วันเสาร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

4.เรียนรู้คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน(ต่อ)

3.เรียนนับให้สนุก

 เด็กแม้จะเรียนรู้เรื่องต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วแต่กว่าเด็กจะเรียนรู้เรื่องการนับด้วยความเข้าใจ เด็กต้องใช้เวลานานน่าประหลาดใจ แต่ด้วยความสนใจ เอาใจใส่และเปิดโอกาศให้ลูกได้ฝึกฝนอย่างจริงจัง พ่อแม่สามารถช่วยให้ลูกเรียนรู้เรื่องการนับได้ตั้งแต่ลูกเริ่มหัดพูด – 7 ปี เลยทีเดียว (หรือมากกว่านั้นสำหรับเด็กบางคน)
การนับเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะเป็นพื้นฐานของงานที่ต้องเกี่ยวข้องเกี่ยวกับจำนวน เด็กที่สามารถนับสิ่งของอย่างมั่นใจและแม่นยำ แสดงว่าจุดเริ่มต้นในการเรียนรู้เรื่องจำนวนของเขาค่อนข้างดี เริ่มต้นแล้วอย่างดีในการเรียนรู้เรื่องจำนวน ขณะที่เด็กบางคนไม่สามารถนับได้ จะมีแต่ความสงสัยและสับสน และจะยิ่งสับสนมากขึ้นจนกลายเป็นความวิตกกังวลเมื่อพวกเขาถูกเร่งรัดผลักดันให้เรียนมากเกินไป ทั้งจากครูและพ่อแม่ที่ไม่ยอมรับว่าความสามารถในการนับของเด็กคนนั้นยังอ่อนมาก แต่ทิได้หมายความว่า ควรให้เด็กเลิกหรือยุดเรียนรู้เรื่องการนับไปเลย แต่ควรฝึกฝนต่อไปในระยะขีดความสามารถที่เขายอมรับได้ และเป็นไปอย่างสนุกสนาน

เรียนรู้เรื่องการนับ

รวบรวมสิ่งของเล็กๆ ประมาณ 5-6 ชิ้น (ตัวอย่าง่น รถของเล่น) แล้วบอกให้เด็กอายุ 3-4 ปี นับของเล่นนั้น การทำเช่นนี้จะช่วยให้คุณมองเห็นปัญหาของเด็กได้

มีหลักการสำคัญ 4 ประการในการเรียนรู้การนับของเด็ก 2 ใน 4 ประการนั้น สามารถสังเกตได้ง่ายนั่นคือ

- เด็กๆ จำเป็นต้องเรียนรู้จำนวน “หนึ่ง, สอง, สาม, สี่...”

- เด็กๆ จำเป็นต้องเรียนรู้ส่าเรานับจำนวนหนึ่งจำนวน สำหรับสิ่งของ 1 อย่าง และเวลานับต้องเรียงลำดับจำนวนไม่กระโดดและไม่นับซ้ำอีกด้วย

แต่อีก 2 ประการที่เหลือมักจะถูกลืม กล่าวคือ เรามักจะลืมคิดไปว่า เด็กจะต้องเรียนรู้การตอบคำถาม “เท่าใด” โดยต้องตอบเพียงจำนวนเดียว ตัวอย่างเช่น ต้องตอบ “สาม” ไม่ใช่ “หนึ่ง สอง สาม”

และประการสุดท้าย เด็กต้องเรียนรู้ว่าจำนวนสิ่งของในกลุ่มเดียวกัน มีจำนวนคงที่ไม่ว่าเราจะเริ่มต้นนับจากจุดไหน หรือสิ่งของนั้นวางอยู่ในลักษณะใด

การเรียนนับค่อนข้างเหมือนการเรียนขับรถหรือขี่จักรยานและเป็นทักษะที่ปนะกอบด้วยกลุ่มทักษะที่มีความสัมพันธ์กัน ซึ่งต้องได้รับการพัฒนาเคียงคู่กันแต่ไม่ต้องพร้อมๆ กัน บางครั้งเป็นการดีที่มุ่งพัฒนาทักษะใดทักษะหนึ่งโดยเฉพาะภายในเวลาสั้น โดยที่คุณไม่จำเป็นต้องรอคอยจนกว่าทักษะเหล่านี้จะสมบูรณ์ก่อนที่จะเริ่มพัฒนาอีกทักษะหนึ่ง

เรามาพิจารณากันดูว่ามีกิจกรรมใดที่ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้การนับของเด็ก 4 ประการที่กล่าวมาข้างต้น และว่ากิจกรรมใดที่อาจช่วยคุณและลูกให้เรียนรู้หลักการเหล่านั้นได้บ้าง

1. ชื่อจำนวน

ส่วนมากเรามักจะเริ่มสอนเด็กๆ ให้คุ้นเคยกับจำนวนนับมาตั้งแต่เด็กยังเล็กอยู่ เวลาเราใส่เสื้อให้ลูกจะพูดกับลูกว่า “แขนหนึ่งข้าง, แขนสองข้าง” บางครั้งเราสอนเพลงกล่อมเด็กด้วยบทเพลงที่มีชื่อจำนวนอยู่แล้ว ถ้าคุณเคยเรียนการนับ ความยากลำบากของการเรียนนับ จะอยาในช่วงต้นๆ เพราะเด็กจะต้องคอยจำคำศัพท์ใหม่ๆ เสมอ ตั้งแต่ 1-20 แต่พอถึง 20 แล้ว เด็กๆ จะรู้สึกโล่งอก ที่จำนวนนับต่อจากนี้จะเป็นไปในรูปแบบที่ซ้ำๆกัน

ฉะนั้น ในระยะต้นๆ เราจึงควรสอนเฉพาะจำนวนน้อยๆ โดยเริ่มต้นที่ “หนึ่ง สอง สาม สี่” เท่านั้น

2. ร่างกายของเด็ก

ควรพูดคุยกับเด็กทารกหรือเด็กเล็กในขณะอาบน้ำ , แต่งตัว , หรือกำลังเล่น ด้วยการนับจำนวนอวัยวะ เช่น หนูมี 2 เท้า / มีปาก 1 ปาก / มีหู 2 หู ฯลฯ และยั่วเย้าทำตลกๆ กับเด็กที่เริ่มโตขึ้นพอที่จะรู้ความ ขา 1 ขา / ขา 2 ขา / ขา 3 ขา / (แตะมือขณะที่คุณพูด ขา 3 ขา) เด็กๆ จะหัวเราะชอบใจและจะทักท้วงคุณด้วยว่า “นี่มือแท้ๆ”

3. การนับเป็นจังหวะ

นับดังๆ “หนึ่ง สอง หนึ่ง สอง....” ในขณะที่คุณขยับเท้าขึ้นลง หรือในขณะฝึกกายบริหารให้แข็งแรง “หนึ่ง สอง สาม สี่” “หนึ่ง สอง สาม สี่”

หนึ่ง สอง สาม วิ่ง !

