วันเสาร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

5.รียนรู้คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน(ต่อ)

4.รูปทรงและพื้นที่

ในชีวิตประจำวันของพวกเราส่วนใหญ่ใช้ความรู้สึกที่มีอยู่กับตัวในการพิจราณารูปทรงและพื้นที่มากกว่าทักษะจำนวน เช่น เมื่อคุณจัดเครื่องเรือนในบ้านใหม่ ใช้แผนที่ หรือหาที่จอดรถ คุณใช้ความรู้เรื่องรูปทรงและพื้นที่มาช่วย โดยคุณไม่คาดคิด
ในบทนี้เราจะลองศึกษาดูในเรื่องกิจกรรมหลายๆ อย่างที่จะช่วยลูกของคุณในการพัฒนาความรู้เรื่องรูปทรงและพื้นที่
           
คำศัพท์ใหม่ๆ และความคิดใหม่ๆ จะเพิ่มขึ้นตามธรรมชาติเมื่อเด็กได้สำรวจโลกรอบๆ ตัวของเขา แม้แต่เด็กทารกก็จะชอบเฝ้ามองดูสิ่งที่เกิดขึ้นรอยๆ ตัว และความสุขของเด็กที่เริ่มเดินเตาะแตะในการได้เห็นได้สัมผัสสิ่งใหม่ๆ แสดงว่าเด็กๆ จะเริ่มต้องการความสนใจสิ่งรอบตัวทันทีทันใด ดังจะได้กล่าวต่อไปนี้
เรียนรู้การไปนอกบ้าน

เมื่อคุณออกไปข้างนอก ไม่ว่าจะเป็นการเดินไปหรือขับรถไป ควรพูดคุยกับลูกเกี่ยวกับเส้นทาง

* ลูกเห็นอะไรบ้างจ้ะ

* เดี๋ยวเราจะเห็นอะไรข้างหน้า

* เราควรจะไปทางไหนต่อไป
 จำไว้อย่างไรก็ตามสายตาของเด็กก็สูงได้เพียงระดับพื้นเท่านั้น ลูกจะบอกแต่สิ่งที่อยู่ใกล้พื้นเท่านั้น

เรียนรู้การเคลื่อนไหว

 การปีน การกระโดด การวิ่ง การหมุนตัว การลื่นไหล การม้วนตัว การคลาน ล้วนเป็นวิธีการที่สนุกสนาน ในการสำรวจเรื่องพื้นที่ มองดูผู้คนที่กำลังเคลื่อนที่ คนเต้นรำ หรือว่ายน้ำ ควรจะได้พูดคุยกับเด็กเกี่ยวกับอากัปกิริยาที่เขาเหล่านั้นปฏิบัติ

กิจกรรมนี้จะสนุกสนานมากขึ้นถ้ามีผู้เล่นอย่างน้อย 2-3 คนขึ้นไป เด็กๆ จะสนุกสนานที่ได้ดูคนอื่นเป็นอนุเสาวรีย์และจะสนุกมากขึ้นเมื่อได้เป็นอนุเสาวรีย์เสียเอง คุฯเองก็เข้าร่วมเล่นสนุกได้

เด็กๆ จะเต้นรำไปตามจังหวะดนตรี แล้วหยุดนิ่งเป็นรูปปั้นเมื่อคุณปิดเพลง คุณอาจออกคำสั่งพิเศษ เช่น “ทำตัวให้สูงที่สุดแบบยีราฟ” “ม้วนตัวเป็นลูกบอลเล็กๆ” หรือ “ทำตัวให้ต่ำสุดบนพื้นห้อง” เมื่อเด็กทำตามคำสั่ง ควรกล่าวชมเชยแล้วเริ่มต้นดนตรีใหม่

ซ่อนหา

กิจกรรมนี้เด็กอายุ 2-3 ปีชอบมากๆ เอ...ติ๊งโหน่งอยู่ไหนน๊า...อยู่ ปิดตาคุณในขณะให้ลูกหาที่หลบซ่อนตัวในห้อง อาจได้ยินเสียงตอบจากลูกว่า “ไม่ใช่” “งั้น...สงสัยอยู่ใต้เตียงแน่ๆเลย” “ไม่ใช่” “งั้นลูกก็อยู่บนเตียงนะซิ” “ใช่แล้ว”

บนเส้นชอล์ก

ถ้าคุณมีพื้นที่กลางแจ้งกว้างขวาง ใช้ชอล์กวาดรูปวงกลมใหญ่ๆ สำหรับเด็กวิ่งไปรอบๆ เมื่อเขาคุ้นแล้ว ลองวาดรูปทรงอื่นๆ เช่น รูปเลข 8 ทางตรงๆ หรือทางคดเคี้ยว หากเล่นในร่มอาจใช้ไหมพรมหรือเชือกวางยาวบนพื้นให้เด็กเดินบนเชือกหรือไหมพรมแทน

โยนลูกบอล

ให้เด็กโยนลูกบอลขึ้นเหนือศีรษะ กลิ้งลูกบอลลอดใต้ขา ลอดใต้เก้าอี้ โดยไม่ให้ไกลเกินไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับทักษะในการควบคุมลูกบอลที่มี

ภาพตัดต่อ

การเล่นภาพตัดต่อได้เก่ง เด็กต้องมีความสังเกตดี สามารถสังเกตได้ว่าสิ่งไหนเหมือนหรือไม่เหมือนกัน มีวิธีคิดเป็นเหตุเป็นผล รู้จักแก้ปัญหาและมีความอดทน คุณสมบัติเหล่านี้เป็นสิ่งจำเป็นต่อการที่จะเป็นนักคณิตศาสตร์ที่ดีต่อไปด้วย

ควรเริ่มต้นจากภาพตัดต่อง่ายๆ ในขณะที่อายุยังน้อย แล้วค่อยๆ เพิ่มระดับความยากเมื่อมีประสบการณ์มากขึ้น อาจให้เด็กๆ แลกเปลี่ยนภาพตัดต่อกันเพื่อให้เกิดประสบการณ์หลากหลาย สำหรับภาพตัดต่อง่ายๆ ยังไม่ควรให้แก่ผู้อื่นเร็วเกินไป เพราะบางครั้งหนูๆ ผู้เอาใจยากก็อาจต้องการกลับมาเล่นชุดง่ายๆ อีกเหมือนกัน โดยเฉพาะเมื่อพวกเขาไม่สบาย หรือต้องการเพิ่มพูนความมั่นใจตนเอง การต่อชิ้นส่วนภาพตัดต่อให้สมบูรณ์จะก่อให้เกิดความรู้สึกเป็นสุขทางจิต

ภาพตัดต่อตัวฉันเอง

ทำภาพตัดต่อง่ายๆ และเป็นของส่วนตัวให้แก่เด็กอายุ 1 หรือ 2 ปี โดยการใช้รูปภาพหรือการ์ดอวยพรวันเกิด

วิธีทำก็คือ ตัดกระดาษแข็ง 2 ชิ้น (ใช้กระดาษขาวกล่องใส่ของก็ได้) ให้มีขนาดเท่ากับรูปภาพที่มี ใช้กาวติดลงบนกระดาษแผ่นหนึ่ง หลังจากแห้งแล้วตัดให้เป็น 2 ชิ้น ให้เป็นรูปตัววี พยายามตัดให้ดูน่าสนใจโดยไม่จำเป็นต้องตัดแบ่งครึ่ง ใช้กาวทาลงบนชิ้นส่วนทั้งสอง ติดกาวบนกระดาษแผ่นสีทอง ต้องแน่ใจว่ามุมภาพต่อกันได้พอดี แล้วปล่อยให้แห้ง สาธิตวิธีการเล่นต่อชิ้นส่วนให้ลูกคุณดูแล้วจึงให้เขาทดลองเล่นเอง

“ทำภาพตัดต่อแบบนี้ไว้สัก 5-6 ชุด โดยเก็บรวบรวมแต่ละชุดในซองไว้ในกล่องใหญ่ๆ”

ชุดภาพตัดต่อ

เด็กส่วนใหญ่เริ่มเล่นภาพตัดต่อที่มีชิ้นส่วนโดยที่แต่ละชิ้นจะเป็นภาพที่สมบูรณ์ในตัว ชิ้นส่วนเหล่านี้บางชิ้นจะมีขนาดไม่เท่ากัน เพราะถ้าให้เด็กเล่นภาพตัดต่อที่มีชิ้นส่วนขนาดเท่ากันหมด อาจจะทำให้เด็กรำคาญใจได้

ฉะนั้น ควรเลือกภาพตัดต่อมีขนาดแตกต่างชัดเจน เพื่อให้ง่ายต่อการเปรียบเทียบ

ภาพตัดต่อลายเส้น

ภาพตัดต่อลายเส้นสำหรับผู้เริ่มเล่นโดยทั่วไปมีจำนวนเพียง 2 3 หรือ 4 ชิ้น ไม่ง่ายเหมือนชุดภาพตัดต่อที่กล่าวมา ซึ่งสามารถสังเกตรูปทรงในแต่ละชิ้นได้ สำหรับภาพตัดต่อลายเส้นต้องใช้เทคนิคที่แตกต่างกันออกไป เพราะมีเพียงเส้นกรอบนอกให้สังเกต หรือบางทีก็มีแต่สีให้สังเกต

ภาพตัดต่อลายเล้นที่มีชิ้นส่วนมากกว่า 4 ชิ้นขึ้นไป บางทีก็เป็นสิ่งที่ต่อได้ยากจนน่าประหลาดใจ

ถาดภาพตัดต่อ

ภาพตัดต่อที่บรรจุอยู่ในถาดหรือกรอบมักจะไม่ค่อยมีรูปภาพภายในให้เด็กสังเกต จึงควรชี้แนะให้ลูกมองดูรูปภาพที่สมบูรณ์ ทั้งหมดก่อนหยิบเทออกมากระจัดกระจาย ในการซื้อภาพตัดต่อประเภทนี้ให้เลือกซื้อทุกอย่างที่มีคุณภาพดีสักหน่อย เพราะที่ราคาถูกมากๆ พบว่าเอาออกจากถาดได้ยาก

กล่องภาพตัดต่อ

เด็กอายุ 3 ปีขึ้นไป ที่เคยผ่านการฝึกหัดเล่นภาพตัดต่อง่ายๆ จะสนุกสนานกับกล่องภาพตัดต่อที่มีชิ้นส่วนรวม 20 25 และ 30 ชิ้น เด็กอายุ 4 ปี บางคนก็สามารถต่อได้ถึง 50 ชิ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพวกเขามีผู้ใหญ่สนับสนุนอยู่ข้างๆ

คุณพ่อคุณแม่สามารถเพิ่มทักษะในการเล่นภาพตัดต่อของลูกๆ โดยหารูปภาพที่มีส่วนชี้แนะมากๆ โดยเฉพาะภาพที่มีรูปทรงต่างๆ กัน ทดลองเล่นภาพตัดต่อทั้งขนาดเล็กขนาดใหญ่

เมื่อลูกของคุณสามารถเล่นภาพตัดต่อที่มีชิ้นส่วนมากกว่า 300 ชิ้นขึ้นไป คุณจะพบว่าเขาหรือเธอจะไม่สามารถต่อภาพให้เสร็จสมบูรณ์ได้ในการเล่น 1 ครั้ง ด้วยเหตุผลของการจำกัดเรื่องเวลาหรืออาจเป็นเพราะเขาขาดสมาธิก็ตาม อาจช่วยลูกด้วยการซื้อหากระดานเรียบเล็กๆ 1 แผ่น ขนาด 60X60 ซม. (24X24 นิ้ว) ไว้ใช้เป็นพื้นรองเกม เวลาต่อไม่เสร็จก็สามารถเก็บไว้ได้ จนกว่าจะนำออกมาเล่นครั้งต่อไป กระดานแผ่นนี้ยังใช้ประโยชน์ในการเล่นก่อสร้างอื่นๆ ได้อีกด้วย

วิธีช่วยส่งเสริมลูกรัก

วิธีการที่ดีที่สุดในการช่วยส่งเสริมลูกเพื่อการฝึกหัดทักษะต่างๆ ขึ้นอยู่กับอารมณ์ของลูกและประเภทของกิจกรรมที่จะทำ มีหลักเกณฑ์ง่ายๆ ที่คุณสามารถนำไปใช้ส่งเสริมลูกๆ ได้โดย...

