรียนรู้เรื่องนั้นๆอยู่ การที่พ่อแม่จะช่วยส่งเสริมคณิตศาสตร์ให้กับลูกจึงเหมือนกับเป็นการทบทวนและให้ความรู้ของพ่อแม่ไปด้วยอย่างวิเศษเท่ากับเป็นการปูนบำเหน็จหรือให้โบนัสกับตัวพ่อแม่เลยทีเดียว
                   แม้ว่าเนื้อหาในแต่ละบทที่จะนำเสนอต่อไปนี้ จะมีเนื้อหาที่แตกต่างกันออกไป แต่ถึงที่สุดแล้ว ผู้อ่านก็จะสรุปเป็นความคิดรวบยอดได้ เพราะกิจกรรมที่เสนอให้ในแต่ละบทจะช่วยส่งเสริมทักษะแต่ละด้าน และหลายๆ หัวข้อสามารถนำมาเชื่อมโยงกันได้
                  เนื่องจากเด็กแต่ละวัยมีพัฒนาการที่แตกต่างกันค่อนข้างมาก กิจกรรมที่นำเสนอในหนังสือเล่มนี้ไม่อาจนำไปใช้ได้กับเด็กทุกวัย หากคุณพ่อคุณแม่จะนำไปใช้ขอให้แยกแยะดังนี้

เด็กวัย 1 – 3 ปี ใช้บทที่ 2, 3, 4 และบางส่วนของบทที่ 6 และ 7

เด็กวัย 4 – 5 ปีขึ้นไป ใช้บทที่ 5, 6 และบทที่ 7

              หวังว่าคุณจะสนุกสนานในการช่วยส่งเสริมให้ลูกๆ ค้นพบว่าคณิตศาสตร์นั้นเป็นเรื่องที่น่าสนใจและสนุกเพียงใด

(อ้างอิงจาก.................................)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น