จัดวิ่งแข่งขันจากต้นไม้ต้นหนึ่งไปอีกต้นหนึ่ง หรือวิ่งไปท้ายสวน ผลัดกันเป็นผู้ตะโกนให้เตรียมออกวิ่ง “หนึ่ง สอง สาม วิ่ง”

การเพิ่มจำนวนนับให้สูงขึ้น ต้องค่อยเป็นค่อยไป เพื่อให้เด็กมีความมั่นใจ

การเดินของลูกเสือ

เมื่อคุณต้องการไปที่หนึ่งที่ใดอย่างรวดเร็วโดยไม่มีอาการเหนื่อยหอบ คุณต้องใช้วิธีเดิน 10 ก้าว วิ่ง 10 ก้าว แล้วเดิน 10 ก้าว วิ่ง 10 ก้าว สลับกันไปเช่นนี้ พร้อมทั้งนับดังๆ ไปด้วย ถ้าคุณมีความรู้สึกยังไม่เหนื่อยไปก็เพิ่มจำนวนนับเป็นสิบห้าหรือมากกว่านั้นได้

นิทานและคำคล้องจองจำนวน

นิทานที่เป็นคำคล้องจอง / มีประโยชน์อย่างมากในการเรียนเรื่องจำนวนนับ เช่น

กลอนหนึ่งสอง

หนึ่ง สอง มือตีกลองตะแล็กแทร็กๆ

สามสี่ ดูให้ดี

ห้า หก ส่องกระจก

เจ็ด แปด ถือปืนแฝด

เก้า สิบ กินกล้วยดิบ ปวดท้องร้องโอยๆๆ

จับปู

หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า จับปูม้ามาได้หนึ่งตัว

หก เจ๊ด แปด เก้า สิบ ปูมันหนีบฉันต้องสั่นหัว

กลัว ฉันกลัว ฉันกลัว ปูหนีบฉันที่หัวแม่มือ

ลา ล้า ลา....................

หนังสือนิทานที่เกี่ยวกับจำนวน

 เด็กๆ ก็ชอบมากเช่นกัน มีหนังสือเป็นจำนวนมากที่สอนให้เด็กเรียนรู้เรื่องการนับ คุณพ่อคุณแม่สามารถซื้อและเลือกเล่มที่เหมาะกับลูกได้ง่ายที่เดียว

นับไม่ให้พลาด

เด็กเล็กมีโอกาศนับผิดมากกว่าที่ผู้ใหญ่หลายคนจะคาดคิด แม้แต่กับเด็กอายุ 5 ขวบ ก็ไม่น่าไว้ใจแม้จะเป็นเพียงการนับสิ่งของจำนวนน้อยๆ เพียง 4 หรือ 7 ชิ้น ก็ตาม โดยเฉลี่ยของกลุ่มเด็กอายุ 5 ขวบ มีเด็กไม่ถึงครึ่งที่สามารถนับจำนวนสิ่งของมากกว่า 8 อย่างได้ถูกต้องสม่ำเสมอ

เด็กเล็กมักจะทำผิดบ่อยๆ ในการประสานสัมพันธ์การนับ คือมักจะนับซ้ำ นับข้าม หรือนับของ 2 อย่าง ถือเป็น 10 อย่าง แต่สำหรับเด็กโตและผู้ใหญ่มักจะผิดในการตัดสินใจว่าสิ่งใดนับแล้วสิ่งใดยังไม่ได้นับ

การนับที่ดีที่สุดคือการชี้ไปยังสิ่งที่นับหรือจับแยกของที่นับแล้ว ไม่ควรนับเพียงใช้สายตามอง และไม่ควรชมเชยหากเด็กใช้สายตานับ แม้ว่าจะถูกก็ตาม เพราะเป็นวิธีการนับที่ไม่ต้องทำให้เกิดการผิดพลาดได้ง่าย

“คุณเคยเห็นพนักงานสมุหบัญชีธนาคารใดบ้างไหมสามารถนับเงินได้โดยไม่ต้องจับมันเลย”

หนังสือแบบฝึกหัดการนับจำนวน

หากจะใช้หนังสือแบบฝึกหัดให้ลูกหัดนับ คุณพ่อคุณแม่ควรเลือกซื้อเล่มที่มีความชัดเจน ไม่สร้างความสับสนให้กับเด็ก แต่จะให้เด็กได้มีโอกาศนับสิ่งของจริงๆ จะเป็นประโยชน์และสมมีมากกว่าการเขียนลงในสมุด อย่างไรก็ตามถ้าคุณใช้หนังสือแบบฝึกหัดคุณควรสอนลุกให้ทำเครื่องหมายลงบนภาพแต่ละภาพที่เขาได้นับแล้ว เพื่อให้แน่ใจว่านับซ้ำ และต้องเลือกใช้เฉพาะหนังสือแบบฝึกหัดที่มีรูปภาพประกอบที่ชัดเจนมากๆ

คุณควรให้โอกาศลูกของคุณได้ฝึกหัดการนับของจริงที่เคลื่อนที่ได้อย่างเพียงพอ และพูดคุยกับเขาว่ามีโอกาศผิดพลาดเพียงใดหากนับทุกสิ่งทุกอย่างเพียงครั้งเดียว ตัวอย่างข้างล่างนี้จะทำให้เราเห็นภาพอย่างชัดเจน