ช่วยเหลือให้เป็นขั้นตอน

แบ่งกิจกรรมออกเป็นขั้นตอนเล็กๆ คอยให้ความช่วยเหลือเมื่อเริ่มต้นในแต่ละขั้นตอน “ตั้งเป้าหมาย” ที่เป็นจริง ปฏิบัติได้ เป็นต้นว่า “พ่อว่า...เราช่วยกันต่อชิ้นส่วนอีก 2 ชิ้น แล้วค่อยไปหม่ำข้าวดีมั้ยครับ” การพูดเช่นนี้ให้ผลดีกว่าการพูดว่า “ลูกต้องเล่นให้เสร็จก่อนนะ แล้วค่อยไปกินข้าว”

ทำงานย้อนหลัง บ่อยครั้ง เราพบว่า งานบางอย่างจะยากตรงการเริ่มต้น เช่น การเขียนหนังสือ แต่เมื่อเริ่มต้นได้แล้ว การเขียนก็จะลื่นไหลไปเรื่อย การต่อภาพก็เช่นเดียวกัน

ช่วยเหลือให้กำลังใจ

คงไม่มีใครปฏิเสธคำชมและกำลังใจ เด็กๆก็เช่นเดียวกัน คำชมเชยจะช่วยเด็กมีกำลังใจเพื่อทำสิ่งต่างๆ ไปได้ในที่สุด คุณพ่อคุณแม่ควรแสดงความชื่นชมและชี้ให้ลูกเห็นถึงความก้าวหน้าของพวกเขา ช่วยเหลือลูกเมื่อจำเป็น โดยระวังที่จะไม่ไปแย่งทำทุกสิ่งทุกอย่างให้ลูก

แตะ สัมผัส และมองดู

ส่งเสริมให้ลูกแตะสัมผัสและจับต้องสิ่งต่างๆ เมื่อมีโอกาศ เพื่อให้รู้จักรูปทรงและลักษณะพื้นผิวปนะเภทต่างๆ รวมทั้งสอนให้รู้จักมองสิ่งต่างๆ อย่างละเอียดถี่ถ้วนด้วย กิจกรรมต่อไปนี้ช่วยเสริมในเรื่องนี้ได้

อะไรอยู่ในถุงเอ่ย

ผลัดกันเล่นหาของที่อยู่ในถุงรองเท้าหรือปลอกหมอน โดยให้ทายว่ามันคืออะไร จากการสัมผัสเพียงอย่างเดียว

ทรายและน้ำ

ปั้มรอยฝ่ามือและรอยเท้าในบ่อทราย หรือใช้มือและเท้าเปียกๆ ทำรอยบนทางเดินเท้าถามเด็กๆ ว่า “มือและเท้าของเราทั้ง 2 ข้างเหมือนกันหรือไม่” (เด็กเล็กๆ จะไม่สามารถจำซ้ายและขวาได้ แต่พวกเขาก็พอจะมองเห็นว่ามันไม่เหมือนกัน) “ลองวางมือและเท้าให้อยู่เหนือรอยเดิมได้มั้ยจ้ะ เหนือรอยเก่าได้หรือไม่”

รูปทรงและพื้นที่

อัดทรายลงในกระป๋องหรือถ้วยโยเกิต แล้วเทออกมาซิจะเกิดอะไรขึ้น ทดลองทั้งทรายแห้งและทรายเปียก มองดูและสัมผัสภายในทรายอัดเหล่านี้ และเปรียบเทียบมันกับปราสาททรายที่ก่อ ลองพยายามวางทรายอัดรูปถ้วยนี้บนประสาททรายด้วย

ดูเยลลี่หรือวุ้นรูปร่างต่างๆ ที่อยู่ ทำน้ำแข็งก้อนและดูถาดน้ำแข็ง เทน้ำใส่ลงภาชนะเล็ก (ที่เข้าช่องแช่แข็งได้) หรือทำภาชนะเล็กจากกระดาษตะกั่ว แล้วเปรียบเทียบรูปร่างของน้ำแข็งในแบบพิมพ์แบบต่างๆ

ลวดลายและรูปแบบ

การเล่นร้อยลูกปัด แกนหลอดด้าย และปักหมุดกระดานช่วยส่งเสริมให้เด็กจดจำ คิดค้น ประดิษฐ์ และทำเลียนแบบ

ร้อยลูกปัดที่ทำจากไม้พลาสติกด้วยเชือกทั้งยาวและสั้น เก็บลูกปัดเหล่านี้ในภาชนะปากกว้างและตื้น และมัดปมเชือกด้วยลูกปัด 1 เม็ดทุกครั้งเสมอก่อนเก็บเข้าที่ เพื่อให้พร้อมที่ลูกจะเล่นได้เลยในครั้งต่อไป

คุณควรอยู่ใกล้ๆ ขณะที่ลูกเล่นร้อยลูกปัด แม้ว่าเด็กดูจะมีเหตุผลแล้วแต่บางครั้ง เขาอาจจะอยากใส่มันในหู จมูก หรือปาก

มักกะโรนี หรือแป้งผสมไข่บางชนิดสามารถใช้ร้อยได้ถ้าเด็กโตหน่อย ควรใช้เล้นด้ายขนาดโตหรือเส้นเอ็นสำหรับตกปลา แต่ไม่ควรใช้เข็มเพราะเส้นมักกะโรนีมักโค้งงอ

แกนหลอดด้ายเหมาะสำหรับการสร้างปิรามิดและหอคอยเช่นเดียวกับการร้อย โดยเฉพาะการร้อยตกแต่งรองเท้า ฟุตบอล และเบสบอล

งู

ทำงูด้วยการเลียนแบบและดูซิว่าลูกของคุณทำได้เหมือนแบบหรือไม่ ทำให้ลูกลองทำงูเองแล้วคุณลอกแบบของลูกให้ลูกตัดสินว่าคุณทำได้เหมือนหรือไม่ นอกจากนี้ใช้ทำมงกุฏและกำไลได้อีกด้วย

กระดานหมุด

สามารถใช้เพื่อสร้างแบบได้มากกว่า 1 ลายขึ้นไป กระดานหมุดประเภทที่มีหัวหมุดโตๆ และสามารถวางซ้อนหมุดแต่ละตัวได้นั้น เด็กอายุต่ำกว่า 4 ปีจะชื่นชอบมาก ซื้อหมุดไว้ให้มากพอและจัดเก็บทุกอย่างไว้รวมกันในถาดไม่ให้หมุดหาย

ชื่อรูปทรง

ทุกสิ่งทุกอย่างที่เราเห็นมีรูปร่าง แต่บางอย่างมีชื่อเรียกพิเศษเพื่ออธิบายรูปร่างลักษณะของมันโดยเริ่มจากวงกลม ชื่อรูปทรงต่อไปนี้ เป็นรูปทรงพื้นฐานที่ควรสอนให้ลูกรู้จัก

วงกลม ขีดเส้นวงกลมใหญ่ๆ เล่นเกมให้ทุกคนเดินไปรอบๆ วงกลมขณะร้องเพลง

จงหาวงกลมในบ้าน ให้เด็กๆ ช่วยกันมองว่ามีอะไรเป็นรูปวงกลมบ้าง เช่น โต๊ะอาหาร จานข้าว นาฬิกา กระดุม แหวน หรือกระป๋องอาหาร ลองให้เด็กใช้นิ้วมือวนไปรอบๆ เหยือกน้ำ เด็กจะพบว่าเหยือกน้ำก็เป็นวงกลมเหมือนกัน จากนั้นให้เด็กๆ มองหาวงกลมเล็กๆ เช่น หัวเข็มหมุด หรือหาสิ่งที่เป็นวงกลมใหญ่ๆ เช่น นาฬิกา พัดลม เป็นต้น

เมื่อพาลูกออกไปเดินเล่นนอกบ้าน อาจชี้ชวนสิ่งที่เป็นวงกลมให้เขาหรือให้เด็กๆ มาดูว่ามีอะไรบางทีเป็นวงกลม เช่น ล้อของรถยนต์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นรถเข็นลากของ รถเข็นของคนพิการรถประจำทาง หรือรถรางไฟฟ้า

สามเหลี่ยม คือรูปที่มีเส้นตรงสามเส้นมาบรรจงกัน เด็กที่สามารถนับจำนวนได้ถึง 3 มักสนุกกับการค้นหารูปทรงสามเหลี่ยม

สามเหลี่ยมเข้มแข็งเอาบล็อกหรือตัวต่อ(Bno) หรืออื่นๆ ที่คล้ายกันต่อเป็นรูปสามเหลี่ยมและต่อเป็นรูปสี่เหลี่ยม แล้วให้เด็กลองพยายามแกะมันออกจากกัน เด็กๆ จะเห็นว่าเขาสามารถเปลี่ยนรูปสี่เหลี่ยมได้ สามเหลี่ยมมีความสำคัญมากต่อการก่อสร้าง เพราะเป็นรูปทรงพื้นฐานที่สร้างความมั่นคงของการก่อสร้างรูปทรงต่างๆ มากที่สุด เพราะว่ามันมั่นคงซึ่งดูได้จากนั่งร้าน โคลงยกพื้นของจักรยาน 2 ล้อ รถเข็น เป็นตัวอย่างของประโยชน์ของรูปสามเหลี่ยม

แบ่งครึ่งสี่เหลี่ยมผืนผ้า เมื่อเราแบ่งครึ่งสี่เหลี่ยมแล้วเราจะได้สามเหลี่ยม 2 รูป ลองทำสามเหลี่ยมให้เด็กๆดู โดยการแบ่งครึ่งขนมปังแซนวิชหรือขนมปังปิ้ง หรือตัดกระดาษแบ่งครึ่งโดยเส้นทะแยงมุมทำให้เกิดรูปสามเหลี่ยมที่ใช้วาดหรือระบายสีภาพได้

สี่เหลี่ยมผืนผ้า

สี่เหลี่ยมผืนผ้าคือรูปที่มีเส้นตรง 4 เส้น มาบรรจงกันและก่อให้เกิดมุมฉาก 4 มุม สี่เหลี่ยมจตุรัสคือรูปสี่เหลี่ยมพิเศษที่มีด้านยาวเท่ากัน

