เด็กๆ ทุกคนเป็นนักคิดค้น มักตั้งคำถาม และพยายามแสวงหาคำตอบที่ชวนสงสัย แม้เขาจะเป็นเพียงเด็กเล็กๆ ที่ด้อยความรู้และจำเป็นต้องไปโรงเรียนก่อนที่จะเรียนรู้สิ่งใด เพราะเด็กเล็กๆจะรู้จักสงสัยและพยายามหาคำตอบนับแต่วินาทีแรกที่เขาเกิดเลยทีเดียว
การตั้งคำถาม
“ศิลปะการตั้งคำถามการตอบคำถามอย่างมีเหตุผล เป็นสิ่งที่เด็กต้องการ” คำถามมีความสำคัญในวิชาคณิตศาสตร์มาก เพราะการเรียนคณิตสาสตร์ต้องเรียนด้วยความเข้าใจ มิใช่เรียนด้วยการท่องจำ เขาจะต้องมีความเข้าใจในพื้นฐานทางคณิตศาสตร์เสียก่อนจึงจะสามารถเข้าใจกับคณิตศาสตร์ในระดับที่สูงขึ้นไปได้
เด็กเล็กชอบตอบคำถาม เช่น “จมูกของแม่อยู่ไหนจ๊ะ?”
เด็กๆ เติบโตมากับคำถาม การใช้คำถามจะเริ่มตั้งแต่เป็นทารกนอนแบเบาะเลยทีเดียว เด็กทารกจะมีความสุขกับการตั้งคำถามและตอบคำถามของแม่ คำถามเหล่านี้เป็นสิ่งที่เราพวกผู้ใหญ่รู้คำตอบเรียบร้อยแล้วแต่เราเอามาตั้งคำถามกับเด็กก็เพื่อช่วยให้เด็กเรียนรู้การตอบคำถามและเพื่อความสุขในระหว่างแม่กับลูก
“แม่อยู่ไหนจ๊ะ” “อยู่นี่ไง” ชี้ที่ตัวเอง
“จมูกอยู่ไหนจ๊ะ” “จมูกเล็กๆที่น่ารักอยู่นี่ไง” ชี้ที่จมูกลูก
เมื่อเติบโตเข้าสู่วัย 2 ขวบ เด็กเริ่มเรียนรู้การตอบคำถามที่ยากขึ้น ผู้ใหญ่มักจะก่อข้อผิดพลาด 2 ประการในระยะนี้นั่นคือ บางครั้งเราไม่ตระหนักว่าเด็กตอบคำถามได้ถูกต้องเพราะความบังเอิญไม่ใช่จากความเข้าใจที่แท้จริง หรือเพราะเราใช้คำถามที่ง่ายเกินไปจนทำให้เด็กเกิดความเบื่อหน่าย ผู้ใหญ่จำเป็นที่จะต้องพยายามสร้างความสมดุลยระหว่างการใช้คำถามซ้ำๆเพื่อให้เกิดความกระชับในการเรียนรู้กับการใช้คำถามหลากหลายเพื่อความสนุกสนาน
ความมั่นใจในตัวเอง
เมื่อลูกอายุได้ 2 ปี ควรเริ่มต้นคำถามที่ให้เขามีโอกาสตอบ ซึ่งจะช่วยสร้างความมั่นใจในตนเองให้กับลูกมากขึ้นด้วย คำถามง่ายๆ จะมีคุณค่า หากพ่อแม่ยอมรับในคำตอบ
“ลูกอยากได้ขนมปังแซนวิช 1 ชิ้น หรือ 2 ชิ้นคะ?” “ตุ๊กตาหมีของลูกอยู่ไหนจ๊ะ”
หรือ “ลูกคิดว่าบ่ายนี้เราจะทำอะไรกันดีครับ?”