ให้อาหารเป็ด

ลูกลองนับซิจ๊ะเป็ดกี่ตัวเดินมากินอาหาร คุยกับลูกว่า การนับจำนวนเป็นสิ่งยากเพราะมันเดินไปเดินมาได้ ซึ่งทำให้ลูกไม่สามารถจะบอกได้ว่าเรานับเป็ดตัวไหนไปแล้วบ้าง

ช่วยลูกเรียนรู้เรื่องการนับ

วิธีการเรามักใช้ในชีวิตประจำวัน เราจะใช้วิธีการนับที่สั้น กระทัดรัดมาก และแทนที่เราจะใช้คำว่า “ที่หนึ่ง ที่สอง ที่สาม” เราจะใช้จำนวน “หนึ่ง สอง สาม” เพราะว่ามันเร็วกว่ามาก

ผู้ใหญ่โดยปกติจะนับโดยไม่พูดจำนวนที่นับออกมาดังๆ เราจะพูดเพียงจำนวนเลขตัวสุดท้าย เด็กที่มีความมั่นใจมากๆ ในการนับก็จะทำเช่นนี้เช่นกัน

ในระยะแรกๆ คุณอาจสังเกตได้ว่าลูกของคุณนับ “หนึ่ง สอง สาม” ดังๆ แต่จะนับจำนวนสุดท้ายซ้ำ หรือบางทีก็เน้นจำนวนสุดท้าย นี่คือสัญลักษณ์บ่งบอกว่า พวกเขากำลังเรียนรู้กฏตัวเลขแสดงจำนวน คือเขาเรียนรู้ว่า จำนวนสุดท้ายที่เขสนับคือตัวแทนปริมาณของสิ่งนั้น

วิธีการช่วยลูกของคุณในการเรียนรู้กราเรียงลำดับจำนวน

* เน้นจำนวนสุดท้ายในการนับเรียงลำดับ หนึ่ง สอง สาม สี่

* พูดจำนวนสุดท้ายซ้ำอีกครั้ง หนึ่ง สอง สาม สี่ สี่ มีจำนวนรวม สี่

* ตอบเฉพาะคำตอบโดยการนับในใจ มีจำนวนเท่าใด สี่

การอนุรักษ์จำนวน

“การอนุรักษ์จำนวน” คือการอธิบายให้เด็กเห็นว่า แม้รูปทรงของการเรียงลำดับจำนวนจะเปลี่ยน แต่จำนวนของจะไม่เปลี่ยนตามไปด้วย เช่น เอาน้ำ 1 แก้ว เทใส่ขวดกับเทใส่จานหรือเทใส่ภาชนะใดก็ตาม จำนวนของน้ำจะเม่ากับ 1 แก้วเท่าเดิม แต่เด็กๆ จะไม่คิดเช่นนั้น เด็กมักจะคิดว่าน้ำในจานจะมากกว่าในขวด การคิดเช่นนี้ ดูจะแปลกมากสำหรับผู้ใหญ่ แต่สำหรับเด็กๆ แล้วไม่แปลก

เด็กที่ยังไม่สามารถนับได้ถูกต้อง มักจะเหตุผลของตนเองว่า จำนวนของสิ่งต่างๆ จะเปลี่ยนไปตามรูปทรงต่างๆ ต่อเมื่อเขานับของได้เก่งขึ้น เขาจะยอมรับว่ากองวัตถุที่มีจำนวนวัตถุจะไม่เปลี่ยนแปลง แต่จะยังไม่แน่ใจว่ากองใหญ่ขึ้นแล้ว จำนวนนับจะเปลี่ยนไปหรือไม่

เด็กทุกคนต้องการการฝึกหัดนับจำนวนอย่างอิสระ จึงจะสามารถสร้างให้เขาเข้าใจ “การอนุรักษ์จำนวน” ได้ คุณพ่อคุณแม่สามารถจะช่วยกระตุ้นได้โดยทำโอกาศให้เด็กได้ฝึกหัดการนับอย่างสม่ำเสมอ และทำซ้ำแล้วซ้ำอีก ดังเช่นตัวอย่างต่อไปนี้

กล่องสะสมไข่

กล่องใส่ไข่ขนาด 6 ฟอง เลือกสิ่งของเล็กๆ 6 อย่าง เพื่อใส่ลงในแต่ละช่อง (เลือกที่แตกต่างกันอย่างชัดๆ) และนับไปพร้อมกับเด็กอย่างช้าๆ และรอบคอบ ต่อมาให้เด็กจัดวางสิ่งของนั้นใหม่อีกครั้ง แล้วปล่อยให้เด็กเล่นต่อไปโดยการนับซ้ำแล้วซ้ำอีก

การเต้นรำ

กิจกรรมนี้เหมาะสำหรับเด็กกลุ่มเล็กๆ ที่รู้จักชื่อกันแล้ว ให้เด็กเริ่มนับเพื่อนๆ ที่อยู่ในวงเดียวกัน คือ เปิดเพลงหรือร้องเพลงแล้วเต้นรำไปรอบๆ หยุดแล้วนับจำนวนใหม่อีกครั้ง ต้องให้แน่ใจว่าไม่มีเด็กคนใดไม่ถูกนับและไม่มีใครามสมทบเพิ่ม โดยการขานชื่อเด็กแต่ละคนแล้วก็นับจำนวนซ้ำอีกครั้ง

ครอบครัวเรามีกี่คน

วาดภาพครอบครัวหรือดูในสมุดภาพ แล้วนับจำนวนผู้ที่รับประทานอาหารร่วมกันว่ามีกี่คน อยู่ในห้องอาหาร นับใหม่อีกครั้ง โดยการนับแต่ละครั้ง ต้องเริ่มต้นนับจากคนที่ไม่ซ้ำกัน

การฝึกหัดสร้างสรรค์ความชำนาญ

มีกิจกรรมมากมายที่สามารถช่วยส่งเสริมเด็กให้นับเป็น และยิ่งเด็กๆ ได้มีโอกาศฝึกหัดมากขึ้นเท่าใดก็ยิ่งดีแก่ตัวเขาเองเท่านั้น