ของเล่นหยอดรูปทรง

ครั้งแรกควรให้เริ่มเล่นของเล่นที่หยอดได้เพียง 3 หรือ 4 ชิ้นส่วนก็พอ (และรูปทรงหนึ่งควรมีหลายชิ้น)
ของเล่นหยอดรูปทรงที่ยากมากขึ้นข้างบน เป็นของเล่นที่ดี เด็กเล็กๆ ชอบกลิ้งมันไปมา เพราะเวลามันกลิ้งจะมีเสียงดังจากของที่บรรจุอยู่ข้างในด้วย คุณอาจช่วยลูกโดยการบอกชื่อและชี้อธิบายให้รู้ว่าชิ้นไหนควรใส่ช่องใด เช่น มันควรใส่ซีกสีแดง หรือซีกสีฟ้า เป็นต้น

ชิ้นส่วนรูปทรงต่างๆ ยังใช้เล่นต่อซ้อนๆ กันขึ้นไป หรือใช่เล่นก่อสร้างได้ ใช้เป็นแม่พิมพ์กดแป้งโด และใช้เป็นแม่พิมพ์เวลาเล่นระบายสีได้อีกด้วย

เด็กส่วนใหญ่จำเป็นต้องให้ผู้ใหญ่ช่วยเปิดลูกบอลนี้ เพื่อเทชิ้นส่วนออกมาเล่นหยอดใหม่อีกครั้ง

การเล่นบล็อก

บล็อกรูปทรงต่างๆ ที่สะสมไว้จะช่วยให้เด็กได้เรียนรู้ชื่อรูปทรงทางเรขาคณิตซึ่งมีอยู่หลายชื่อด้วยกัน เช่น ทรงลูกเต๋า ทรงลูกบาศก์ ทรงกระบอก รูปกรวย และทรงแบบก้อนอิฐ เป็นต้น

เด็กเล็กๆ จะสนุกสนานมากหากได้ล้มบล็อกสูงๆ ที่มีคนก่อเป็นหอคอยได้ เมื่อพวกเขาโตขึ้นก็จะค่อยๆ เริ่มให้ความร่วมมือในการเล่นได้มากขึ้น มีความคิดในการก่อสร้างมากขึ้น และยอมรับหรือลดความรำคาณใจลงเมื่อสิ่งก่อสร้างล้มลงอย่างไม่นึกฝัน

เพราะว่าการเล่นบล็อกนี้ ขึ้นอยู่กับความสมดุลของบล็อกที่ก่อ (ไม่เหมือนเลโก้ หรือพลาสติกตัวต่อสร้างสรรค์อื่นๆ) จึงจำเป็นต้องมีที่กว้างๆ เวลาเล่น เพื่อเด็กจะได้เคลื่อนที่ไปรอบๆ โดยไม่ชนให้ล้มลง

การให้เด็กเล่นบล็อกบนพื้นช่วยให้เขามีการมองจากที่สูง ขณะก่อสร้างควรชักชวนให้เด็กเล่นบล็อกบนโต๊ะในบางครั้งเพื่อให้เขาได้ทำงานในระดับสายตาบ้าง

จัดหาวัสดุอัปกรณ์อื่นๆ เพิ่มเติม เช่น ตุ๊กตาไดโนเสา เอาไว้ปีนภูเขาและอาศัยอยู่ในถ้ำจัดหาสิ่งอื่นๆ เช่น สัตว์จำลอง คนจำลอง ตุ๊กตา เครื่องเรือน เครื่องใช้ในบ้าน รถยนต์จำลอง เพื่อเสนอแนะความคิดใหม่ๆ ให้แก่เด็ก

พูดคุยกับลูกเกี่ยวกับสิ่งที่เขาสร้าง ร่วมสร้างด้วยถ้าคุณทำได้ ให้คำแนะนำและเลียนแบบความคิดผู้อื่นบ้าง สิ่งที่ดีสำหรับการเล่นบล็อกและของเล่นก่อสร้างอื่นๆ ก็คือเมื่อทดลองสร้างอะไรแล้วไม่ถูกใจ ก็สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ไม่เหมือนการวาดภาพระบายสี ซึ่งเมื่อใช้ความพยายามวาดหรือทำแล้วก็ยากที่จะเปลี่ยนแปลงได้

การพูดคุยสนมนากับลูกคอยให้กำลังใจและช่วยเหลืออย่างเหมาะสมจะช่วยให้เขามีสมาธิทำงานต่อไปด้วยความมั่นใจและทำสำเร็จได้

ของเล่นสร้างสรรค์

ของเล่นสร้างสรรค์เป็นของเล่นที่ช่วยสร้างประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ที่มีคุณค่าอย่างยิ่งสำหรับเด็ก เด็กผู้ชายส่วนใหญ่จะชอบเล่นประเภทนี้ เพื่อไม่ให้เสียโอกาศที่ดีไป คุณพ่อคุณแม่หรือคุณครูควรให้โอกาศและสนับสนุนให้เด็กผู้หญิงได้เล่นของเล่นประเภทนี้ด้วย

ของเล่นสรรค์สร้างดีๆ มีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปี แต่ละอย่างมีคุณค่าและประโยชน์มากกว่าของเล่นที่เรามีเมื่อครั้งยังเป็นเด็ก ผลที่เกิดขึ้นคือ มีผู้ใหญ่หลายคนโดยเฉพาะผู้หญิงไม่เคยมีโอกาศได้เล่นของเล่น เช่น เลโก้ บริโอ โมบิโล ซึ่งทำให้เกิดความไม่แน่ใจว่าควรจะทำอะไรกับมัน บางครั้งจึงดูเหมือนว่าเด็กของเราไม่ได้ใช้ประโยชน์จากของเล่นเหล่านี้ได้เต็มที่

เล่นของเล่นสรรค์สร้างให้สร้างสรรค์

เมื่อคิดจะซื้อของเล่นสรรค์สร้างให้กับลูก หลัก 4 ประการต่อไปนี้จะช่วยทำให้คุณตัดสินใจเลือกซื้อและใช้ประโยชน์จากมันอย่างเต็มที่

ปริมาณ

เป็นสิ่งสำคัญเป็นการยากที่จะจินตนาการและคิดสร้างสรรค์กับของเล่นที่จำนวนน้อยชิ้น เด็กๆ จะไม่สนุกและเกิดความรำคาณใจได้ ลองนึกภาพดูถ้าหากเราเข้าครัวทำกับข้าวแต่มีส่วนผสมเพียง 3-4 อย่าง การทำอาหารมื้อนั้นคงไม่น่าสนุกและไม่ได้อย่างใจเป็นแน่ เด็กๆ กับของเล่นน้อยชิ้นก็ไม่แตกต่างกัน ฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรหาซื้อของเล่นที่มีปริมาณมากพอที่เด็กจะเล่นหรือจินตนาการได้อย่างสนุกสนานจะดีกว่า

คุณภาพ

เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน ของเล่นสรรค์สร้างดีๆ ดูเหมือนจะมีราคาค่อนข้างแพง แต่ก็ส่วนใหญ่ก็ใช้เล่นได้เป็นเวลานานถึง 6-7 ปี ควรระวังของปลอม ถ้าจะต้องซื้อของเลียนแบบราคาถูกควรมีการทดสอบคุณภาพก่อน มิฉะนั้นถ้าต่อกันไม่เข้าก็ใช้เล่นต่อไปไม่ได้

การเก็บรักษา

น่าเสียดายที่หลายบ้านไม่สนใจเรื่องนี้เลย ทำให้เกิดการชำรุดและสูญเสียอย่างไม่จำเป็น ของเล่นเหล่านี้ควรมีที่เก็บที่หยิบออกมาเล่นได้ง่ายและเก็บเข้าที่เดิมไม่ลำบาก เพื่อที่เด็กจะได้รู้สึกอยากเล่นมากๆ ถึงแม้จะมีเวลาสั้นๆ กล่องกระดาษที่บรรจุของเล่นเหล่านี้มักเก็บได้ไม่นานถึงแม้ว่ามันจะดูดีเพราะมีภาพถาวรเป็นตัวอย่างก็ตาม จริงๆ แล้วกล่องที่ใช้เก็บควรมีขนาดใหญ่หน่อย ด้วยเหตุผล 2 ประการ ประการแรก เด็กๆ จะได้สามารถค้นหาชิ้นส่วนต่างๆ ได้สะดวกง่ายดาย และประการที่สอง เป็นการกระตุ้นให้คุณจัดหามาเพิ่มเพราะยังมีพื้นที่บรรจุได้อีก

ภาชนะที่มีก้นตื้น เรามักจะเก็บเลโก้ไว้ที่ลิ้นชักชั้นล่างสุดโดยมี Dupio Lego อยู่ชั้นหนึ่ง Little Lego อยู่อีกชั้นหนึ่ง และเวลาเล่นก็ดึงออกมาทั้งชั้น อ่างซักผ้าใหญ่ๆ กระเป๋าช้อปปิ้งใบโตๆ กล่องพลาสติกโตๆ ก็เหมาะสมที่จะนำมาให้เป็นที่เก็บของเหล่านี้

เพื่อนร่วมเล่น เป็นสิ่งที่มีประโยชน์มากในการเล่นสรรค์สร้าง เพราะเด็กๆ จะได้มีโอกาศพูดคุย แสดงความคิดเห็นหรือจิตนาการจะทำอะไรต่อไป และจะแก้สิ่งที่กำลังทำ การเล่นประเภทนี้จะทำให้เด็กๆ ต้องคิดวางแผนว่าอยากทำอะไร ปัญหาที่ต้องเผชิญอย่างไร ดังนั้น การพูด การคุยจึงเป็นสิ่งที่ดี

เด็กทุกคนควรได้มีโอกาศเล่นกับของเล่นสรรค์สร้างหลายๆ ประเภท เป็นเวลานานพอสมควร บางคนอาจได่เล่นกับเพื่อนในชั้นเรียน เช่น ชั้นเนิสเซอรี่ ชั้นอนุบาล และบางคนเล่นที่บ้าน

ถ้าคุณมีของเล่นสรรค์สร้าง 2-3 ชนิด ก็ไม่ควรนำออกมาให้พร้อมๆ กันหมด เพราะมันจะสร้างความลำบากในการเก็บเข้าที่เมื่อเลิกเล่น อย่างไรก็ดีอของเล่นหลายชนิดจะมีประโยชน์มากหากมีพ่อแม่คอยชี้เปรียบเทียบให้ลูกเห็นความแตกต่างเมื่อต่อเสร็จแล้ว การเก็บของเล่นเข้าที่ช่วยเพิ่มพูนทักษะการแยกประเภทให้แก่เด็กได้ดี อีกสิ่งหนึ่งที่คุณพ่อคุณแม่พึงระวังก็คือ ไม่ควรรื้อสิ่งที่เด็กสร้างเสร็จแล้วเร็วเกินไปเพียงเพราะอยากให้บ้านสะอาดหมดจด โดยเฉพาะถ้าเขารู้สึกภาคภูมิใจในสิ่งที่เขาสร้าง

งานใหม่ ลองให้ลูกได้หาของเล่นประเภทเล่นสรรค์สร้างโดยคุณไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวดังที่คุณเองเคยรู้สึกพอใจในการได้ทำสิ่งหนึ่งด้วยตนเอง ซึ่งจะเป็นการสร้างความมั่นใจในภารกิจใหม่ๆ ให้แก่เขาในอนาคต นอกจากนี้จะได้ไม่เป็นการปลูกฝังให้เด็กมีความคิดว่าจะมีวิธีการที่ในการทำบางสิ่ง

ตัวอย่างการเล่นสรรค์สร้าง

ดิฉันได้เลือกตัวอย่างของเล่นสรรค์สร้างมาแนะนำไว้ในที่นี้เพียง 4 ประเภท แต่ละประเภทจะช่วยเพิ่มพูนประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์แก่เด็ก เด็กๆ จะสามารถใช้รูปแบบที่ง่ายและซับซ้อน ดังนั้นจึงเหมาะกับผู้เล่นที่ฝึกหัดใหม่ที่มีประสบการณ์มาแล้ว