การค้นหาคำตอบ
เรื่องนี้ก็มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนกว่าการตั้งคำถาม เราไม่เพียงแต่ควรจะกระตุ้นให้เด็กได้ถามเมื่อพวกเขาไม่แน่ใจในบางสิ่งบางอย่าง แต่เด็กๆ ควรเรียนรู้ที่จะกล้าพูดว่า “หนูไม่ทราบ” เมื่อพวกเขาไม่ทราบคำตอบ สิ่งเหล่านี้พ่อแม่สามารถสอนและเป็นแบบอย่างได้ดีที่สุด เช่น พูดว่า “แม่เองก็ทำไม่เป็นจ๊ะ” แต่แม่ลองถามคุณพ่อดูว่าต้องทำอย่างไร หรือ “สมุดโทรศัพท์อยู่ไหนจ๊ะ แม่จะต้องหาหมายเลขโทรศัพท์ร้านนี้เสียด้วย” ประการสำคัญที่สุดก็คือพ่อแม่ควรทำให้ลูกรู้สึกว่าเป็นเรื่องธรรมดาที่เราจะไม่สามารถรู้อะไรได้ทุกเรื่อง
การคิดเหตุผล
คณิตศาสตร์และการคิดเหตุผลเป็นของคู่กัน เมื่อเด็กเล็กๆ ทำสิ่งใดลงไปที่ดูเหมือนว่าจะไม่มีเหตุผลหรือผิดพลาดก็ตาม แต่ถ้าเรามองสิ่งที่เขาทำด้วยจุดยืนและทรรศนะของเด็ก เราจะพบว่าพวกเขาพยายามคิดอย่างถี่ถ้วนแล้ว แต่เด็กๆ ก็ทำผิดเพราะพวกเขาขาดประสบการณ์ ซึ่งจะทำให้เขาเข้าใจเรื่องราวต่างๆ ได้มากขึ้น เพราะเด็กๆ จะเรียนรู้ได้ดีที่สุดจากประสบการณ์ที่ผิดๆนี่เอง
ทัศนะและจินตนาการของเด็ก
เด็กๆ จะมีจินตนาการที่เป็นของเขาเอง บางครั้งเป็นจินตนาการที่ผู้ใหญ่นึกไม่ถึงเอาทีเดียว และบางครั้งก็ดูสร้างความตลกขบขันได้ไม่น้อย การกระทำของเขาล้วนเป็นผลมาจากความไม่เข้าใจโลกของผู้ใหญ่ ลองนึกทบทวนเรื่องที่เคยเข้าใจผิดหรือความคิดสมัยเด็กๆ แล้วพยายามค้นหาคำคอบดูว่า ทำไมเราจึงทำเช่นนั้น
อาหารแม่วัว
ดิฉันยังจำได้เมื่อติ๊งโหน่ง อายุ 4 ปี ลูกถามดิฉันว่า “คุณแม่ขา เมื่อไหร่เราจะเลี้ยงวัวกันค่ะ” ดิฉันตอบไปว่า “เอาวัวมาเลี้ยงที่นี่ไม่ได้หรอกจ้ะ ต้องมีที่กว้างๆ จึงจะเลี้ยงได้” ติ๊งโหน่งฟังคำตอบด้วยความผิดหวัง แต่ก็ไม่ยอมแพ้ “เราจะต้องมีวัวไว้เลี้ยงแน่ๆ ก็คุณแม่ซื้ออาหารมาให้มันแล้วนี่ค่ะ หนูเห็นมันวางอยาในตู้” เป็นความจริงค่ะ ในตู้นั้นมีอาหารกระป๋องที่มีรูปแม่วัวปรากฏบนสลากจริงๆ จึงไม่น่าสงสัยเลยว่า อาหารกระป่องนั้นมีไว้สำหรับใคร
ปลาสีชมพู