เด็กๆ จำเป็นต้องได้ดูคนอื่นนับจำนวนเป็นตัวอย่างแล้วจึงนับด้วยตนเอง เราสามารถสอนให้พวกเขานับจำนวนได้ถูกต้องตามลำดับ โดยเริ่มต้นเราจะนับทุกอย่างเพียงครั้งเดียว เน้นให้เห็นว่าจำนวนสุดท้ายเป็นคำตอบ จากนั้น นำของมาสลับวางเรียงกันใหม่ แล้วให้เด็กๆ ช่วยกันนับ เด็กจะพบว่าของมีจำนวนเท่าเดิม

ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างเกมและกิจวัตรประจำวันที่จะให้ประโยชน์ทั้งความสนุกสนานและความคิดเป็นเหตุเป็นผลในเรื่องของการนับแก่เด็กๆ

การนับจำนวนสัตว์

แยกประเภทสัตว์จำลองเป็นกลุ่มๆ แล้วนับจำนวนสัตว์ในแต่ละกลุ่ม มีช้างกี่ตัว? มีเสื้อกี่ตัว ? มีลูกสัตว์กี่ตัว ?

หยิบแตงกวาให้แม่ด้วยจ้ะ

นับจำนวนแตงกวา มะเขือ หรือผักอื่นๆ ขณะที่คุณแม่ตระเตรียมอาหารเย็น “ลูกจ๋า ลูกช่วยหยิบแตงกวาจากตู้เย็นมาให้แม่สัก 4 ผลซิจ้ะ ลูกลองนับอีกครั้งซิจ้ะว่าถูกต้องหรือยัง ถ้าถูกแล้วเอาไปวางเรียงกันไว้ที่อ่างน้ำด้วยจ้ะ”

การจัดโต๊ะอาหาร

ครอบครัวเรามีคนอยู่ 5 คน เราต้องการจานข้าว 5 ใบ ส้อมและช้อน 5 คู่ แล้วจัดให้คนละ 1 ชุด

ถั่วของขบเคี้ยว

ให้เด็กๆ นับจำนวนของว่าง ขนมปังแคร็กเกอร์ 3 ชิ้น หรือถ่วอบ 15 เม็ด เป็นต้น

นับนิ้วของลูก

ระบบจำนวนของเรามีฐาน 10 เช่นเดียวกับจำนวนนิ้วที่เรามี (โชคดีอะไรเช่นนั้น) ช่วยกันกระตุ้นให้เด็กๆ ใช้นิ้วในการนับ เช่น ใครต้องการดื่มชาบ้าง ? เราต้องมีผ้าเช็ดตัวกี่ผืนเวลาไปว่ายน้ำ ใช้นิ้วช่วยในการนับจำนวน

ไชโย 3 ครั้ง

ชื่นชมสิ่งดีๆ โดยการร้องไชโย 3 ครั้ง ตรวจสอบดูว่า “ไชโย” ครบ 3 ครั้งหรือไม่

เล่นแป้งโด

สมมุติว่ากำลังทำแป้งบัวลอยหรือตัดแป้งโดเป็นรูปทรงต่างๆเพื่อจะได้นับจำนวนดังต่อไปนี้

* ผสมแป้ง 2 ถ้วยตวง เกลือ 1 ถ้วยตวง

* เติมน้ำมันพืช 2 ช้อนโต๊ะ น้ำ 2 ถ้วยตวง และสีผสมอาหาร

* ตั้งไฟขนาดกลาง และคนเบาๆ จนแป้งเป็นก้อนใหญ่ๆ

* เอาแป้งทิ้งไว้บนถาดจนเย็น

* แช่หม้อนี้ด้วยน้ำสบู่จะทำความสะอาดง่ายขึ้น

* เก็บแป้งโดไว้ในถุงพลาสติกหรือกระป๋องสูญญากาศเพื่อให้เก็บรักษาไว้ได้หลายวัน

* ถ้าจะต้องการให้เล่นก็เติมสีผสมอาหารและกลิ่นสังเคราะห์ได้

ไปตกปลา

เกมตกปลา

ทำด้วยแม่เหล็ก อุปกรณ์ที่ทำขึ้นเองในบ้านใช้ได้ง่ายว่าที่ซื้อสำเร็จรูปจากข้างนอก และคุณสามารถทำจำนวนปลาเพิ่มเติมได้เมื่อลูกของคุณนับจำนวนได้ดีขึ้น

วิธีทำปลา

ซื้อแม่เหล็กรูปเกือกม้า (ซื้อได้จากร้านขายของเครื่องเขียนทั่วไป) ผูกเข้ากับลวด ด้าย เชือกยาวประมาณ 45 ซม. (18 นิ้ว) ไม่จำเป็นต้องมีคันเบ็ด โดยเฉพาะกับเด็กอายุต่ำกว่า 4 ปี

ตัดการะดาษแข็งเป็นรูปปลา เด็กบางคนก็สามารถทำปลาได้ด้วยตนเอง หรือแม้แต่เด็กเล็กๆ ก็สามารถระบายสีรูปปลาเหล่านี้ได้ (ทั้ง 2 ด้านของรูปปลา)

ติดคลิปหนีบกระดาษบนปลาแต่ละตัว แล้วใส่ลงไปใน “บ่อปลา” ซึ่งใช้อ่างล้างจานก็ได้ (และแน่นอนต้องไม่ใส่น้ำ)

เมื่อทำอุปกรณ์เรียบร้อยแล้ว เล่นเกมโดยชวนลูกสนทนาว่า

ลูกตกปลาทั้งหมดได้กี่ตัว ? ลูกตกปลาครั้งละสี่ตัวได้มั้ย แล้ววันนี้จับปลารวมทั้งหมดได้กี่ตัว

เกมตรายาง

ใช้ตรายางและหมึกพิมพ์เพื่อทำรูปภาพนับจำนวน เมื่อลูกของคุณเริ่มจำตัวเลขได้ ให้เขียนตัวเลขกำกับไว้ในแต่ละแผ่น การเล่นเกมตรายางควร

* ควรรองกระดาษที่จะพิมพ์ตรายาง ด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์หรือวารสาร เพื่อให้พิมพ์ได้ง่ายขึ้น