ดัปโพลและเลโก้ (Duplo and Lego)

เป็นบล็อกต่อพลาสติกอย่างดี ที่ใช้ต่อเป็นยานพาหนะ สัตว์ ผู้คน และรางรถไฟ ฯลฯ ซึ่งทั้งสวยงามแข็งแรงและเล่นง่าย

เลโก้ (Lego)

ใช้ในการเล่นก่อสร้าง รถยนต์ สัตว์ สัตว์ประหวาด และคน โมเดลทุกโมเดลสัมพันธ์กับขนาดและรูปทรงของอิฐที่จะใช้เล่นก่อสร้าง และเชื่อมต่อกันได้ดีที่สุด เมื่อเด็กเริ่มมีความมั่นใจในการสร้างสิ่งที่ตนคิดมากขึ้น พวกเขาจะเริ่มคิดใช้สีต่างๆ และการสร้างสรรค์ลวดลายต่างๆ ให้ได้สัดส่วนมากยิ่งขึ้น

ต่อเมื่อเด็กอายุเลย 5 ปี เขาพร้อมที่จะสร้างรูปแบบต่างๆ ตามที่เขาคิดและต้องการรวมทั้งดัดแปลงไปเป็นรูปต่างๆ ได้

ลูกเต๋าเชื่อมติด

เป็นชุดพลาสติกลูกเต๋าที่มี 10 สี เชื่อมติดกันได้ เด็กๆ จะได้ประโยชน์ในการเรียนรู้เรื่องจำนวน ลูกเต๋านี้จะเชื่อมต่อติดกันได้ทั้ง 6 ด้าน จึงต่อเป็นรูปสัตว์ต่างๆ ฯลฯ ได้ โดยที่ทุกส่วนจะสามารถเคลื่อนไหวได้

บริโอ-มี (Brio-Mee)

ชุดบริโอ เป็นของเล่นเกี่ยวกับงานช่าง มีทั้งฆ้อน คีม และไขควง ใช้สำหรับซ่อมแซมของเล่นต่างๆ ที่สามารถถอดเป็นชิ้นๆ ได้ ถึงแม้ว่าในระยะแรกๆ เด็กส่วนใหญ่จะไม่ชอบเครื่องมือและชอบใช้เพียงนิ้วมือ แต่เขาก็ค่อยๆ เรียนรู้และเคยชินในที่สุด

เมื่อเด็กๆ เอาชิ้นส่วนมาเชื่อมติดต่อกันจะทำให้ชิ้นส่วนต่างๆ เคลื่อนไหวได้อย่างน่าสนใจ นอกจากนี้เด็กๆ ยังได้เรียนรู้วิธีป้องกันไม่ให้มันเคลื่อนไหวเมื่อไม่ต้องการด้วย

โมบิโล (Mobilo)

โมบิลทำจากพลาสติกที่เรียบและทนทาน สีสวยงาม ทำความสะอาดง่าย และแข็งแรงของเล่นชนิดนี้จะมีตัวเชื่อมที่จะสามารถหมุนหรืองอบางส่วนของสิ่งที่ต่อเข้าด้วยกันได้ ของเล่นโมบิโลจะเป็นฐานที่ดีในการทำงานในเรื่องมุมต่อไป

ส่วนประกอบที่สำคัญจะทำจากโครงสร้างรูปสามเหลี่ยม เมื่อสร้างเสร็จ คุณจะสามารถมองเห็นสิ่งที่อยู่ภายในได้ซึ่งจะทำให้น่าสนใจมากขึ้น

ลองสร้างเครื่องจักรตัวรถดับเพลิงที่มีบันไดหมุนไปมา และพับเก็บได้ เป็นของเล่นที่ช่วยเรื่องการเรียนรู้คณิตศาสตร์และจินตนาการได้อย่างดี หรือสร้างสัตว์ประหลาดที่มีแขนและขางอกได้ ซึ่งจะทำให้ดูเหมือนก้อนหินเมื่อถูกพับเก็บ

ถนนและรางรถไฟ

การสร้างถนนและรางรถไฟเป็นการเล่นที่ช่วยส่งเสริมเริ่งรูปทรงและพื้นที่ได้เป็นอย่างดีและจะดูน่าสนใจยิ่งขึ้นถ้ามีทางตรงและทางโค้ง และมีพื้นที่รอบๆ ด้วย เส้นทางที่ครบวงจรสำหรับรถยนต์หรือรถไฟไม่จำเป็นต้องเป็นระเบียบแบบแผนเสมอไป โดยเฉพาะเมื่อมีทางรถไฟสั้นๆ ก็เช่นเดียวกับที่มันไม่จำเป็นต้องเหมือนชีวิตจริง เพราะการเดินทางจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่งจะไม่เป็นวงกลมเสมอไป ในวงแหวนอาจสร้างภูเขา สถานีรถ บ้านและเมืองที่สมบูรณ์ โดยเฉพาะมีจุดเริ่มต้นและจุดหมายปลายทาง

เรียนรู้จากลวดลาย

มองหา “ลาย” ชวนลูกสังเกตลวดลายต่างๆ ที่พบ ไม่ว่าคุณจะเดินทางไปที่ไหน ที่บ้าน ห้องน้ำ บนถนน โรงหนังโรงละคร คุณจะพบลายง่ายๆ ในกระเบื้อง บนทางเท้า กำแพงอิฐ ทางรถไฟ กระดาษปิดฝาผนัง ม่าน และพรมบางชนิด กระดาษห่อของที่มีลายซ้ำๆ กัน คุณอาจจะเลือกเด่นๆ มาให้เด็กดูแล้วชอบให้หาว่ามีลายที่เหมือนกันที่ใดบ้าง

มองที่วัตถุจากเงาสะท้อนในกระจกเงา ในน้ำ หรือบนพื้นมันๆ คุณจะสามารถเห็นทั้งส่วนหน้าและส่วนหลังโดยไม่ต้องหมุนไปรอบๆ เลย สำหรับเด็กอายุ 5 ปีขึ้นไปให้ทดลองต่อโมเดล (จากเลโก้ เป็นต้น) ที่มีส่วนหน้าเหมือนกับส่วนหลังทุกประการ

ลายที่มีอยู่ธรรมชาติก็มีความสำคัญเช่นกัน ลองดูมะเขือเทศ แอบเปิ้ล และหัวหอม เมื่อคุณผ่าครึ่งจากส่วนบนลงส่วนล่างโดยเปรียบเทียบกับการผ่าจากด้านข้างแต่ละด้าน ตรวจสอบมีอะไรที่เหมือนกันและที่ต่างกันบ้าง

การพิมพ์

สร้างลวดลายของตนเองหรือรูปภาพสำหรับพิมพ์จากผักหรือวัสดุเล็กๆ อื่นๆ ครั้งแรกให้ทดลองหับผักก่อน โดยผ่ามันฝรั่งหัวเล็กๆ แบ่งครึ่ง แล้วใช้มีดคมๆ ผ่าเป็นรูปทรงอื่นๆ

ผสมสีฝุ่นลงในขงดโหล (ผสมให้ข้นพอสมควร) หรือใช้สีผสมสำเร็จรูป ทดลองครั้งละเพียง 1 สี ในตอนแรกเพื่อให้รู้จักรูปพรรณหลากหลาย ต่อมาจึงค่อยเริ่มสีอื่นๆ อีก 2-3 สี ในตอนแรกเพื่อให้รู้จักรูปทรงหลากหลาย ต่อมาจึงค่อยเริ่มสีอื่นๆ อีก 2-3 สี

กระดาษใช้พิมพ์ รวมทั้งประเภทของกระดาษที่ใช้ด้วย สำหรับเด็กเล็ก แล้วกระดาษที่ซึมง่าย และกระดาษสีน้ำตาลจะมีความเหมาะสมกว่าประเภทอื่นๆ ควรใช้กระดาษหนังสือพิมพ์แผ่นโตๆ รองพื้นไว้ด้วยเพื่อช่วยไม่ให้สกปรกเลอะเทอะ

ใช้พู่กันระบายสีบนชิ้นส่วนรูปทรงที่ต้องการพิมพ์แล้วกดลงแบบพิมพ์นี้ลงบนกระดาษให้แน่น

การทำเช่นนี้ดีกว่าจุ่มชิ้นส่วนในจานสีเพราะสีจะกระจายได้ดีกว่า ทั้งมันยังช่วยให้ลูกของคุณมีโอกาศมองดูรูปทรงได้นานขึ้น ขณะที่ใช้พู่กันระบายสีให้ทั่ว

คุณอาจหาวัสดุต่างๆ ที่คิดว่าเวลาพิมพ์แล้วจะเห็นลวดลายที่ชัดเจนมาให้เด็กๆ ทดลองทำดูด้วย จะหยุดและเรียกความสนใจมากทีเดียว

การทำบล็อกแม่พิมพ์

เราสามารถทำพิมพ์บล็อกง่ายๆ ขึ้นได้เอง โดยการตัดฟองน้ำหนาๆ จุดไม้ค๊อก พรม รองพื้น หรือสำลี และทากาวชิ้นส่วนเหล่านี้เข้ากับไม้กระดานเล็กๆ หรือกระดาษแข็งมากๆ ใช้กาวทาที่กันน้ำได้ เช่น กาวตารช้าง รอให้แห้งสนิทมากๆ ก่อนใช้ หลังจากใช้บล็อกเหล่านี้แล้วควรล้างบล็อกพิมพ์เหล่านี้ทุกครั้ง แล้วทิ้งไว้ให้แห้งก่อนที่จะนำมาใช้ครั้งต่อไป

กล่องต่างๆ

กล่องกระดาษแข็ง เช่น กล่องใช้เครื่องไฟฟ้า กล่องเครื่องซักผ้าที่ไม่ได้ใช้แล้วจะกลายเป็นบ้านหลังโปรดของลูกๆ ได้ระยะหนึ่ง ชักชวนให้ลูกคุณวาดรูปหน้าต่างด้วยปากกาเส้นใหญ่ๆ เห็นชัดเจนที่ฝากล่องด้านหนึ่ง แล้วเจาะช่องหน้าต่างด้วยมีดคมๆ จัดหาหมอนและผ้าห่มผืนเล็กๆ เพื่อให้บ้านจำลองเหมือนจริง และน่าอยู่ยิ่งขึ้น หรือทำเครื่องเรือนจากกระดาษแข็ง ตกแต่งด้านนอกถ้าคุณต้องการ

วิธีการสร้างเต้นท์มีหลายวิธีด้วยกัน คุณเองก็อาจจะมีสิธีที่คุณชอบอยู่ ในที่นี้จะขอแนะนำวิธีสร้างเต้นท์ 2 วิธี ดังนี้

1. เต้นท์โต๊ะ ใช้ผ้าห่ม ผ้าปูที่นอน หรือผ้าปูโต๊ะ คลุมให้ทับโต๊ะที่ต้องการ ใช้เข็มหมุดหรือเข็มกลัดซ่อนปลายตึงหัวมุมให้แน่น

การทำอาหาร ทำแคมป์หรือเตาบาบีคิว โดยใช้ตะแกรงต่างๆ วางบนอิฐก้อนเล็กๆ 2 ก้อน หรือใช้กล่องรองเท้าเล็กๆ หรือกล่องกระดาษทิชชูมาวางแทนก็ได้ ค่ายพักแรมก็ควรให้เด็กยืมใช้ได้