ต๊องหน่องลูกชายจอมซนของดิฉันทำให้ปลาทองตายโดยไม่ได้ตั้งใจ เขาใส่โลชั่นบำรุงผิวลงไปในตู้ปลา เขาให้เหตุผลที่ทำไปเช่นนั้นว่า “ไม่อยากให้ผิวหนังปลามันเหี่ยวย่นครับ”ลองจิตนาการโดยถอยกลับไปเป็นเด็ก 2 ขวบ ที่กำลังไปเที่ยวสวนสาธารณะกับคุณพ่อคุณแม่ดูสักครั้ง เมื่อคุณพ่อชี้ชวนให้ดูว่า “เห็นเจ้าฮิปโปโปนั่นมั้ย”
ความคิดที่เกิดขึ้นคือ ฮิปโปโปคืออะไร
* คือ ดอกไม้
* คือ สัตว์ หรือ
* คือ ครอบครัว
และไม่ว่าคุณจะคิดถูกหรือผิด คุณก็จะได้ศัพท์ใหม่ๆจากคุณพ่อที่เพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน
เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี สามารถเรียนคำศัพท์ใหม่ได้อย่างรวดเร็ว แต่ต้องอาศัยระยะเวลาหนึ่งก่อนที่พวกเขาจะสามารถเข้าใจความหมายได้อย่างถ่องแท้
เมื่อเด็กเรียนคำศัพท์ใหม่ เขาจำเป็นต้องได้ยินศัพท์ และได้ใช้คำศัพท์นั้น ในหลายๆ สถานการณ์ ไม่เฉพาะแต่คำศัพท์คณิตศาสตร์เท่านั้น แต่รวมถึงคำศัพท์อื่นๆด้วย
เด็กเล็กหลายคนมักขยายความหมายของคำไปตามความคิดของตน เขาอาจใช้คำว่า “สุนัข” โดยหมายถึงสัตว์อะไรก็ได้ที่มี 4 ขา หรือ “สี่เหลี่ยม” หมายถึง “รูปทรงใดๆ ที่มีเส้นประกอบ” บางครั้งเด็กๆ จะใช้คำในความหมายที่แคบเกินไป แต่เด็กจะเริ่มปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสิ่งแวดล้อมได้
หากคุณกำลังอธิบายสิ่งใดให้ถูก ควรพยายามเลือกใช้คำศัพท์อย่างระมัดระวัง และในขณะเดียวกัน ก็ควรสอนให้ลูกรู้ว่าคำบางคำมีความหมายมากกว่า 1 อย่าง
คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน
“เราเปิดโอกาสให้ลูกได้คิดได้พูดเกี่ยวกับคำศัพท์ใหม่ๆ และให้เขาได้สร้างความคิดรวบยอดได้มากน้อยเพียงใด”
การฝึกหัดและการมีส่วนช่วยงานบ้านในชีวิตประจำวัน คือ วิธีการหนึ่งเด็ก จะรู้สึกสนุกกับการเล่นสิ่งของเครื่องใช้ในบ้านและช่วยเหลืองานบ้าน เช่น จัดโต๊ะอาหาร ไปจับจ่ายซื้อของ ให้อาหารสัตว์เลี้ยง
ทำแซนวิช เก็บของให้เข้าที่
กิจกรรมใดๆ ที่เปิดโอกาสให้มีการวางแผน จัดแบ่งหมวดหมู่ จับคู่ เปรียบเทีย หรือจัดลำดับ ล้วนมีคุณค่าทั้งสิ้น
ถึงแม้ว่าลูกของคุณจะยังเล็กเกินกว่าจะเข้าช่วยงานบ้านที่คุณกำลังทำ คุณก็สามารถปล่อยให้พวกเขาได้เฝ้าดูคุณทำและพูดคุยถึงสิ่งที่คุณกำลังทำก็ได้ เพียงแต่การซักล้างอย่างเดียวก็ให้โอกาสมากมายแก่ลูกของคุณ ในการพูดและการฟังดังตัวอย่างดังต่อไปนี้