* วาดรูปภาพรูปประกอบง่ายๆ เช่น บึงสำหรับฝูงกบ

* นับจำนวนรูปพิมพ์แล้วอีกครั้ง ถ้าคุณต้องการหลังจากที่เด็กระบายสีเสร็จแล้ว

ภาษาของครอบครัว

ลูกของคุณพูดได้มากกว่าหนึ่งภาษาหรือไม่ ถ้าใช่ ส่งเสริมให้เขาและเธอเรียนรู้การนับทุกภาษาที่ครอบครัวของคุณใช้ ใช้เกมนับจำนวน หรือกิจกรรมอื่นๆ ในบทนี้ ถ้าลูกของคุณใช้ภาษาหนึ่งคล่องแคล่วกว่าอีกภาษาหนึ่ง ควรใช้ภาษาที่ลูกใช้ได้อย่างดี

หลักการเรียนรู้เกี่ยวกับการนับ 4 ประการ ใช้ได้กับทุกภาษา เพราะว่ามันเป็นเพียงชื่อจำนวนที่แตกต่างกัน การเรียนรู้การนับจำนวนหลายๆภาษา จะช่วยปรับปรุงความเข้าใจของเด็กให้ดีขึ้น

การเรียนคณิตศาสตร์ในหัวข้ออื่นๆ จะมีประโยชน์ต่อเด็กเช่นกัน หากมีหารอภิปรายชี้แนะในทุกภาษาที่เด็กรู้

เกมเต่าทองในสวน

ถึงแม้คุณจะไม่เคยคิดว่าตัวคุณเป็นคนมีฝีมือทางศิลปะ แต่คุณจะทำเกมเต่าทองในสวนต่อไปนี้ จะทำให้คุณพบว่า “ศิลปะเล่นไม่ยาก” เพราะสามารถทำได้ง่ายๆ เด็กๆ จะชอบกันมากเกมนี้จะช่วยฝึกหัดการนับในเรื่อง “ผลบวก” ให้กับเด็กๆ ฝึกหัดการนับซึ่งต่อไปจะเป็นการแนะนำเรื่อง “ผลบวก” (บทที่ 5)

การทำเต่าทอง

อุปกรณ์

1. จุกฝาขวดสีแดง 40 ฝา (จากร้านเครื่องดื่ม) หรือจุกอื่นๆ ที่สะอาดๆ 40 ฝา และสีแดง 1 กระป๋องเล็ก

2. กระป๋องสีน้ำมันสีดำ 1 กระป๋องเล็ก

3. พู่กันระบายสี

4. แอลกอฮอลล์ และขวดโหลใส่พู่กันเพื่อทำความสะอาด

5. กระดาษหนังสือพิมพ์

วิธีทำเต่าทอง

ขอแนะนำว่า ไม่ควรทำเต่าทองในขณะที่เด็กๆ อยู่ด้วย เพราะสีน้ำมันทำความสะอาดยาก

ระบายสีจุกฝาขวดเป็นสีแดง (ควรใช้สีน้ำมันเพราะสวยงามและทนทานกว่า)

ระบายสีดำตามรูปตัวอย่าง

การทำสวน

อุปกรณ์

1. กระดาษแข็งจำนวน 4 แผ่น (ขนาดเท่าหนังสือ)

2. ผ้าสักหลาดสีเขียว (หรือผ้าอื่นๆ เช่น ผ้าสำลี)

3. กาว

4. ปากกาสีดำ กรรไกร ไม้บรรทัด

คุณต้องเตรียมกล่องไว้ใส่เกมเต่าทองในสวน ควรเตรียมไว้ก่อนทำสวน เพื่อให้แน่ใจว่าสามารถเก็บทุกสิ่งทุกอย่างได้หมด กล่องไอศกรีมรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาด 2 ลิตร จะเหมาะสมมาก

การใช้กระดาษที่แข็งมากหน่อยเป็นสิ่งจำเป็น เพราะถ้าใช้กระดาษอ่อนแล้วจะโค้งงอง่ายใช้กระดาษสีน้ำตาลหรือสีแดง ผนึกบนกระดาษแข็งที่เตรียมไว้

เขียนเส้นแบ่งครึ่งกระดาษแต่ละแผ่น ทำเป็นกำแพง (ถ้าสวนของคุณมีรั้วก็เขียนรูปรั้วแทน)

ตัดผ้าสักหลาดหรือผ้าสำลีปิดกระดาษแข็งครึ้งหนึ่ง เพื่อให้เป็นสนามหญ้า ควรตัดผ้าให้ใหญ่กว่าขนาดที่ต้องการเล็กน้อยเพื่อเวลาทากาวปห้งปล้วจะได้ตัดริมผ้าด้วยกรรไกรให้สวยงามขึ้น ทำเช่นนี้จำนวน 4 แผ่น

ในครั้งแรกที่คุณให้ลูกเล่นเกมเต่าทองนี้ ควรปล่อยให้เขาเล่นอย่างอิสระตามต้องการแล้วจึงค่อยลองสอนให้เล่นตามวิธีการแนะนำ

การเล่นเกมเต่าทอง

จุดมุ่งหมายของการเล่นคือ ที่ต้องทำสวนถึง 4 สวนสำหรับเล่นก็เพื่อให้เด็กได้มีโอกาศ 4 ครั้ง ในการเรียนแต่ละเกม ในขณะเดียวกัน เด็กๆ สามารถใช้เล่นพร้อมๆ กัน เป็นสอง สาม และสี่คนก็ได้

เริ่มด้วยผู้เล่นจำนวนน้อยๆ (ต่ำกว่า 5) ในแต่ละเกมแล้วค่อยๆ เพิ่มความยาก เป้าหมายการเล่นเกมนี้ก็คือเพิ่มความมั่นใจให้เด็ก ไม่ใช่คัดเด็กไม่เก่งออก

การนับด้วยเวลาสั้นๆ เป็นสิ่งที่ดีที่สุด ใช้เวลาวันละ 5 นาที หรือ 10 นาที ดีกว่าการใช้เวลาสัปดาห์ละ 1 ชั่วโมง

ลูกนับเป็นหรือไม่

เลือกจำนวนเต่าทองที่จะปล่อยไว้ในแต่ละสวน แล้วชวนลูกนับเต่าทองที่วางไว้ในสวน ครั้งแรกคุณอาจต้องทำให้ดู 1 สวน แล้วให้เด็กทำสวนที่เหลือ 3 สวน