2. เต้นท์เก้าอี้ ผูกเชือก 2 เส้นไว้ระหว่างเครื่องเรือนหนักๆ 2 ชิ้น แต่ควรมีระดับความสูงเท่ากัน เช่น อาจใช้เก้าอี้โต๊ะอาหาร 2 ตัว แล้วพาดผ้าปูที่นอนคลุมเชือกที่ขึงไว้ให้อยู่ระหว่างตรงกลาง แล้วติดผ้าให้แน่นด้วยเข็มกลัด จากนั้นใช้เครื่องกระป๋องหนักทักชายผ้าไว้ไม่ให้ปลิว

 5. การนับจำนวนเพิ่ม

เราทราบกันแล้วว่าเด็กเรียนรู้การนับจำนวนได้อย่างไร และพวกเขาจะค่อยๆ เพิ่มความมั่นใจ และความคุ้นเคยกับจำนวนที่เพิ่มอย่างไร ขอย้ำว่าการเรียนรู้การนับของเด็กๆ ใช้เวลานานกว่าที่ผู้ใหญ่จะคาดคิด และประสบการณ์นับของจริงสำหรับเด็กนั้นมีความสำคัญที่สุด

ในบทนี้จะเน้นเกี่ยวกับการลงมือปฏิบัติเรื่องจำนวน เราสามารถช่วยลูกให้เรียนรู้จำนวนทั้งจำนวนมาก และน้อย คือการบวก ลบ คูณ และการหาร ในขั้นต้น ซึ่งเป็นหัวใจคณิตศาสตร์ได้อย่างไร

การบวก

เด็กๆ เรียนรู้การบวกได้อย่างไร เช่นเดียวกับการนับ มันเป็นกระบวนการที่ซับซ้อนมากกว่าที่คุณจะคาดคิด และเด็กแต่ละคนก็มีวิธีการเรียนรู้ต่างๆกันไป

ดิฉันได้ลองถามโจทย์เกี่ยวกับการบวกเลขกับเด็ก 5 คน เด็กแต่ละคนจะมี “ส่วนที่ว่างเปล่า” และส่วนซึ่งบรรจุแมลงเต่าทองไว้เต็มพื้นที่อย่างถูกต้อง และดิฉันรู้ดีว่าพวกเขาแต่ละคนสามารถนับได้ถึง 6 อย่างถูกต้อง คุณเองก็น่าจะลองเกมนี้กับเด็ก 2-3 คน เพื่อดูว่าพวกเขาสามารถทำได้ถึงขั้นใด

ดิฉันได้ทดลองเล่นเกมนี้กับเด็กๆ 6 คน ที่มีสัยตั้งแต่ 4 ขวบขึ้นไป โดยพูดกับเด็กทีละคนว่า

“ในสวนของฉันมีเต่าทอง 2 ตัว เกาะอยู่ที่กำแพง และ 4 ตัวอยู่บนสนามหญ้า ในสวนของฉันมีเต่าทองรวมทั้งหมดกี่ตัว”

เด็กวัย 4 ขวบ แสดงการนับโดยเริ่มจาก วางรูปเต่าทอง 2 ตัวไว้บนกำแพงและอีก 4 ตัวบนสนามหญ้า แล้วนับจำนวนทั้งหมดโดยเริ่มจากตัวแรก “1-2-3-4-5-6” สุดท้ายเขาจะตอบว่า “มีเต่าทอง 6 ตัว”

เด็กวัย 5 ขวบ เริ่มโดยวางเต่าทอง 2 ตัวบนกำแพง และอีก 4 ตัวบนสนามหญ้าแล้วนับจากตัวแรก “2-3-4-5-6” “มี 6 ตัว”

เด็กหญิงอายุ 5 ขวบ วางเต่าทอง 2 ตัวบนกำแพง และอีก 4 ตัวบนสนามหญ้า แล้วก็นับจากสนามหญ้าที่มีแมลงเต่าทองอยู่ 4 ตัว โดยเริ่มนับจาก 4 แล้วต่อด้วย 5-6 “มี 6 ตัว”

สำหรับเด็กอายุ 6 ขวบ ไม่สนใจที่จะนับเต่าทองใดๆ เธอใช้นิ้วมือแทน เธอรู้จากประสบการณ์ของเธอว่า เธอสามารถนับ 2 และ 4 รวมกันแล้วจะได้ผลลัพท์จำนวนเท่ากับคือ “2 และ 4 รวมกันเป็น 6 มีเต่าทอง 6 ตัว”

เด็กอายุ 6 ขวบอีกผู้หนึ่ง สามารถให้คำตอบได้ทันที เพราะเขาเคยนับจำนวน 2 และ 4 มาแล้ว จนเขารู้ว่าคำตอบเป็น 6 โดยไม่ต้องนับอีกแล้ว ถ้าดิฉันซักถามด้วยคำถามที่ยากมากขึ้น เขาอาจจะต้องใช้สิธีการนัยหาคำตอบก็ได้

ผู้ใหญ่ไม่ควรเร่งรัดเด็กเมื่อเขาเรียนรู้ การนับไม่ว่าจะเป็นเรื่องการบวก หรือลบก็ตาม ควรปล่อยให้เด็กๆ สร้างความคุ้นเคยกับตัวเลขและจำนวนต่างๆ ด้วยตนเอง

เกมการบวก

ถ้าคุณได้ทำเต่าทอง สัตว์ประหลาดในอ่างน้ำ หรืองูในป่าใหญ่ ไว้แล้ว คุณก็สามารถจะนำมันมาใช้เพื่อให้เด็กเรียนรู้เรื่องการบวกได้ โดยนำเอาตัวสัตว์มาวางกันแล้วให้เด็กนับ

ต่อไปนี้เป็นเกมอื่นๆ เพิ่มเติมสำหรับสอนเรื่องการบวกและการลบ

เกมสัตว์ประหลาดในชุดแฟนซี

เตรียม

- กระดาษแข็ง 4 แผ่น

- กระดุม 40 เม็ด ที่สามารถจัดกลุ่มง่ายๆ เป็น 2 ประเภท เช่น เม็ดใหญ่ 20 เม็ด เม็ดเล็ก 20 เม็ด หรือเม็ดสีแดง 20 และสีอื่นๆ 20 เป็นต้น

- ปากกาเมจิกหรือสีเทียน

- กล่องเก็บของ

* วาดภาพสัตว์ประหลาดใส่เสื้อผ้าแบบต่างๆ

* เด็กๆ นับจำนวนสัตว์ประหลาดซิค่ะ ดูว่ามันมีกระดุมกี่เม็ด ตัวที่ 1 ตัวที่ 2 มีกระดุมรวมกันกี่เม็ด

เริ่มสอนจากจำนวนน้อยๆ แล้วค่อยๆ เพิ่มจะไม่ทำให้เด็กสับสนยุ่งยากและหมดสนุก

ในการสอนเรื่องการบวกลบจำนวน ควรหลีกเลี่ยงคำถามที่มีตัวเลขที่ยากเกินกว่าลูกของคุณจะนับได้อย่างมีความสุขและไม่สับสน

การเริ่มต้นพยายามใช้จำนวนน้อยๆ แล้วจึงค่อยๆ เพิ่มจำนวนเมื่อลูกมีความชำนาญมากขึ้น

ทั้งหมดมีเท่าใด

เริ่มต้นเกมนี้ด้วยนิทาน เช่น “มีสัตว์ประหลาดตัวหนึ่ง มันชอบสวมเสื้อที่มีกระดุม มันไม่สนใจเลยว่า กระดุมที่ติดจะเหมือนกันทุกเม็ดหรือเปล่า เจ้าสัตว์ประหลาดตัวสีฟ้าเย็บกระดุมจำนวนหนึ่งเข้ากับเสื้อของมัน มันใช้กระดุมใหญ่ 2 เม็ด และกระดุมเล็ก 1 เม็ด รวมหมด แล้วถามลูกว่ามันเย็บกระดุมทั้งหมดกี่เม็ด

เมื่อจบคำถามให้เด็กนับจำนวนกระดุมดังๆ โดยวางกระดุมที่งหมดลงบนแผ่นภาพการ์ตูน และนับจำนวนรวมแล้วหมุนเวียนผลัดกันเล่านิทานหรือเรื่องจากทำนองเดียวกัน

การทำซ้ำและความหลากหลาย

ให้ลูกของคุณฝึกหัดกับผลบวกแต่ละจำนวนซ้ำๆ กัน โดยใช้เวลา 1 สัปดาห์ทดลองผลบวกแต่ละจำนวนกับสิ่งของต่างๆ ที่แตกต่างกันไป เพื่อให้เด็กๆ มองเห็นและเข้าใจว่า ของที่มีจำนวนเท่ากัน ไม่ว่าจะเปลี่ยนแปลงรูปทรงอย่างไรก็ยังมีจำนวนเท่ากัน เช่น งูผอม 1 ตัว บวกงูผอม 2 ตัว เท่ากับงูผอม 3 ตัว เช่นเดียวกันงูอ้วน 1 ตัว บวกงูอ้วน 2 ตัว จะได้งูอ้วน 3 ตัว เด็กจะตระหนักถึงความจริงว่าไม่ว่าจะนับอะไรก็ตามจะเป็นงูตัวอ้วน งูตัวผอม เต่าทองบนกำแพง และบนสนามหญ้า ฟองน้ำสีฟ้าและฟองน้ำสีเหลือง รถสีเขียวหรือรถสีแดง ฯลฯ สิ่งเหล่านี้จะไม่เปลี่ยนไปตามลักษณะหรือรูปทรง

ข้อเท็จจริงของคณิตศาสตร์

“หนึ่งบวกสองเท่ากับสาม” เป็นข้อเท็จจริงทางคณิตศาสตร์ กล่าวคือ เป็นข้อความของความจริงในการใช้จำนวน คนบางคนเรียกว่า Number Bonds ซึ่งมีความหมายเช่นเดียวกัน

“สูตรคูณ” ก็ถือเป็นข้อเทจจริงทางคณิตศาสตร์ที่เด็กๆ จำเป็นต้องเรียนรู้เหมือนกับที่พ่อแม่เคยเรียนและท่องแต่ไม่ว่าจะเป็นเรื่องบวก ลบ คูณ หาร สำหรับคณิตศาสตร์แล้ว พื้นฐานการบวกมาก่อนเป็นอันดับแรก

มีสิ่งต้องเรียนรู้มากมาย

เพื่อให้คุณเข้าใจได้ง่ายขึ้นว่า การจะเรียนรู้เรื่องการบวกซึ่งเป็นพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ต้องเรียนรู้สิ่งต่างๆ มากมายเพียงใด และจะขอนำตารางพื้นฐานการบวกมาแสดงเพื่อให้เกิดความเข้าใจมากขึ้น

(อย่าพยายามเขียนสิ่งเหล่านี้ให้ลูกคุณเห็นก่อนที่เขาจะเข้าใจอย่างท่องแท้เพราะมันไม่มีประโยชน์สำหรับเด็กๆ)