*ให้ข้อมูล
“ผงซักฟอกช่วยให้เสื้อผ้าสะอาด เราต้องใส่เพิ่มขึ้นอีกนิด”
*ส่งเสริมการอภิปราย
“กางเกงพวกนี้ สกปรกเลอะเทอะได้อย่างไรนะ”
*เปรียบเทียบและจัดหมวดหมู่
“ติ๊งโหน่งช่วยหยิบถุงเท้าคู่เล็กสุดให้แม่ด้วยจ้ะ”
“ช่วยแยกเอาผ้าที่ต้องรีดมากองรวมไว้ด้วยนะจ้ะ”
*สร้างความมั่นใจและการเป็นตัวของตัวเอง
“ลูกช่วยพ่อพับถุงเท้าพวกนี้ให้เป็นคู่ๆ ได้มั้ยจ้ะ”
คำศัพท์พื้นฐาน
นักคณิตศาสตร์ที่ดีจำเป็นต้องรู้จักคำศัพท์มากๆ เริ่มต้นด้วยคำศัพท์เหล่านี้ ขึ้น ลง ใหญ่กว่า เล็กกว่า เท่ากัน มากกว่า ไม่พอ บนและล่าง ในระหว่าง ตรงกันข้าม เต็ม ว่างเปล่า ยางและสั้น ข้างหน้าข้างหลัง ใต้โต๊ะ รวดเร็ว ช้าๆ และคำอื่นๆ อีกมากมาย ให้ฝึกหัดเรื่องสีขณะใส่เสื้อผ้าหรือเล่น “ฉันเป็นสายลับโดยให้เด็กๆ ค้นหาวัตถุที่มีสีแดง เหลือง รูปทรงกลม สี่เหลี่ยม เป็นต้น
หนังสือและรูปภาพ
มีหนังสือนิทานทั้งประเภทและเรื่องดีๆ หลายเล่มที่ให้ความสำคัญในการเรียนรู้คำศัพท์พื้นฐาน อาจเลือกซื้อและยืมได้จากร้านขายหนังสือ หรือห้องสมุดทั่วไป เราอาจหาซื้อได้จากร้านหนังสือ หรือยืมจากห้องสมุดก็ได้
ภาพถ่ายของครอบครัวและหนังสือเกี่ยวกับชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะเล่มที่มีรูปภาพปรพกอบมากๆ ก็สามารถนำมากระตุ้นให้เด็กเกิดคสามคิดและพูดคุยเกี่ยวกับประสบการณ์ของพวกเขาได้
ของเล่น
ของเล่นบางชิ้นมีส่วนดีในการพัฒนาความคิดด้านคณิตศาสตร์ง่ายๆ ไม่ควรซื้อของเล่นเพียงเพราะมีคำแนะนำของผู้ผลิตว่า มันเป็นของเล่นเพื่อนการศึกษา เพราะการศึกษา “ต้องไม่มีความหมายว่า น่าเบื่อ” คำถามสำคัญที่คุณควรถามตัวเองเมื่อซื้อของเล่นให้ลูกคือ ของเล่นชิ้นนี้ปลอดภัย และสร้างความสนุกสนานให้กับเด็กเล็กหรือไม่
ต่อไปนี้คือตัวอย่างกิจกรรมที่เด็กอายุต่ำกว่า 3 ปีชอบมาก
บล็อกผ้า
ของเล่นชิ้นนี้ทีรูปทรงสี่เหลี่ยม นุ่ม และมีสีสวยๆ แต่ละด้สนทีรูปภาพต่างๆ ปรากฏว่าเวลาเล่นก็วางเรียงก่อให้สูงขึ้นไปหรือจะทำให้ลงเมื่อสูงพอแล้วก็ได้ เด็กทารกที่กำลังหัดนั่งและคลานชอบของเล่นชิ้นนี้เพราะเล่นง่าย
เล่นนิ้วมือ
สวมหุ่นนิ้วมือสีต่างๆ นิ้วละสี สอนให้เด็กรู้จักชื่อ และนับ 1 2 3