ถ้าเด็กเล่นเป็นกลุ่ม พวกเขาก็อาจจะช่วยกันนับจำนวนเต่าทองของคนอื่นอีกครั้งเพื่อตรวจสอบความถูกต้อง เก็บเต่าทองกลับลงไปในกล่องอีกครั้ง แล้วทดลองให้ทำใหม่ด้วยตัวเลขที่แตกต่างไป ลองให้เด็กโยนลูกเต๋าเพื่อตัดสินจำนวนเต่าทองที่จะวางไว้ในสวนแต่ละสวนเพื่อเป็นการฝึกหัดจำนวนนับ 1 ถึง 6

บัตรจำนวนเต่าทอง

ใช้รูปปลอกจุดสีแดง และบัตรกระดาษแข็งเล็กๆ จำนวน 10 บัตร แต่ละบัตรเขียนเลข 1 2 3 4 เรื่อยไปตามลำดับจนถึง 10 ตัวเลข 1 ตัวต่อบัตร 1 ใบ

การเล่นให้เริ่มต้นด้วยตัวเลขที่เด็กสามารถนับได้ถูกต้อง แล้วจึงค่อยๆ แนะนำจำนวนอื่นๆต่อมา

สลับบัตรเหล่านี้ หรือวางคว่ำหน้าลงเรียงๆต่อกัน แล้วหยิบขึ้นมาทีละบัตรเพื่อเล่น “ลูกนับจำนวนได้เท่าใด”

มีเต่าทองกี่ตัว

เกมสำหรับผู้เล่น 2 คน คนที่ 1 วางเต่าทองในสวน (จำนวนไม่เกิน 10) คนที่ 2 ต้องหาบัตรที่มีจำนวนตรงกัน แล้วเปลี่ยนคนที่ 2 วางเต่าทองบ้าง ให้คนที่ 1 เป็นคนหาบัตรจำนวน (มีเกมเต่าทองเพิ่มเติมในบทที่ 5)

สัตว์ประหลาดในอ่างน้ำ

คุณสามารถใช้เกมนี้ในหลักการเดียวกับเกมเต่าทอง

อุปกรณ์

1. กระดาษแข็ง 4 แผ่น ขนาดเท่าหนังสือเล่มนี้

2. ฟองน้ำสี 2 ก้อน

3. ดินสอ ปากกา หรือสีเทียน และกรรไกร

4. กล่องเก็บของ

วาดรูปอ่างอาบน้ำมีสัตว์ประหลาดอยู่ในอ่างแต่ละอ่างทั้ง 4 แผ่น ให้เด็กระบายสีเอง

ตัดฟองน้ำเป็นท่อนเล็กๆ ขนาดกว้าง 2 ซม. (3/4 นิ้ว) เพื่อใช้เป็นของเล่นของสัตว์ประหลาด

เสร็จแล้วชวนลูกลเนเกม “ลูกนับจำนวนได้เท่าใด” และ “มีฟองน้ำกี่ก้อน” เช่นเดียวกับการนับจำนวนเต่าทอง

เกมงูในป่าใหญ่

เตรียม

1. กระดาษแข็ง 4 แผ่น

2. เชือกทั้งหนาและบางขนาด 1 เมตร

3. ปากกาเมจิก หรือสีเทียน กรรไกร

4. กล่องเก็บของ

5. วาดรูปต้นไม้ พุ่มไม้ ดอกไม้

6. ตัดเชือกยาว 4.5 ซม. (1 ½-2 นิ้ว) ใช้เป็นงู

7. เล่น “เด็กๆ นับงูซิคะ มีงูกี่ตัว งูขนาดใหญ่กี่ตัว ฯลฯ”

ร้านขายสัตว์เลี้ยง

พาลูกรักไปเยี่ยมชมร้านขายสัตว์ด้วยกันก่อนในครั้งแรกเพื่อการเรียนรู้จากของจริง (และเพื่อจำนวนสัตว์ที่มีอยู่ที่นั่นด้วย)

ใช้ของเล่นประเภทนุ่มนิ่มเป็นสัตว์เลี้ยง เช่น ทำแมงมุมจากไหมพรมเศษผ้าทำเป็นสัตว์ที่มีขนปุกปุย หนูจากกระดาษ ปลาจากกระดาษแข็งๆ ใช้ที่กรองชาที่ไม่ใช้แล้วเป็นแหปลา

เก็บวัสดุต่างๆ ไว้ใช้เป็นบ้านของสัตว์เล็กๆ เหล่านี้ และเตรียมกล่องกระดาษแข็งๆ ไว้ใส่สัตว์อื่นๆ ที่เหลือ

การทำกระป่องอาหารสุนัข อาหารแมวและภาชนะอาหารสำหรับสัตว์อื่นๆ (ดูวิธีหน้า 20) แป้งโด (ดูหน้า 19) เพื่อทำขนมปังและตัดกระดาษแข็งเป็นรูปกระดูก ให้สุนัขกัดเล่น ใช้ภาชนะพลาสติกเป็นชามอาหารของสุนัขหรือใช้จานที่ทำจากกระดาษตะกั่ว

เจ้าของร้านต้องนับจำนวนสัตว์ที่มีตลอดเวลาเพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีสัตว์ตัวใดหลุดหนีไปและเมื่อสัตว์เหล่านี้ถูกจำหน่ายไปก็ต้องนับจำนวนที่เหลือด้วย เมื่อไม่มีลูกค้า สัตว์เลี้ยงเหล่านี้ก็ตอ้งการอาหาร การขับถ่ายและการทำความสะอาด ส่วนร้านค้าเองก็จำเป็นตอ้งทำความสะอาดหรือจัดใหม่ให้สวยงาม

การจำสัญลักษณ์ตัวเลข

มาดูกันว่าเด็กๆ เริ่มจำสัญลักษณ์ตัวเลขกันได้อย่างไร โดยเฉพาะเด็กในวัย 2-3 ขวบ

วันเกิด

สำหรับเด็กส่วนใหญ่แล้ว อายุของตนเอง คือจำนวนที่เขาให้ความสนใจมากที่สุด เด็กอายุ 2 ขวบ หลายคนสามารถรู้จำนวน “อายุของฉัน” และบางคนก็อาจรู้อายุของพี่และน้องได้ ควรเก็บบัตรอวยพรวันเกิดที่มีตัวเลขอายุปรากฏไว้ให้ลูกดู