0 + 0 = 0          1 + 0 = 1            2 + 0 = 2

0 + 1 = 1           1 + 1 = 2            2 + 1 = 3

0 + 2 = 2           1 + 2 = 3            2 + 2 = 4

0 + 3 = 3           1 + 3 = 4            2 + 3 = 5

0 + 4 = 4           1 + 4 = 5              2 + 4 = 6

จากตารางพื้นฐานการบวกจะเห็นว่า ถ้าจะเขียนตารางให้เต็มถึงจำนวน 10 ทั้งแนวตั้งและแนวนอนแล้วจะมีข้อเท็จจริงทางคณิตศาสตร์ทั้งหมด 121 ข้อ ซึ่งคุณไม่จำเป็นต้องรีบร้อนที่จะสอนเด็กทั้งหมด การบวกเช่นนี้ควรสอนอย่างค่อยไป สอนทีละน้อยๆ และสอนให้สนุกสนานด้วยการเรียนที่ลงมือปฏิบัติจากการนับจำนวนของจริงๆ กลุ่มจำนวนเลข(NumberFamilies)กลุ่มจำนวนเลขคือข้อเท็จจริงทางคณิตศาสตร์ต่างๆ ที่ให้ผลลัพธ์เดียวกัน

แบบฝึกหัดเกี่ยวกับข้อเท็จจริงทางคณิตศาสตร์ควรฝึกหัดขอ้เท็จจริงทางคณิตศาสตร์กับสิ่งต่างๆ ที่เด็กคุ้นเคยและน่าสนใจ ต่อไปนี้คือคำแนะนำบางประการ

หมี 3 ตัวเล่นบทบาทสมมุตินิทานเรื่องหมี 3 ตัว เป็นฉากชีวิตประจำวันในบ้านของหมี 3 ตัว เตรียมตุ๊กตาหมี 3 ตัว ช้อน 3 คัน ถ้วยน้ำ 3 ใบ ผ้าห่มเล็ก 3 ผืน (ใช้ผ้าเช็ดมือแทนก็ได้) เริ่มเล่านิทานโดยให้มีแบบฝึกหัดนับจำนวนมากๆ

มีหมี 3 ตัว นอนหลับอยู่บนเตียง ทุกตัวยังหลับสนิท แล้วแม่หมีก็ตื่นและลุกขึ้นจากเตียง

* ตอนนี้มีหมียังนอนหลับอยู่กี่ตัว

* หมีตื่นแล้วกี่ตัว

มีหมีกันทั้งหมด 3 ตัว

คุณอาจเล่นต่อไปโดยกำหนดเป็นเหตุการณ์อื่นๆ ก็ได้ เช่น หมีกำลังจะกินข้าวโอ๊ต และออกไปเดินเล่น คุณต้องแน่ใจว่าได้ย้ำในเรื่องผลรวมของการบวก เช่น ไม่มีหมีเลยและหมี 3 ตัว หมี 1 ตัว และหมี 2 ตัว หมี 2 ตัว และหมี 1 ตัว หรือไม่มีหมีเลยสักตัว

การจอดรถ ใช้บล็อก อิฐ ฯลฯ มาจำลองเป็นที่จอดพักรถยนต์เล็กสำหรับเด็กเล่น มีรถยนต์ของเล่นคันเล็กๆ 4 คัน

ชวนลูกสนทนาต่อไปนี้

* มีรถยนต์จอดอยู่ในโรงเรียนกี่คัน

* มีรถยนต์วิ่งไปรอบๆ กี่คัน

มีรถยนต์ทั้งหมด 4 คัน

ไปนั่งรถด้วยกันใช้ตุ๊กจาจำลองเล็กๆ กับรถประจำทางหรือรถบรรทุก มาสนทนาอาจเป็น

* มีคนนั่งอยู่บนรถเมล์เล็กกี่คน

* มีคนรอขึ้นรถกี่คน

มีคนรวมกันทั้งหมด 5 คน

เล่นโบว์ลิ่งกันดีกว่า ปาลูกโบว์ลิ่งกันดีกว่า

ใช้เป้าที่เป็นไม้หรือพลาสติก หรืออาจใช้ขวดพลาสติก 6 ใบ แต่ละอย่างต้องใส่ทรายไว้เล็กน้อยแล้วปนด้วยลูกบอล ถุงถั่ว หรือถุงทราย เพื่อให้ถูกขวดเหล่านี้ล้มลง ชวนลูกสนทนาดังนี้

* หนูปาขวดล้มลงกี่ใบ

* มีขวดรวมกันทั้งหมดกี่ใบ

จัดเรียงเป้าให้แปลกๆ ไม่ซ้ำกันเพื่อฝึกการรวมที่มีผลลัพท์เป็น 6

แมงมุมเปลี่ยนบ้าน

ประดิษฐ์ตัวแมงมุม จากนั้นวาดหรือระบายสีบ้านแมงมุมบนแผ่นกระดาษโดยให้บ้านทั้งสองอยู่ทะแยงมุมกัน อาจจะมีสีต่างกัน แมงมุมทั้ง 7 ตัวจะได้ไปมาระหว่างบ้านสองบ้าน ทอยลูกเต๋าเพื่อตัดสินว่าในแต่ละครั้งจะมีแมงมุมกี่ตัวที่ต้องเปลี่ยนบ้าน

คำแนะนำ

นับแมงมุมในแต่ละบ้านบ่อยๆ ชวนสนทนาว่า

* ลูกนับแมงมุมที่อยู่บ้านเดียวกันได้กี่ตัว

* ลูกจะวางแมงมุม 6 ตัวไว้ในบ้าน แมงมุมสีม่วงได้ไหมแล้วอีกตัวที่เหลือวางไว้ในบ้านแมงมุมสีเหลืองได้ไหม

* ถ้ามีแมงมุม 4 ตัว อยู่ในบ้านสีม่วง บ้านสีเหลืองจะมีแมงมุมกี่ตัว ตั้งคำถามเช่นนี้ไปเรื่อยๆ

ลำดับไม่สำคัญ

เมื่อฝึกลูกไประยะหนึ่ง ลูกของคุณจะค้นพบสิ่งที่มีความสำคัญและเป็นประโยชน์จากการบวก เขาจะสังเกตได้ว่า ในการนับจำนวน 2 จำนวน ไม่ว่าจะนับจำนวนใดก่อนหรือหลังไม่มีความสำคัญ เพราะถึงอย่างไรก็ได้ผลลัพท์เท่ากัน เช่น 4 + 3 ให้ผลลัพท์ 7 เช่นเดียวกับ 3 + 4 คุณอาจหาเกมที่เน้นถึงสิ่งเหล่านี้เพื่อให้ถูกเข้าใจมากขึ้น

“วันหนึ่งมีงูเลื้อยไปในป่า อีกวันหนึ่งมีงูอีก 3 ตัวแอบเข้ามา มีงูในป่ารวมทั้งหมดกี่ตัว” หรือ “มีงู 3 ตัว แอบเข้ามาก่อน วันรุ่งขึ้นมีเพิ่มอีก 4 ตัว มีงูรวมทั้งหมดกี่ตัว”

การแต่งนิทาน

เป็นเรื่องราวเช่นนี้เพิ่มเติมจะทำให้ลูกๆ ของคุณมั่นใจว่าจะเอาจำนวนใดขึ้นมาบวกก่อนก็จะได้ผลลัพท์เท่ากัน

จินตนาการ

ขณะที่เด็กเริ่มมีความคุ้นเคยและมั่นใจกับจำนวนมากขึ้น พวกเขาจะเริ่มจินตนาการ จำนวนกับสิ่งของได้ และสามารถคิดหาคำตอบง่ายๆ ในใจได้โดยไม่ต้องมองหรือยับสิ่งของจริงๆ แม้จะดูเหมือนว่าเด็กได้พัฒนาขึ้นมากกว่าเดิมมาก คุณก็ยังคงต้องสนับสนุนลูกด้วยการส่งเสริมการนับของจริง โดยเฉพาะเมื่อเด็กๆ กำลังหาคำตอบที่ให้ผลลัพท์จำนวนมากขึ้น

การลบ

 เช่นเดียวกับการบวก เด็กจำเป็นต้องมีหระสบการณ์กับของจริงก่อนในการเรียนลบ ควรใช้นิทานง่ายๆ เป็นสถานการณ์เล่นเดียวกับที่ใช้ในการสอนบวก

“ครั้งหนึ่ง มีหมีที่หิวมาก 1 ตัว พอดีมันเดินมาพบแอปเปิ้ลใส่ชาม 3 ผล ด้วยความหิวมันจึงกินแอปเปิ้ลไป 2 ผล มีแอปเปิ้ลเหลืออยู่ในชามกี่ผล”

ในการฝึกหัดคิดหาคำตอบในการนับ ใช้ตุ๊กตาหมีและแอปเปิ้ลของจริง จะให้น่าสนใจยิ่งขึ้น ผู้สอนควรแต่งนิทานเป็นเรื่องราวจะช่วยลูกเข้าใจยิ่งขึ้น เช่น อาจใช้เหตุการณ์ในระหว่างรับประทานอาหาร หรือ ใช้เกมนับจำนวนที่มีอยู่แล้ว เช่น

“สัตว์ประหลาดมีฟองน้ำ 6 ก้อนในอ่าง แต่แล้วทำหายไป 3 ก้อน มีฟองน้ำเหลืออยู่กี่ก้อน”

กลุ่มข้อเท็จจริงอีกครั้ง เด็กที่รู้จักกลุ่มข้อเท็จจริง จะพบว่าการลบก็เป็นเรื่องง่าย เราควรแต่งนิทานเกี่ยวกับการลบเช่นนี้เพิ่มเติม น มีผู้โดยสารนั่งรถเมล์เล็ก 5 คน 2 คน ลงจากรถไปดื่มชา จะมีผู้โดยสารเหลือกี่คน

การแต่งนิทานที่มีตัวเลขกลับไปกลับมาเช่นนี้ จะทำให้เด็กตระหนักและเข้าใจในกลุ่มข้อเท็จจริงมากขึ้น โดยทั่วไป เด็กๆ จะคุ้นเคยกับการหาผลลัพท์ได้เร็วขึ้น ถ้าเป็นเรื่องเกี่ยวกับการกิน

การลบออกทีละหนึ่ง การนับถอยหลังจะมีประโยชน์มากในกรณีที่มีการลบออกทีละ 1 จำนวน

แต่การนับถอยหลังไม่ใช่วิธีปกติที่พวกเราหลายคนเลือกที่จะแก้ปัญหาการหักออก บ่อยครั้งที่เราใช้วิธีนับจำนวนต่อจากจำนวนที่เราจะหักออก เพื่อดูว่าเราต้องเพิ่มอีกกี่จำนวนถึงจะถึงจำนวนที่เราทั้งหมด พนักงานขายของตามร้านค้าส่วนใหญ่ ใช้วิธีการนี้ในการทอนเศษสตางค์ เช่น ซื้อจำนวน 30 ลูกค้าให้เงินเป็นแบงค์ราคา 100 บาท เจ้าของร้านจะใช้วิธีการทอนด้วยการนับต่อจาก 30.00 บาท ไปจนครบ 100 บาท จะได้เท่ากับ 70.00 บาท เช่นกัน

คำถามที่หลากหลาย

ในการตั้งคำถามเกี่ยวกับการลบ คุณควรเปลี่ยนแปลงตั้งคำถามให้หลากหลาย เช่น

- จำนวนอะไรที่น้อยกว่า 8

- ถ้าหักจำนวน 8 ออกเสีย 1 เหลือจำนวนเท่าใด

- ถ้าเอา 1 หักออกจาก 8 จะเหลือจำนวนใด

- ถ้าแม่แอปเปิ้ล 8 ผล และลูกมี 7 ผล แม่มีแอปเปิ้ลมากกว่าลูกกี่ผล

บางโอกาศอาจทดลองตั้งคำถามด้วยการผสมผสานทั้งการบวกและการลบ โดยให้เวลาลูกในการคิดคำตอบอย่างเพียงพอ และให้เลือกวิธีการคิดค้นคำตอบที่ลูกต้องการด้วยตนเองและแน่นอนในการตั้งคำถามเนื้อเรื่อง หรือมี “เรื่องราวประกอบ”