ลูกบอลหรรษา
ลูกบอลประเภทนี้จะมีรูปทรงที่น่ารักมากและไม่กลิ้งเร็วเกินไป เมื่อจับมันหมุนไปรอยๆ อย่างช้าๆ จะปรากฏเป็นรูปหงศ์ รูปม้า ตามลำดับ
ฆ้อนและตะปู
ชุดช่างไม้ชุดนี้มีตะปู 8 ตัว เป็นสีต่างๆกัน เราสามารถจับคู่ตะปูสีเดียวกันแล้วตอกลงไปบนแผ่นกระดานพร้อมกับนับ 1 2 ซ้ำแล้วซ้ำอีก
เด็กต้องการเวลาส่วนตัวที่จะเล่นของเล่นเหล่านี้ เช่นเดียวกับต้องดารพูดคุยถึงของเล่นกับพ่อแม่
เล่นซ้อนแก้ว
หาแก้วที่มีขนาดแตกต่างกันและเรียงลำดับจากเล็กไปหาขนาดใหญ่ เด็กที่ยังเล็กควรเริ่มต้นด้วยชุดที่มี 3 ใบ หรือ 4 ใบ ก็พอ คุณพ่อคุณแม่ควรสาธิตวิธีการเรียงสูงขึ้นไป เรียงนอนราบ หรือทำเป็นรั้วให้เด็กดู พร้อมทั้งอธิบายว่าใช้ในการเล่นงานเลี้ยงน้ำชากับตุ๊กตาก็ได้ ใช้เล่นในขณะอาบน้ำหรือใช้ในการเล่นต่อปราสาททราย ดูว่าปราสาททรายใดขนาดใหญ่ที่สุดและเล็กที่สุดก็ได้
ถังไม่ที่แยกประกอบ 2 ส่วน ให้ความสนุกเมื่อเด็กเล่นประกอบคู่ รวมทั้งจับคู่ชิ้นส่วนที่คู่กันเป็น อาจเป็นเรื่องยากในตอนต้น ซ่อนชิ้นส่วยเล็กๆไว้ภายใน ให้มันกลิ้งไว้บนพื้น ต่อเรียงให้สูงขึ้นไปโดยใช้ถังขนาดเล็ก เป็นฐานเมื่อทำอย่างนี้แล้วเกิดอะไรขึ้น
การเล่นบทบาทสมมุติ
ชีวิตประจำวันจริงๆ มักไม่เปิดโอกาสให้เราได้แสดงถึงความคิดริเริ่มที่ดี การเล่นบทบาทสมมุติจะเปิดโอกาสให้เด็กๆ นำเอาประสบการณ์ที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์ต่อการเรียนคณิตศาสตร์มาเล่นให้สมจริงได้ โลกของการเล่นเป็นโลกของเด็กจริงๆ เขาเป็นผู้กำหนดทุกอย่าง เขาอาจจะเป็นแม่ พ่อ หมอ คนขับรถประจำทาง พนักงานขายของ หรือเป็นอะไรก็ได้ที่เขาอยากจะเป็น แต่ในโลกของความเป็นจริงแล้ว เด็กเป็นเพียงเด็ก
เกมบทบาทสมมุติที่เด็กๆ ชอบเล่น มีดังนี้
อ่างซักผ้า
เราสามารถนำเอาอ่างซักผ้ามาพลิกแพลงเป็นเตียงนอนตุ๊กตา เป็นรถ เป็นเรือ หรือแม้แต่ที่เก็บของ ให้กับเด็กๆได้ และเมื่อวางคว่ำลงยังใช้เป็นโต๊ะได้อีกด้วย
ชุดน้ำชา
มีราคาไม่แพงนัก ถ้าคุณกำลังเลือกซื้อชุดที่ 2 ควรเลือกชุดที่มีสีสันและลวดลายเหมือนชุดแรก เพื่อลูกของคุณจะได้ฝึกหัดจับคู่สิ่งที่เหมือนกัน
ตู้เก็บของหรือตู้เสื้อผ้า