ไม่ว่าจะไปที่ใดหรือทำอะไร หมั่นชี้แนะให้ลูกสังเกตตัวเลขที่บ่งอายุของลูกเป็เลขเดียวกับอายุของลูกในระยะแรกยังไม่ควรสนใจตัวเลขอื่นๆ นอกจากนี้ยังอาจสอนให้ลูกท่องคำคล้องจองไป

นวดแป้งเค้ก นวดแป้งเค้ก คนอบขนม

ช่วยอบขนมให้หนูเร็วที่สุดที่คุณจะทำได้

นวด คลึง ตบ แล้วใส่หมายเลข 1

และใส่มันในเตาอบจนมันสุก

ในขณะที่ท่องคำคล้องจองควรตบมือไปพร้อมๆ กัน กับเด็กๆ เมื่อเด็กๆ พูดจำนวน 1 2 และ 3 ให้หยุดเพื่อให้คุณพ่อคุณแม่เขียนตัวเลขลงไปบนฝ่ามือเด็ก เด็กจะชอบใจมากทีเดียว

เกมค้นหาตัวเลขสอนให้ลูกค้นหาตัวเลขจาก

1. ประตูหน้าบ้าน

2. ปุ่มปรับสถานีโทรทัศน์

3. นาฬิกา

4. โทรศัพท์

5. เสื้อผ้าเด็ก

6. เครื่องคิดเลข

7. ปฏิทิน

8. ทะเบียนรถยนต์

9. ป้ายจราจร

10. รถประจำทาง

11. ปุ่มกดลิฟท์

และตามสถานที่ต่างๆ ทั่วไป

บัตรตัวเลข

เขียนตัวเลขอายุของลูกบนกระดาษแข็งขนาดเท่าหนังสือเล่มนี้แล้วตัดออกมา คุณอาจจำเป็นต้องตัดเลข แต่ละตัวมากกว่า 1 แผ่น ปล่อยให้เด็กระบายสี ทาสี หรือติดรูปลอกบนบัตรเหล่านี้เพื่อความสวยงาม แต่ต้องระวังไม่ให้เด็กพลิกกลับด้าน

ควรติดตัวเลขเหล่านี้ในห้องนอนลูก ที่หน้าต่าง กระจกในห้องน้ำ หรือที่ใดก้ได้ที่สังเกตได้ชัดเจน ตัดบัตรเลขเช่นนี้ให้กับคนอื่นๆ ในครอบครัว หรือแม้แต่กับสัตว์เลี้ยง

คุณอาจตกแต่งบัตรตัวเลขเหล่านี้ได้ด้วยกระดาษเช็ดหน้า โดยการฉีกกระดาษเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วขยำเป็นลูกกลมๆ ควรทำขนาดไม่ใหญ่มากเพื่อเด้กจะได้นำมาติดบนตัวเลขโดยตรงให้ชิดกันพอสมควร

ทายซิเลขอะไร

กิจกรรมนี้ใช้หลักเดียวกับการฝนภาพนูน แตกต่างกันตรงที่คุณเป็นคนทำ ภาพนูนนั้นเสียเอง

วิธีทำ

1. ตัดตัวเลขขนาดสูง 6 ซม. (2 ½ นิ้ว) จากกระดาษแข็ง ทากาวติดไว้บนกระดาษสี่เหลี่ยมผืนผ้า แล้วปล่อยทิ้งไว้ให้แห้ง

2. วางกระดาษทับไว้บนตัวเลข ตรงไว้ด้วยที่หนีบกระดาษ

3. ฝน ขูด ระบายสีเทียน หรือสีชอล์ก จนกระทั่งตัวเลขจะค่อยๆ ปรากฏขึ้นมา

4. ทำตัวเลขหลายๆ ตัวบนกระดาต่างๆ กัน และให้เด็กเล่นด้วยวิธีการต่างๆ กัน

5. ควรให้เด็กเลือกบัตรเองเพื่อเลือกจำนวนที่เขาต้องการขูด ขูดให้เกิดภาพ

6. ในบางโอกาศ อาจห่อบัตรเหล่านี้ก่อยยื่นให้เด็กเพื่อทำเป็น “ความลับ” ลองดูว่าเด็กจะรู้จำนวนเลขได้เร็วเพียงใด

หมายเลขโทรศัพท์

แนะนำหมายเลขโทรศัพท์โดยใช้โทรศัพท์ของเล่น หรืออณุญาตให้ลูกหมุน กดหมายเลขโทรศัพท์จริง พูดตัวเลขแต่ละตัวดังๆ ขณะชี้ที่ตัวเลข

เรียนนับจากไพ่

ดึงไพ่ที่เป็นภาพออกจากสำรับแล้ววางไว้กองหนึ่ง

ล่าตัวเลข

สลับไพ่ที่เหลืออยู่ แล้วหงายใบบนสุด สมมุติว่าไพ่ใบที่หงายคือเลข 6 ให้ลูกหาเลข 6 ที่เหลืออยู่อีก 3 ใบ เล่นค้นหาเช่นนี้ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะแบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่ม

เกมเรียงลำดับ

แบ่งประเภทไพ่เป็นกลุ่มแล้วเรียงลำดับ เช่น ข้าวหลามตัด 1-5 ดอกจิก 1-5 เป็นต้น

เมื่อลูกค้นหาได้พบ 1-5 แล้วให้แยกจากกองแล้วนำเอาเรียงกัน จากนั้นหาเลข 6-10 ทำซ้ำกัน ถ้ารู้สึกว่าง่ายก็ลองเรียงจากจำนวน 1-10 ในครั้งเดียวเลย

บัตรจำนวนง่ายๆ

ทำบัตรจำนวนเหมือนที่อธิบายไป แต่ไม่ต้องมีจุดแดงของเต่าทอง ใช้เล่นกับเกมเต่าทองหรือใช้กับ “การสะสมจำนวนนับ”