ในบางโอกาศให้ตั้งคำถามที่ต้องการคำตอบ “ไม่มีเลย” เช่น ติ๊งโหน่งมีมะม่วง 4 ผล ติ๊งโหน่งจะกินมะม่วงทั้ง 4 ผล เมื่อถึงเวลารับประทานข้าวตอนเย็น ติ๊งโหน่งจะเหลือมะม่วงกี่ผล

เกมที่จะแนะนำต่อไปนี้จะช่วยให้เด็กๆ ได้ฝึกหัด “หาจำนวนเลขที่ซ่อนอยู่” ดังตัวอย่าง

ความลับของลูกเกด

เตรียมลูกเกด หรือสิ่งของชิ้นเล็กๆ อื่นๆ ที่ใช้นับได้ง่าย เช่น เม็ดถั่ว ฯลฯ และจาน 1 ใบ

“ลูกนับจำนวนลูกเกดบนจานนี้ 6 เม็ดซิค่ะ แล้วนับจำนวนอีกครั้งเพื่อให้แน่ใจว่ามีครบจำนวน 6 เม็ด หลับตาซิค่ะ ที่นี้แม่จะกินลูกเกด เอ้าลืมตาได้ ลองนับซิแม่กินไปกี่เม็ด

เกมซ่อนหา

เลือกตุ๊กตาหมีตัวโปรด และตุ๊กตาที่จะใช้เล่น นับจำนวนอย่างรอบคอบ และวางตุ๊กตาทุกตัวเป็นแถวบนพื้นริมเตียงในห้องนอน ให้ลูกออกไปนอกห้องสักครู่ไนขณะที่ลูกออกไป ให้คุณหยิบตุ๊กตาจำนวนหนึ่งไปซ่อน ให้ลูกหาดูว่าตุ๊กตาหายไปกี่ตัว จากนั้นเปิดผ้าคลุมหาตุ๊กตาที่นำไปซ่อนแล้วตรวจสอบจำนวนถูกต้อง

แมลงเต่าทองใต้กระถางดอกไม้

มีแมลงเต่าทอง 5 ตัว ในสวน ให้ลูกนับจำนวนเพื่อตรวจสอบความถูกต้อง ซ่อนแมลงเต่าทองใต้กระถางดอกไม้ไว้จำนวนหนึ่ง ปิดตาลูกสักครู่ เมื่อลูกตอบคำถามว่าแมลงเต่าทองหายไปกี่ตัวแล้วให้ลูกของคุณยกกระถางขึ้นเพื่อตรวจสอบคำตอบ จากนั้น หมุนเวียนผลักกันเพื่อเลือกจำนวนเต่าทองที่อยู่ในสวน และจำนวนที่ซ่อนอยู่

การนับจำนวน 10 สิบเป็นจำนวนที่สำคัญมาก เพราะระบบคณิตศาสตร์ที่เราใช้คือเลขฐานสิบสิ่งที่ช่วยฝึกฝนในการนับจำนวนสิบได้เป็นอย่างดีคือการใช้นิ้วมือทั้งสิบ เริ่มต้นโดยการชูนิ้วมือทั้ง 10 ขึ้น ไม่ให้นิ้วไหนงอเลย แล้วเริ่มนับจำนวนโดยงอนิ้วทีละนิ้ว “มีนิ้วชูขึ้นทั้งหมดกี่นิ้ว” “นิ้วงอกี่นิ้ว” (และเพราะว่าการงอนิ้วก้อยค่อนข้างจะทำยากจึงควรเริ่มต้นจากนิ้วหัวแม่มือ) เมื่อครบทั้ง 10 นิ้วแล้ว เปลี่ยนวิธีการนับเป็นนิ้วที่ชูขึ้นครั้งละ 1 นิ้ว

เกมต่อไปนี้จะช่วยเรื่องการนับจำนวน 10 ได้ดียิ่งขึ้น ใช้อุปกรณ์ที่เกี่ยวกับเกมนักสืบ

กระดานหมุด

ใช้กระดานหมุด จำนวน 10X10 ช่อง เพื่อแสดงวิธีการนับจำนวน 10 โดยการนับเป็นแถวทีละหนึ่งแถวในแถวที่ 1 ปักหมุดสีใดสีหนึ่งในช่องซ้ายมือ 1 ตัวแล้วถามเด็กว่า “มีช่องเหลืออยู่จำนวนเท่าใดในแถวนี้” แล้วปักหมุดสีอื่นตามจำนวนที่เหลือในแถวนั้นให้เต็ม

ในแถวที่สอง ปักหมุดสีที่ไม่ซ้ำแถวที่ 1 จำนวน 2 ตัว ถามว่ามีช่องว่างกี่ช่องในแถวนี้ ปักหมุดในแถวนั้นให้เต็ม ด้วยสีที่มีต่างออกไป ทำวิธีต่อไปจนเต็มกระดาน

การใช้จำนวนที่มากกว่า

เมื่อลูกของคุณสามารถนับจำนวนได้ถึง 10 11 หรือ 12 อย่างถูกต้องแล้ว แสดงว่าเขาเรียนรู้เกี่ยวกับการนับได้มากทีเดียว แต่ก็ยังมีสิ่งที่ต้องเรียนรู้อีกมาก แต่การฝึกหัดประสบการณ์ยังคงเป็นเรื่องสำคัญมาก

สำหรับตัวเลขที่มากขึ้น

ควรให้เด็กได้ฝึกการอ่านออกเสียง การจำสัญลักษณ์พร้อมกับการเขียนตัวเลขบนกระดาษ ไม่ควรใจร้อนเร่งรัดเด็กในเรื่องนี้เร็วเกินไป แต่ควรเน้นให้เด็กตั้งใจฟังจำนวนที่ได้ยิน เช่น การพูดจำนวน 11 (สิบเอ็ด) และ 21 (ยี่สิบเอ็ด)

แม้แต่กับเด็กเล็กก็สมควรที่จะพูดถึงเลขจำนวนมากๆ โดยเฉพาะกับเด็กที่มีความสนใจในสิ่งรอบตัว เช่น บ้านเลขที่ของตนเอง 346 (หลักร้อย) ต้องสอนให้เด็กพูดว่าสามร้อยยี่สิบหก ไม่ใช่ สามสี่หก เพื่อให้เด็กคุ้นเคยกับค่าของจำนวนที่ใช้ ชี้ชวนให้เด็กๆ สังเกตหลักร้อยตามหมายเลขรถประจำทาง จำนวนหน้าในหนังสือ และพูดคุยถึงอายุของคนเรา โดยออกเสียงให้ถูกต้องชัดเจน

การนับไม่มีการหยุด

จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกมีความเข้าใจการนับอย่างเป็นเหตุเป็นผลให้ถูกต้องแล้ว ประการสำคัญของเรื่องนี้คือ ลูกของคุณจะตระหนักว่าต้องใช้ไปตลอดชีวิต ซึ่งถ้าลูกทำได้แล้วอย่างนี้ล่ะก็หมายความว่าลูกของคุณจะสนุกกับรูปแบบจำนวนนับและกำลังจะก้าวไปเป็นผู้ที่มีความสามารถในการนับ

การลากเส้นต่อจุด

ลองใช้เกมลากเส้นต่อจุดภาพง่ายๆ สำหรับเด็กเล็กทดลองเล่นหรือจะวาดขึ้นมาเองก็ได้

* ลากเส้นตามแบบ หรือวาดรูปง่ายๆ แล้วทำเป็นจุดดำหนาๆ

* ปิดภาพด้วยกระดาษลวดลายบางๆ คุณจะสามารถมองเห็นจุดต่างๆ ได้ทะลุชัดเจนพอสมควร

* ใช้ปากกาทำเครื่องหมายทับลงไป

* ใส่จำนวนตัวเลขแต่ละจุดอย่างระมัดระวัง

*ให้ลูกลองเล่น ก่อนให้ลูกเล่นควรเช็คตัวเลขและการเรียงลำดับว่าถูกต้องเสียก่อน ควรให้แน่ใจว่าลูกจะสามารถเชื่อมจัดต่างๆ ได้ตามลำดับโดยไม่ใช้จากตัวเลขที่อยู่ถัดไป

กบกระโดด 7 ตัว

ลูกเต๋าเป็นอุปกรณ์สำคัญสำหรับเกมนี้ ถ้าสามารถหาลูกเต๋าที่มีขนาดใหญ่สักหน่อยและมีจำนวนชัดเจนและเหมาะกับเด็กๆ มาก ให้ผู้เล่นแต่ละคนมีโอกาศโยนลูกเต๋า 2 ครั้ง และถ้าจำนวนจุดนับได้เป็น 2-3-4-5 หรือ 6 ที่ได้รวมกัน เช่น ทอยลูกเต๋าครั้งแรกได้ 4 ครั้งที่สองได้ 3 ผู้ทอยต้องกระโดดกบ แต่ถ้ายอดรวมเป็น 8 9 10 11 หรือ 12 หรือมากกว่า 7 ขึ้นไป ผู้เล่นทุกคนยกเว้นผู้ที่ทอยลูกเต๋าจะต้องกระโดดกบด้วยจำนวนเท่าที่เป็นยอดรวมนั้น

เกมยิงลูกดอกที่ปลอดภัย

เกมยิงลูกดอกเป็นเกมที่จะช่วยฝึกหัดในเรื่องการบวกได้เป็นอย่างดี ใช้แป้นยิงลูกดอกและลูกที่ปลายเป็น แบบเทปมีขน ในขณะที่จำนวนเต็มอาจมีมากกว่า 10 คุณจะสามารถทำคะแนนเต็ม 10 ได้ด้วยลูกดอก 1 2 หรือ 3 อัน ทำเช่นนี้ไปเรื่อยสำหรับจำนวนอื่นๆ

การนับทีละ 2

ในกลุ่มเด็กๆ โดยเฉพาะการให้เด็กๆ มีโอกาศขานชื่อด้วย จะสร้างความสนุกสนานให้กับเด็กๆ มากทีเดียว

การนับจำนวน 10

ตัวเลขที่เราใช้ในปัจจุบันคือ 1-2-3-4-5-6-7-8-9 และแสดงจำนวนที่มากกว่า 9 โดยการใช้ตัวเลขเหล่านี้ซ้ำอีกครั้ง โดยใช้พร้อมกับ 0 เมื่อจำเป็น ตำแหน่งที่ตัวเลขแต่ละตัวแทนจะบอกเราให้ว่าค่าของมันคืออะไร

ตัวอย่างเช่น จำนวน 257 หมายถึง 2 คือ สองร้อย 5 คือห้าสิบ และ 7 คือเจ็ด แต่จำนวน 725 เจ็ดจะมีค่า เจ็ดร้อย และจำนวน 572 เจ็ดจะมีค่า เจ็ดสิบ ค่าของจำนวนขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่มันอยู่ และนี่คือสิ่งที่ครูใช้บอกใช้สอนในเรื่องค่าของจำนวน