ช่วยเสริมความหลากหลาย ดดยการเล่นเก็บของเข้าที่ สิ่งที่ซื้อมาจากร้านค้า จัดเก็บชุดน้ำชา และเครื่องครัวนั้นอาจใช่กล่องเปล่าทำ ให้มีหลายขนาดวางซ้อนกันเป็นตู้เหมือนของจริง
ของเล่นประกอบอื่นๆ
รวบรวมของเล่นชิ้นเล็กชิ้นน้อยที่จะช่วยให้การเล่นสมมุติ สมบูรณ์ เช่น โทรศัพท์ของเล่น สุนัขลากจูง (ทั้งของจริงและของเล่นพลาสติก) ดอกไม้ผ้า หมอนอิง เล็กๆ ก็เป็นสิ่งที่ใช้ประกอบการเล่นที่ดีได้เช่นกัน
การเล่นชุดแม่ครัวหัวป่า
ประกอบด้วยของเล่นต่อไปนี้กะทะพลาสติกเล็กๆ เพื่อใช้ประกอบอาหารหรือกะทะของจริงขนาดเล็กๆก็ได้
เตาและตู้เก็บของจากวิธีทำข้างล่างนี้ คุณพ่อคุณแม่สามารถทำเองได้ง่ายๆ
1. หากล่องขนาดใหญ่ที่แข็งแรง (เช่น กล่องโทรศัพท์ ตู้เย็น) แล้วปิดฝาทุกด้านให้สนิท
2. ปะกระดาษแข็งบนฝากล่องด้านบนเพื่อให้มีพื้นที่เรียบ
3. ใช้มีดกีรดเจาะฝากล่องด้านหนึ่งทำเป็นประตูเปิดปิด
4. ทา/พ่นสี ให้ทั่วเอให้สวยงามทนทาน (สีปลอดสารพิษ)
5. วาดรูปวงกลมเล็กๆ บนฝากล่องทำเป็นรูปเตา พร้อมทั้งวาดรูปปุ่มที่กดเปิดปิดเหมือนของจริง
6. ทำที่เปิดปิดประตูตู้อบด้วยกระดาษแข็งจามจัวอย่างในรูป
7.อ่างล้างชามเล็กๆและถังน้ำ หาซื้อได้จากร้านค้าทั่วไป
แป้งโด
ใช้สูตรที่ไม่มีส่วนผสมของผงฟู ประกอบด้วยแบ้ง 2 ถ้วย เกลือ 1 ถ้วย และน้ำมันพืช 1 ช้อนโต๊ะ เติมน้ำแล้วนวดให้เข้าที่
ปั้นแป้งโดเป็นรูปอาหารต่างๆ พยายามทำเป็นชิ้นเล็กๆ นำไปอบในตู้ด้วยความร้อนต่ำๆ ประมาณ 1 ชั่วโมง หรือมากว่าจนมันแห้ง
คุณอาจทำเป็นรูปไข่ ขนมปังอบรูปต่างๆ ผลไม้ ขนมกระหรี่ปั๊บ หรืออาหารใดๆก็ได้ อย่าปั้นขนาดเล็กเกินไปเพราะจะหักง่าย หรือใหญ่เกินไป (เพราะมันจะแห้งช้า) เวลาอบหลังจากเสร็จแล้วควรระบายสีหรือเคลือบสีโดยใช้สีน้ำมัน ถ้าคุณไม่ต้องการใช้สีทาหรือไม่อยากจะทาสีก็อาจทำได้โดยใช้สีผสมลงไปในแป้งก่อนอบ
ตุ๊กตาและตุ๊กตาหมี
ไม่ได้มีไว้เพียงเพื่อกอดจูบ แต่อาจใช้สำหรับพูดคุยได้ ใช้วางบนเตียง ให้อาหาร หรือพาไปเที่ยว มันก็ยอมทั้งนั้น และมันไม่เคยบ่นว่ามันไม่อยากเล่นอีกด้วย การเล่นเสื้อผ้าตุ๊กตาให้โอกาสฝึกหัดในเรื่องจับคู่การเปรียบเทียบขนาด ถึงแม้ว่าการถอดเสื้อผ้าตุ๊กตาจะเป็นกิจกรรมที่เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ชื่นชอบมากกว่าการใส่ก็ตาม จึงควรเลือกเสื้อผ้าหรือตัดเย็บชุดที่มีแบบเรียบๆ แขนและคอกว้างๆ ขาใหญ่ๆ เพื่อที่เด็กๆ จะได้ใส่เสื้อผ้าตุ๊กตาได้สะดวกขึ้น นอกจากนี้อาจจะหาเตียงเล็กๆ มีผ้าคลุม หมอนเล็กๆ หรือใช้ผ้าห่มเด็กอ่อน ผ้าเช็ดหน้าและผ้ากันเปื้อนด้วยก็ดี