การสะสมจำนวนนับ

สะสมกระดุม เม็ดข้าวโพดแห้ง เปลือกหอย ไปรษณียบัตร หรืออะไรก็ได้ที่เด็กชอบ เพื่อใช้เป็นสิ่งของในการนับ

การนับจำนวนชุดน้ำชา

วางชุดน้ำชา 6 ที่บนโต๊ะ และวางบัตรตัวเลขไว้ข้างชุดชาแต่ละที่ เด็กจะต้องวางจำนวนสิ่งของบนจานให้ถูกต้องกับบัตรจำนวน

บอกเด็กให้หลับตา แล้วสับเปลี่ยนตัวเลข ผลัดเปลี่ยนกันจัดตัวเลขและสิ่งของให้ถูกต้อง จนกว่าจะทำได้ถูกต้องทั้งหมด

หอคอยตัวเลข

วางบัตรเลขตามลำดับ วางสิ่งของให้ตรงกับจำนวนที่ปรากฏในแต่ละบัตร

การนับไปข้างหน้าและนับถอยหลัง

กิจกรรมที่กล่าวมาแล้วบางกิจกรรม ช่วยฝึกหัดการนับเรียงลำดับ และต่อไปนี้คือกิจกรรมอื่นๆ เพิ่มเติม

ตัวเลขตัดต่อ

ซื้อหรือทำบัตรจำนวนติดบนฝาผนัง แล้วทำเป็นเกมภาพตัดต่อ

เกมตังเต

ใช้ชอล์กขีดช่องเช่นกระโดดตังเต หรือกระโดดอื่นๆ ในสนาม กระโดดจากตัวเลขหนึ่งไปอีกตัวเลขหนึ่ง แล้ววกกลับมาตั้งต้นใหม่

เกมรถไฟ

ติดบัตรตัวเลขลงบนตู้ขบวนรถไฟ หรือวาดรูปรถไฟบนกระดาษแข็ง แล้วฝึกหัดวางตู้รถไฟตามลำดับหมายเลข

สมุดตัวเลข

ซื้อสมุดแบบมีห่วง แล้วเขียนตัวเลข 0-10 หมายเลยละแผ่น ถ้าให้สนุกมากขึ้นคุณอาจให้ลูกวาดภาพต่างๆ ที่ลูกชอบให้ตรงกับจำนวนเลขได้

พลิกสมุดไปทีละหน้า และถามเด็กว่า “ตัวเลขถัดไปคืออะไร” ก่อนที่จะพลิกหน้าต่อไปลองอีกครั้งด้วยคำถามว่า “แล้วก่อนเลขนี้เป็นเลขอะไรจ้ะ”

นับถอยหลัง

สนุกกับการนับถอยหลังเมื่อใกล้จะถึงเวลา เช่น การแข่งกีฬา ก่อนเล่นเกม ถ้ายากเกินไป ไม่ต้องเริ่มนับจากจำนวน 10 ก็ได้ แค่ 5 ก็เพียงพอ

การเขียนตัวเลข

เด็กบางคนอาจต้องการเขียนตัวเลขด้วยตนเองทันทีที่เริ่มจำตัวเลขได้

จุดเริ่มต้นของการเขียนตัวเลขเป็นสิ่งสำคัญมาก คุณพ่อคุณแม่ควรสอนลูกเขียนตัวเลขด้วยวิธีการที่ถูกต้องตั้งแต่ต้น เพราะจะเป็นการยากมากที่จะให้เด็กเขียนให้ถูกต้องในภสยหลัง หลังจากที่เขาคุ้นเคยกับวิธีเขียนนั้นแล้ว

การฝึกให้เด็กเขียน หากให้เขาเขียนตัวเลขด้วนนิ้วมือในแป้งขณะนวด หรือไม่บ่อทรายเด็กๆ จะสนุกสนานกันมากให้ปากกาด้ามโตๆ แก่เด็กพร้อมกับกระดาษเปล่าแผ่นโตๆ แล้วจับมือพวกเขาให้หัดเขียน 2-3 ครั้ง ต่อมาให้หัดเขียนด้วยตนเอง พร้อมให้คำชมเชยและคำแนะนำใกล้ๆ ขอย้ำว่าการสอนเด็กเรื่องตัวเลขนั้นเริ่มต้นด้วยตัวเลขที่เป็นอายุของเด็กเป็นสิ่งที่ดีที่สุด

การเขียนหัวกลับ

เด็กส่วนมากจะเขียนตัวเลขหัวกลับเป็นครั้งคราว (โดยเฉพาะเด็กอายุ 2-5 ปี) ทุกครั้งที่เด็กเขียนเลขกลับหัว คุณต้องรีบแก้ไข มิเช่นนั้น เด็กจะคุ้นเคยกับวิธีการเขียนที่ผิดๆ นั้นไป จนยากที่จะแก้ไข ปัญหาเหล่านี้หลีกเลี่ยงได้โดยให้เด็กดูตัวเลขที่ถูกต้องก่อนลงมือเขียน โดยอาจจะดูจากนาฬิกาก็ได้ ถ้าไม่แน่ใจว่าวิธีเขียนที่ถูกต้องเป็นอย่างไร

ข้อควรจำเรื่องการนับ

1. เด็กๆ จะได้ประโยชน์จากการช่วยเหลือของทางบ้านมากกว่า คุณพ่อคุณแม่จะคาดคิด กล่าวคือ ยิ่งเด็กได้ฝึกหัดการนับมากเท่าใด ก็ยิ่งได้ประโยชน์เท่านั้น ฉะนั้น อย่าหยุดฝึกหัดลูกเร็วเกินไป

2. พยายามอย่าให้เด็กหัดเขียนจำนวน “ผลลัพธ์” เร็วเกินไป ในขณะที่เพิ่งจะเขียนตัวเลขเป็น โดยเฉพาะคุณครูผู้สอนมักจะเร่งเด็กเกินควร เนื่องจากถูกคุณพ่อคุณแม่เด็กกดดันให้สอนลูกเร็วๆ การกระทำเช่นนี้จะนำเด็กไปสู่ความหมาดกลัว วิตกกังลวและไม่ชอบคณิตศาสตร์ในที่สุด



(อ้างอิงจาก....................)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น