ในระยะแรก ควรฝึกหัดเด็กๆ โดนเริ่มจากจำนวนที่น้อยกว่าจำนวนมาก โดยให้เด็กๆ ฝึกหัดกิจกรรมต่างๆ ต่อไปนี้ที่มีอุปกรณ์จำนวน 10

ลูกปัดงู

ใช้ลวดหรือเชือก 3 เส้น ร้อยลูกปัด 30 เม็ด บอกให้ลูกร้อยลูกปัดเส้นละ 10 แล้ววางเรียงต่อกัน ให้เด็กนับลูกปัดในแต่ละเส้นเพื่อให้แน่ใจว่า มีจำนวน 10 แล้วนับถึงจำนวน 30 จากนั้นนับใหม่ตั้งแต่ 1-30 เน้นที่จำนวน 10 20 และ 30 เพิ่มจำวนงูได้ถ้าเด็กต้องการนับต่อไป

เหรียญเงิน

รวบรวมเหรียญเงินไว้จำนวนหนึ่ง แล้ววางไว้บนโต๊ะ (ควรปูโต๊ะด้วยผ้าสีอ่อนเพื่อให้เด่น) ให้เด็กเล่นตามใจชอบ อาจจะเล่นนับจำนวน สร้างแบบหรือวางเรียงซ้อนเป็นตั้ง หลังจากนั้นระยะหนึ่ง บอกให้เด็กลองเรียงเหรียญเงินเป็นแถวๆ ละ 10 แล้วนับจำนวนเหรียญทั้งหมด โดยเน้นจำนวนสิบ

: 1-2-3-4-5-6-7-8-9-10

: 11-12-13-14-15-16-17-18-19-20

นับต่อไปจนถึงจำนวน 100 แล้วกลับไปตั้งต้นใหม่ที่แถวที่หนึ่ง แล้วนับลงตามนี้

10-20-30-40-50-60-70-80-90-100 ต่อมากระจายเหรียญที่ตั้งไว้แล้วให้เด็กเรียงเป็นแถวใหม่อีกครั้ง นับทีละหนึ่ง และนับเป็นจำนวน 10 เท่าที่เด็กจะนับได้ ให้คำชมเชยและกำลังใจมากๆ คอยความช่วยเหลือบ้างถ้าจำเป็น

มากกว่าสิบ

การฝึกหัดและแนะนำให้ลูกเรียนรู้การนับจำนวนครั้งละ 10 จะช่วยให้การนับจำนวนมากๆ ไม่ผิดพลาด เช่น

* มัดดินสอมัดละ 10 ด้วยยางยืด แล้ววางกระดุม 10 เม็ดเป็นกองๆ บนโต๊ะ

* เล่นเกมที่ผู้เล่นสามารถให้รางวัลตนเอง 10 คะแนน ถ้าทำคะแนนได้ถึงเป้า หรือล้มโบว์ลิ่งได้ ไม่จำเป็นต้องแข่งขันชนะผู้อื่น เพียงแต่พยายามเอาชนะตนเอง

เกมตัวตลกอ้าปาก

ทำตัวตลกอ้าปากจากกระดาษแข็ง หรือแผ่นกระดาษขนาด 60 x 75 ซม. (2 ฟุต x 2 ฟุต 8 นิ้ว) ใช้มีดคมๆ ตัดตรงกลางกระดาษที่ทำเป็นรูปช่องปากให้มีขนาดครึ่งหนึ่งของหนังสือเล่มนี้วาดรูปหน้าด้วยสีน้ำหรือสีน้ำมัน

วางตัวตลกนี้พิงข้างผนังหรือเก้าอี้ ปาถุงถั่วหรือโยนถุงเท้าใส่ปากมัน แล้วตั้งกติกาสำหรับคะแนนที่ทำได้ในแต่ละครั้ง เช่น ใครสามารถโยนถุงทรายเข้าปากตัวตลกจะได้ 10 คะแนน สามารถเปลี่ยนจำนวนคะแนนที่ได้ตามจำนวนการฝึกหัดขว้าง กำหนดให้คะแนนเป็น 10 ถ้ากำลังหัดนับจำนวน 10 หรือให้คะแนน 2 ถ้ากำลังหัดนับจำนวน 2

การคูณและการหาร

เมื่อเด็กๆ มีโอกาศผ่านประสบการณ์จากการปฏิบัติที่เป็นจริงในการนับ ความรับรู้ และความเข้าใจในเรื่องจำนวนนับจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อย่างค่อยเป็นค่อยไป เป็นการเรียนรู้อย่างเข้าใจมีเหตุผลมีผล มิใช่การท่องจำแบบนกแก้วนกขุนทอง ซึ่งจะทำให้เด็กได้ลืมได้ง่ายๆ

วิธีการเรียนรู้การคูณและการหาร ก็ไม่แตกต่างกับการบวกและการลบ นั่นคือการเรียนนับจากการปฏิบัติที่ดีที่สุด ต่อไปนี้คือตัวอย่างของการใช้การนับด้วยอุปกรณ์

“สัตว์ประหลาดพวกนี้ไม่มีกระดุมเสื้อเลย ต่อมาเจ้าสัตว์ประหลาดสีแดงก็เย็บกระดุม 2 เม็ดบนเสื้อของมัน เมื่อเพื่อนของมันเห็นเข้าก็อยากทำเช่นเดียวกัน จึงติดกระดุมที่เสื้อ 2 เม็ดบ้าง ดังนั้น เมื่อนับกระดุมเสื้อ 2 ตัว ก็รวมเป็น 4 เม็ด เจ้าสัตว์ประหลาดตัวต่อไปมาเห็นเข้า นั่นแน่...เจ้าสัตว์ประหลาดตัวสุดท้ายก็อยากทำแบบเดียวกัน ก็เลยมีกระดุม 2 เม็ด 3 แถว ซึ่งรวมเป็น 6 เม็ด ถ้าอยากมีกระดุมเช่นเดียวกันจึงมีกระดุม 2 เม็ด 4 แถว รวมเป็นทั้งหมด 8 เม็ด “เด็กๆ ดูซิจากไม่มีเลย ตอนนี้กระดุมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จาก 2 เป็น 4 เป็น 6 เป็น 8 ในที่สุด

การฝึกหัดอย่างเป็นระบบเช่นนี้ ควรใช้วัสดุอุปกรณ์ที่เด็กสามารถนับและตรวจจำนวนตามที่คุณบอกได้ และควรใช้คำว่าคูณแทนคำว่ารวมในบางครั้ง บางครั้งคุณอาจแต่งนิทานเป็นเรื่องราวของตุ๊กตาหมีที่ต้องการรถเล่นหรือใช้แมลงเต่าทองบินไปในสวนดอกไม้ หรือเกมงูในป่าให้ฝึกนับทีละ 2 3 4 กับอุปกรณ์หลากชนิด และลองฝึกหัดนับถอยหลังบ้าง เช่น 8 6 4 2 และไม่มีเลย ดังเช่น สัตว์ประหลาดแต่ละตัวไม่มีกระดุมเลย และมีกระดุมเพิ่มทีละ 2 เม็ดเป็นต้น

พยายามอย่าใช้วิธีการที่ซับซ้อนมากเกินไประหว่างการเริ่มต้น ไม่ใช้จำนวนที่มากเกินกว่าเด็กจะนับได้ หรือสร้างความลำบากใจให้เด็กเป็นการดีที่สุด ให้เด็กค่อยๆ เรียนรู้จากจำนวนน้อยๆ แต่มั่นใจ เช่น ติ๊งโหน่งอายุ 6 ปี สามารถนับจำนวนเหล่านี้เป็นลำดับ

0 2 4 6 8 10 12 14 16 18 20

0 3 6 9 12 15

0 4 8 12

0 5 10 15 20 25 30

0 6 12

0 7 14

0 8 16

0 9 18

0 10 20 30 40 50 60 70 80 90 100

เกมโจทย์ปัญหา ตั้งโจทย์ปัญหา ดังตัวอย่างต่อไปนี้

* ในบ้านนี้มีคน 4 คน ทุกคนอยากได้ขนมถ้วยฟู 2 ชิ้น ต้องมีขนมถ้วยฟูทั้งหมดกี่ชิ้น

* สัตว์ประหลาดแต่ละตัวต้องการกระดุม 6 เม็ด แต่แม่มีกระดุมเพียง 18 เม็ด เพราะฉะนั้น จะมีสัตว์ประหลาดที่ได้รับกระดุม 6 เม็ดกี่ตัว

* มีฟองน้ำ 12 ก้อน ให้สัตว์ประหลาด 6 ตัวเอาไป ลองแบ่งดูซิคะว่าจะต้องแบ่งฟองน้ำให้สัตว์ประหลาดตัวละกี่ก้อน จึงจะได้เท่าๆ กัน

เศษส่วน

ในชีวิตจริงแล้ว เราจะเห็นว่า “การแบ่งปัน” เป็นปัญหาที่เราต้องพบอยู่บ่อยๆ สิ่งที่เกิดปัญหาบ่อยมากๆ คือการแบ่งปันและแต่ปัญหาการแบ่งปันนี้สามารถแก้ไขได้โดยการแบ่งส่วนจากจำนวนเต็ม

“เรามีแตงโม 2 ผล สำหรับคน 4 คน ควรแบ่งคนละกี่ผล จึงได้จะเท่ากัน”

อาหารคืออุปกรณ์ที่ในการเรียนเรื่องเศษส่วนได้ดีที่สุด แบ่งผลไม้ หรือขนมเค้ก แซนวิช และสิ่งอื่นๆ เป็นครึ่งส่วน 4 ส่วน (และ 3 ส่วนในบางโอกาศ) เพื่อให้ลูกของคุณเริ่มคุ้นเคยกับความคิดในการแบ่งส่วนเท่าๆกัน

การใช้เครื่องคิดเลข

เมื่อเด็กคิดหาคำตอบสำหรับปัญหา เช่น การบวกหรือการลบ ดังที่เรากล่าวถึงในตอนต้นของบท หรือโจทย์ปัญหาในหน้านี้ เด็กๆ ไม่จำเป็นต้องใช้สัญลักษณ์ + , - , X หรือ = เลย เพราะไม่มีความจำเป็นต้องเขียน และในความเป็นจริงการเขียนสัญลักษณ์เหล่านี้มักก่อให้เกอดความเบื่อหน่ายและหมดสนุกโดยเฉพาะกับเด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี

การใช้เครื่องคิดเลขให้โอกาศเด็กๆ ได้เรียนรู้สนุกสนาน ถ้าลูกของคนสามารถนับจำนวนเกิน 10 ได้แม่นยำแล้ว การใช้สัญลักษณ์ + , - , X ได้อย่างง่ายๆ จากเครื่องคิดเลข

ก่อนจะให้ลูกใช้เครื่องคิดเลข เริ่มแรกคุณควรสอนลูกรู้จักกดปุ่ม เปิด ปิด ยกเลิก และจะกดตัวเลขแสดงอย่างไร จากนั้นจึงให้ลูกทดสอบหาผลลัพท์ ด้วยเครื่องคิดเลข จากการลงมือปฏิบัติกับสิ่งที่เกิดจริงๆ เพื่อให้รู้ว่าเครื่องคิดเลขช่วยตรวจจำนวนนับและการเพิ่มจำนวนได้อย่างไร เมื่อลูกมีอายุมากขึ้น คุณควรส่งเสริมให้ใช้เครื่องคิดเลขมากขึ้น เพราะเป็นเครื่องมือที่มีคุณค่า ไม่เป็นอันตรายต่อการเรียนคณิตศาสตร์แต่อย่างใด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น