ร้านอาหารสมมุติ
ตุ๊กตาหมีและตุ๊กตาต่างๆ รวมทั้งคุณพ่อคุณแม่ทั้งหลาย สามารถเป็นลูกค้าของร้านอาหารสมมุติได้เป็นอย่างดี ร้านอาหารเหล่านี้ต้องการแม่ครัว และอุปกรณ์เครื่องครัวต่างๆ เช่น ชุดน้ำชา และถ้วยโยเกิต โต๊ะก็อาจใช้กล่องกระดาษใหญ่ๆ ปูด้วยผ้าผืนเล็กๆ หรือเพียงแต่ใช้ผ้าเช็ดปาก 2-3 ผืนปูลงพื้นห้อง เหมือนเวลาไปปิกนิกก็ได้
การมีตู้เก็บเงินสด และกระดาษเช็ดปากช่วยให้มีบรรยากาศเหมือนจริง มากยิ่งขึ้น คูนแม่อาจชวนลูกทำแป้งโด เตรียมไว้จำนวนมาก เพื่อปั้นเป็นรูปไข่ดาว ขนมปัง กล้วยหอม ฯลฯ ลงอจัดกลุ่มของเล่นของลูกเข้าด้วยกัน คุณและลูกจะมีความคิดหลากหลายได้
ตุ๊กตาหมีและตุ๊กตาเป็นลูกค้าที่ดีของร้านอาหารสมมุติ คุณพ่อคุณแม่อาจช่วยเขียนรายการอาหารมีรูปภาพประกอบ เพื่อส่งเสริมการจับคู่และการนับ
ร้านขายของชำ
คุณสามารถขายของทุกสิ่งทุกอย่างที่คุณอยากขายได้ในร้านของคุณ เริ่มต้นโดยการสะสมถุงกระดาษประเป๋าสตางค์ บางทีก็มีเงินสมมุติด้วย เด็กอายุต่ำกว่า 4 ปี จะมีความรู้สึกดีขึ้นถ้าได้ถือเงินสมมุติ
ควรสะสมกล่องและลังเปล่าไว้มากๆ โดยเฉพาะกล่องเล็กๆ ขนาดใส่ถุงกระดาษได้ ทำซองบรรจุของมีกระดาษหนังสือฉีกเป็นเส้นเล็กๆ ใส่ไว้แล้วปิดทับด้วยเทป อนุญาตให้ลูกของคุณนำอาหารกระป๋องเล็กๆในตู้มาเล่นได้
ถ้าใช้กระป๋องหรือขวดเปล่าต้องแน่ใจว่าล้างให้สะอาด เรียบร้อยแล้ว ติดฉลากให้เหมือนของจริง
ซื้อของเล่นผลไม้พลาสติก หรือใช้ของจริงในบางโอกาส เตรียมภาชนะต่างๆ เตรียมที่ตัก และที่สำคัญตาชั่งน้ำหนัก
การไปจับจ่ายซื้อของน่าสนุกและดูสมจริงมากขึ้น หากเด็กๆ ได้นำมันกลับมาบ้านแล้วเก็บเข้าที่ด้วยตนเอง แต่การนำสินค้ากลับไปคืนหรือเปลี่ยนที่ร้านค้าสมมุตินี้ในบางครั้งก็ช่วยยืดระยะเวลาในการเล่นให้ยาวขึ้นก็ได้
(อ้างอิงจาก................)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น